โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก
อาการของโรคหลอดเลือดในสมอง แบ่งออกเป็น 2-3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
มีความผิดปกติของหน้าที่ของสมอง เช่น การเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ได้ มองไม่เห็น หรือปวดหัวอย่างทันที และไม่เคยปวดอย่างนี้มาก่อน หรือเวียนหัวอย่างทันที
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ
- กลุ่มหนึ่งคือ ปัจจัยเสี่ยงที่เราไม่สามารถไปยุ่งเกี่ยวได้ ได้แก่ พันธุกรรม เพศ และอายุที่มากขึ้น
- อีกกลุ่มหนึ่งคือ ปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถเข้าไปจัดการได้ และสามารถลดความเสี่ยงได้อย่างมาก เช่น คนที่มีคอเลสเตอรอลสูง คนที่มีความดันโลหิตสูง คนที่มีหัวใจเต้นผิดปกติบางแบบ หรือคนที่มีเส้นเลือดตีบ ซึ่งถ้าเรารู้ก่อน เราสามารถทานยา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้
ก่อนที่เราจะรู้ว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ เราต้องตรวจสุขภาพเสียก่อน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้พัฒนาโปรแกรมบางอย่าง เพื่อช่วยค้นหาความเสี่ยงเหล่านี้ก่อนที่ตัวโรคจะเกิดขึ้นจริง ๆ ตัวเลข 2-3 อย่างที่เราต้องมองหา ได้แก่ การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด การตรวจคลื่นหัวใจ และตรวจวัดคอเลสเตอรอล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ส่วนมากได้มาจากการเจาะเลือดและการติดคลื่นหัวใจ อีกหนึ่งข้อมูลที่สำคัญคือ การดูกายวิภาคหรือโครงสร้างของเส้นเลือด ซึ่งต้องดูภาพถ่ายเส้นเลือดในสมองด้วย MRI (เอ็มอาร์ไอ)
การค้นพบปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเลขเหล่านี้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 19 มิถุนายน 2568