bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ความหวังที่ไม่ไกลเกินเอื้อม

การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อ และยังเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย


2-การผาตดปลกถาย-1500.jpg


การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ความหวังที่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
 
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อ และยังเป็นการลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนได้อีกด้วย
 
การปลูกถ่ายไตถือเป็นวิธีการบำบัดทดแทนไตที่ดีที่สุด เนื่องจากการผ่าตัดมีอัตราการประสบความสำเร็จสูง ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย เดินทางท่องเที่ยว มีครอบครัวได้เช่นเดียวกับผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป และมีชีวิตที่ยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ต้องฟอกเลือดหรือล้างไตตลอดชีวิต


 แพทย์ผ่าตัดปลูกถ่ายไตอย่างไร

 การผ่าตัดปลูกถ่ายไตเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญและมีความซับซ้อนอย่างมาก จำเป็นที่ทีมผ่าตัดจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์สูงในการผ่าตัดซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อประเมินความพร้อมครั้งสุดท้าย และเตรียมร่างกายสำหรับการผ่าตัด เช่น เตรียมป้องกันการติดเชื้อด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ และยากดภูมิคุ้มกัน
  2. แพทย์จะนำไตที่ได้รับบริจาคมาวางในบริเวณท้องน้อยของผู้ป่วยในตำแหน่งที่ตรวจคลำได้ง่าย โดยไม่ต้องผ่าตัดเอาไตที่เสื่อมออก ดังนั้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีไตเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอัน
  3. ทำการเชื่อมต่อหลอดเลือดของไตใหม่เข้ากับหลอดเลือดของผู้ป่วย และต่อท่อไตของไตใหม่เข้ากับกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วย เมื่อไม่มีจุดเลือดออกหรือรั่วซึมของปัสสาวะ แพทย์จะทำการปิดแผลผ่าตัด โดยขั้นตอนการผ่าตัดปลูกถ่ายไตทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยจะต้องคาสายระบายเลือดและสายสวนปัสสาวะไว้ก่อนและจะถอดออกภายใน 5-7 วันหลังการผ่าตัด
  4. หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้อง CCU ประมาณ 1-3 วัน จากนั้นจึงจะย้ายไปพักในห้องผู้ป่วยอีกประมาณ 7-10 วัน โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องอยู่โรงพยาบาลประมาณ 2 สัปดาห์

 

อัตราการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

บำรุงราษฎร์มีอัตราการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสูงเทียบเท่ากับโรงพยาบาลชั้นนำในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปตะวันตก

จากสถิติผู้ป่วยปลูกถ่ายไตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการรอดของไตที่ทำการปลูกถ่าย (graft survival) ใน 1 ปี สูงถึง 96% 5 ปีอยู่ที่ 83% และ 10 ปีอยู่ที่ 78% ซึ่งอัตราการประสบความสำเร็จนั้นจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับสภาวะทางร่างกายของผู้ป่วย และไตที่ได้รับบริจาคว่ามาจากผู้มีชีวิตหรือเสียชีวิต



 Kidney transplants by the numbers

รายงานประจำปี 2562 ของศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย ระบุตัวเลขที่น่าสนใจของการผ่าตัดปลูกถ่ายไตไว้ดังนี้

  • ขณะนี้มีผู้รอไตทั้งสิ้น 6,125 ราย อยู่ในสถานะที่พร้อมเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต 5,508 รายหรือร้อยละ 90 ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว 552 ราย หรือร้อยละ 9 ของผู้รอรับไตทั้งหมด
  • ระยะเวลาเฉลี่ยในการรอปลูกถ่ายไตนับจากวันลงทะเบียนคือ 954 วัน หรือ 2 ปี 7 เดือน 11 วัน
  • เวลาเร็วที่สุดในการรออยู่ที่ 15 วัน นานที่สุด 6,170 วัน หรือ 16 ปี 10 เดือน 22 วัน
  • มีผู้ป่วยเสียชีวิตระหว่างรอไต 45 ราย
  • ผู้ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีอายุอยู่ในช่วง 35-49 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 41) รองลงมาคือ 50-59 ปี (ร้อยละ 24)
  • ผู้ที่ผ่าตัดปลูกถ่ายไตอายุมากที่สุดคือ 78 ปี อายุน้อยที่สุดคือ 10 ปี


Note: ระหว่างปี พ.ศ.2540-2562 บำรุงราษฎร์มีผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว 132 ราย แยกเป็นไตที่มาจากผู้บริจาคมีชีวิตในโรงพยาบาลเอง 13 ราย ได้รับไตจากการจัดสรร 119 ราย เฉพาะในปี 2562 ได้รับไตจัดสรร 16 ราย

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs