ข้อเข่าเสื่อม ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญ
- การใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งยองเป็นประจำ
- น้ำหนักตัวที่มากขึ้น ส่งผลให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
- เมื่อใช้งานข้อเข่าอย่างหนักร่วมกับอายุที่มากขึ้น และน้ำหนักตัวที่สูง จะส่งผลให้ข้อเริ่มสึกหรอ และเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมตามมา
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า มีกี่แบบ?
การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า แบ่งออกเป็น 2 แบบ
- การเปลี่ยนเฉพาะบางส่วน
- การเปลี่ยนทั้งข้อ
ซึ่งจะพิจารณาตามระดับความเสื่อมของข้อเข่าแต่ละราย เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ เหมือนกับการรักษาฟัน หากฟันผุเฉพาะจุด ทันตแพทย์ก็เพียงอุดฟัน เปรียบได้กับการเปลี่ยนข้อเข่าบางส่วน แต่ถ้าฟันผุทั้งซี่ ก็ต้องใส่ครอบฟัน ซึ่งเปรียบเสมือนการเปลี่ยนข้อเข่าทั้งข้อ
การวินิจฉัยก่อนผ่าตัด
- แพทย์จะทำการประเมินระดับความเสื่อมของข้อเข่า อาการของผู้ป่วย และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันร่วมด้วย
- พร้อมตรวจภาพถ่ายเอกซเรย์ และ MRI เพื่อยืนยันตำแหน่งและระดับความเสื่อมว่าควรเปลี่ยนเฉพาะส่วนหรือเปลี่ยนทั้งข้อ
ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนเฉพาะผิวข้อเข่า
- ความเจ็บปวดและระบมหลังผ่าตัดน้อยกว่า
- ฟื้นตัวได้เร็ว
- ข้อเข่าหลังผ่าตัดจะมีลักษณะใกล้เคียงข้อเข่าธรรมชาติ
- รูปร่างขาและการบิดเบี้ยวจะกลับสู่ปกติ
- ลดการเสื่อมของข้ออื่นๆ ตามมา
สำหรับท่านที่สงสัยว่าตนเองอาจมีภาวะข้อเข่าเสื่อม หรือมีอาการผิดปกติบริเวณข้อเข่า สามารถเข้ารับการตรวจและปรึกษาได้ที่ ศูนย์ข้อเสื่อมและข้อเทียม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ หรือ ศูนย์ Advance Arthritis and Arthroplasty ซึ่งมีทีมแพทย์พร้อมให้คำปรึกษาและแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
โดย ศ.นพ. อารี ตนาวลี
ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 16 มิถุนายน 2568