โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีโปรตีนชื่อ เบต้าอะไมลอยด์ (Beta Amyloid) มาเกาะติดกับเซลล์สมองซึ่งจะทำให้เซลล์สมองค่อยๆ เสื่อมสภาพไปเรื่อยๆ จนเซลล์นั้นตายไปโดยที่กระบวนการนี้เกิดขึ้นทั่วสมองแต่มักจะกระทบกับสมองส่วนที่เกี่ยวกับความจำเด่นชัดที่สุดโดยเฉพาะในระยะต้นๆ โรคอัลไซเมอร์ถือเป็นโรค ไม่ได้เป็นภาวะปกติที่ทุกคนต้องเป็นเมื่ออายุมากแต่เป็นโรคที่ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น
การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์
แพทย์จะชักอาการจากญาติหรือผู้ดูแล ทดสอบความจำและหน้าที่อื่นๆ ของสมองของผู้ป่วย และทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือ MRI สมอง และที่สำคัญคือ การตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ในร่างกายที่อาจมีผลต่อความจำ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ ระดับวิตามิน B12 เป็นต้น
อาการแสดงของโรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยจะมีอาการนำมาด้วยปัญหาเรื่องความจํา โดยพบว่าสูญเสียความจํา ระยะสั้นก่อน ได้แก่ ลืมว่าเมื่อเช้าทานอาหารอะไร ลืมรับประทานยา ในระยะ ต่อมาจะเริ่มสูญเสียความสามารถด้านอื่นๆ ของสมอง ได้แก่ ด้านภาษา เช่น คิดคำไม่ออก พูดน้อยลง เสียทักษะที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและ เข้าใจทิศทาง ขับรถหลงทาง เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะมีผลต่อกระบวนการ คิดวิเคราะห์ ไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจําวันได้ และอาจพบปัญหาพฤติกรรมผิดปกติ เช่น ชอบเดินออกจากบ้าน ใจร้อน หรือนิสัยก้าวร้าว เป็นต้น
การรักษาโรคอัลไซเมอร์
แม้เป็นโรคที่ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจจะพอชะลอโรคได้บ้าง และสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และญาติดีขึ้นได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความสุขขึ้นและใช้ชีวิตประจําวันง่ายขึ้น โดยมีทั้งการใช้ยา และการดูแลที่เหมาะสมโดยการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายอาจมี ความแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรค การตอบสนองต่อยา และการดูแลของครอบครัว
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
- คลินิกความจำ
Tel: 02 011 3994
Tel: 02 011 3995
Tel: 02 011 3996
แก้ไขล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2568