bih.button.backtotop.text

Health Briefs เกร็ดความรู้สุขภาพผู้สูงอายุ

เพื่อนเยอะ อายุยืนยาว

เชื่อหรือไม่ว่านิสัยเก็บตัวไม่พบปะสังสรรค์กับใครนั้น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรไม่แพ้การสูบบุหรี่ ดื่มหนักหรือเป็นโรคอ้วนเลยทีเดียว

เรื่องนี้ยืนยันได้จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychology and Aging โดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัยรอเชสเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งติดตามการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มทดลองจำนวน 133 คนตั้งแต่พวกเขายังอยู่ในวัย 20-30 ปีและสำรวจอีกครั้งในวัย 50 ปีผ่านแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตด้านสังคม ความมั่นคงทางอารมณ์และความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

ผลพบว่าคนที่ชอบเข้าสังคมในช่วงวัย 20 ปี และมีความสัมพันธ์ที่น่าพึงพอใจในช่วงวัย 30 ปีจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัย 50 เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ค่อยมีสังคม ซึ่งในทางจิตวิทยาอธิบายได้ว่าคนในวัยหนุ่มสาวมักมีโอกาสได้พบปะผู้คนต่างที่มาและต่างความคิดความเชื่อ ทำให้ได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับความแตกต่างและนำไปสู่การค้นพบตัวเองซึ่งส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตในช่วงวัยต่อๆ ไป

สมองเสื่อมหรือไม่ รู้ได้ใน 3 นาที

การประเมินภาวะสมองเสื่อมและความรุนแรงของโรคนั้นเป็นงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและกินเวลาหลายชั่วโมง แต่เมื่อไม่นานมานี้นักประสาทวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟลอริด้าแอตแลนติก ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาเครื่องมือคัดกรองภาวะสมองเสื่อมแบบใหม่ที่ใช้เวลาเพียง 3-5 นาทีแต่ได้ผลดีเท่ากับวิธีดั้งเดิมที่ผู้เชี่ยวชาญใช้กันอยู่

เครื่องมือใหม่นี้เรียกว่า Quick Dementia Rating System (QDRS) ซึ่งเป็นแบบสอบถาม 10 หัวข้อ ความยาวประมาณหนึ่งหน้ากระดาษใช้ได้ทั้งกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อมและคนใกล้ชิดแล้วนำคะแนนที่ได้มาประเมินว่ามีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่และอยู่ในระยะไหนแล้ว

ผู้ป่วยสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักไม่มีโอกาสได้รับการตรวจประเมินจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจริงๆ แต่แบบทดสอบนี้จะช่วยให้ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแลและคนในครอบครัวได้รู้ตัวแต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ซึ่งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

โภชนาการดี สมองแข็งแรง

การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพไม่เพียงทำให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมของสมองส่วนควบคุมความคิดเชิงจัดการไม่ว่าจะเป็นเหตุผล ความจำ การวางเป้าหมายหรือการแก้ไขปัญหาได้ถึงร้อยละ 35

นี่เป็นข้อสรุปจากงานวิจัยล่าสุดของวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำโดยการให้ผู้สูงวัยจำนวน 550 คนที่มีอายุเฉลี่ย 80 ปีและยังไม่มีอาการของโรคสมองเสื่อมตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารร่วมกับการทดสอบความสามารถของสมอง

ทั้งนี้นักวิจัยอธิบายว่า โภชนาการที่ดีนั้นช่วยลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานและโรคหัวใจได้ ทั้งยังส่งผลต่ออารมณ์และการนอนหลับซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ความสามารถของสมองลดลง นอกจากนี้ผู้ที่รับประทาน

ดีก็มักจะมีไลฟ์สไตล์ที่ดีด้วย เช่น ออกกำลังสม่ำเสมอและมีความรู้สึกพึงพอใจกับชีวิตของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้คือสูตรสำเร็จของสมองที่แข็งแรงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs