bih.button.backtotop.text

ระบบการทำงานของลำไส้



บทบาทของระบบการทำงานของลำไส้

คนส่วนใหญ่มักนึกถึงสุขภาพของหัวใจ ปอดและสมอง มาก่อนอวัยวะอื่น แต่รู้หรือไม่ว่าลำไส้ก็มีความสำคัญไม่น้อยกว่ากันในเรื่องของสุขภาพ ในความเป็นจริง ระบบทางเดินอาหารเปรียบเสมือนเครื่องฟอกของเสียที่ทำให้ร่างกายสะอาดและเป็นเครื่องผลิตพลังงาน ระบบการย่อยอาหารที่ดีมีความสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เมื่อระบบการย่อยอาหารขาดสมดุล ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า ขาดสมาธิหรือนำไปสู่โรคร้ายแรงเช่น มะเร็ง ดังนั้นการดูแลระบบย่อยอาหารให้แข็งแรงจึงช่วยส่งเสริมการทำงานของหัวใจ ปอดและสมอง เพื่อให้มีสุขภาพโดยรวมที่ดี
 

ความสำคัญของระบบย่อยอาหารที่มีต่อสุขภาพที่ดีโดยรวม

ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยระบบทางเดินอาหาร (GI) ตับ ตับอ่อนและถุงน้ำดี

โดยระบบทางเดินอาหารจะมีอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายท่อกลวง ยาวคดเคี้ยวจากปากไปสู่ทวารหนัก อวัยวะที่เป็นท่อกลวงนี้ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร ท้อง ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ในส่วนของตับ ตับอ่อนและถุงน้ำดีเป็นอวัยวะของระบบย่อยอาหารที่มีลักษณะเป็นเนื้อแน่น

อวัยวะของร่างกายเหล่านี้มีความสำคัญหลายอย่าง  ซึ่งอวัยวะเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติและแข็งแรง โดยต้องการโปรตีน ไขมัน วิตามินและน้ำเพื่อเป็นสารอาหารให้แก่ร่างกาย หลังจากได้รับสารอาหารระบบย่อยอาหารจะย่อยสารอาหารเหล่านี้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆพอที่ร่างกายจะดูดซึมได้ หลังจากนั้นร่างกายจะนำสารอาหารไปใช้เป็นพลังงาน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์


หลังจากระบบย่อยอาหารทำหน้าที่ให้สารอาหารแก่ร่างกาย ก็ถึงเวลาทำความสะอาด

หน้าที่ทำความสะอาดมีความสำคัญพอๆกับให้สารอาหารแก่ร่างกาย ซึ่งจำเป็นต้องกำจัดของเสียจากการย่อยอาหาร การทำความสะอาด หมายรวมถึงเศษอาหารที่ร่างกายไม่ได้ย่อย ของเหลวและเซลล์เก่าจากเยื่อบุภายในลำไส้ ซึ่งทำโดยการดูดซึมน้ำและเปลี่ยนของเสียจากน้ำให้กลายเป็นอุจจาระ   กระบวนการทำงานของลำไส้ที่เรียกว่า Peristalsis หรือการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อในทางเดินอาหารช่วยทำให้อุจจาระเคลื่อนไหวไปยังทวารหนักและลำไส้ตรงซึ่งอยู่ปลายสุดของลำไส้จะเก็บอุจจาระไว้จนกระทั่งถูกเบ่งออกมาจากทวารหนักระหว่างการเคลื่อนไหวของลำไส้


ทำไมสุขภาพของลำไส้จึงมีผลกระทบในทุกแง่มุมของชีวิต

การทำงานของลำไส้ที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อย มีผลต่อสุขภาพของคุณได้ เช่น หากคุณมีอาการท้องเสีย ท้องผูก อุจจาระมีขนาดผอมเรียวเป็นเวลาหลายวัน หรืออาการบ่งชี้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกว่ามีการเคลื่อนไหวของลำไส้ แต่เมื่อถ่ายเสร็จแล้วยังรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด และคุณอาจเริ่มมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกเหนื่อยและอ่อนแรง ร่วมกับรู้สึกปวดตรงกลางหรือค่อนไปทางด้านบนของท้อง นอกจากนี้หากคุณมีเลือดไหลออกจากทวารหนัก โดยเลือดมีสีแดงสดหรือมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระทำให้อุจจาระมีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนถึงโรคที่ร้ายแรง


ปัญหาสุขภาพลำไส้ที่พบได้บ่อย

มะเร็งลำไส้หรือที่เรียกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งลำไส้ตรง เป็นโรคที่พบได้มากที่สุดโรคหนึ่งของลำไส้ อาการของมะเร็งในระยะที่ 3 และ 4 จะทำให้มีอาการเหนื่อยล้า รอ่อนแรงลงและ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงความรู้สีกถ่ายไม่สุด ลักษณะของอุจจาระมีการเปลี่ยนแปลงมานานกว่าหนึ่งเดือน

อีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังซึ่งเกิดจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหารเรื้อรัง หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานจะทำให้ลำไส้เสียหาย อาการของโรคทั่วๆไปคือรู้สึกไม่สบายท้องหรือปวดท้อง มีแก๊สในท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูกและ/หรืออาเจียน

นอกจากนี้ ยังมีโรคทางทวารหนักที่มีผลกระทบต่อทวารหนักและลำไส้ตรง ซึ่งรวมถึงโรคริดสีดวงทวาร แผลปริที่ขอบทวารหนักและโรคฝีคัณฑสูตร ทำให้เกิดอาการ เช่น เจ็บปวด คัน แสบร้อน เลือดไหลและ/หรือบวม อาการเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของผู้ป่วย


สาเหตุของการเกิดปัญหาทางสุขภาพลำไส้และทวารหนัก

สาเหตุหลักที่นำไปสู่โรคลำไส้ใหญ่และทวารหนักคือ อาหาร พฤติกรรมในการดำเนินชีวิตและกรรมพันธุ์

เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางจะตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดและประเมินผู้ป่วยเป็นรายบุคคล และนำเสนอแผนการรักษาที่หลากหลาย รวมถึงแนะนำให้เปลี่ยนแปลงในเรื่องของโภชนาการและการใช้ชีวิต


ปัญหาสุขภาพลำไส้และทวารหนักสามารถป้องกันได้หรือไม่

สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นประจำ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป การตรวจคัดกรองคือการตรวจผนังลำไส้และหาติ่งเนื้อ ซึ่งอาจเป็นจุดกำเนิดของมะเร็งก่อนที่จะแสดงอาการออกมา การตรวจคัดกรองนี้ทำให้สามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้และทวารหนักได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้ประสบความสำเร็จในการรักษาได้มากกว่าการตรวจพบในภายหลัง

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักบางวิธีสามารถพบและกำจัดติ่งเนื้อ (polyps) ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งลำไส้หรือทวารหนักได้ ซึ่งติ่งเนื้อนี้อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็ง แต่ก็สามารถพัฒนาไปเป็นก้อนมะเร็งได้ ดังนั้นหากตัดออกจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้


จะรักษาสุขภาพของลำไส้และทวารหนักได้อย่างไร

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ควรรับประทานผัก ผลไม้และธัญพืชให้มาก อาหารประเภทนี้มีคุณค่าทางโภชนาการและมีกากใยสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

อาหารประเภทเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูและเนื้อแกะ ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนักมากขึ้น เช่นเดียวกับอาหารแปรรูป เช่น ฮอทดอก ไส้กรอก และอาหารมื้อเที่ยงหรือมื้อว่างจำพวกเนื้อสัตว์ที่พร้อมรับประทาน (cooked meats) เนื้อตัดเย็น (cold cuts) และเนื้อเดลี่

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : หากคุณไม่ออกกำลังกาย คุณมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งลำไส้และทวารหนักเพิ่มขึ้น การออกกำลังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
  • ควบคุมน้ำหนัก : ภาวะน้ำหนักตัวเกินหรืออ้วนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนัก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ร่วมกับการออกกำลังกายช่วยควบคุมน้ำหนักและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
  • ไม่สูบบุหรี่ : หากสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งทวารหนักมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : การบริโภคแอลกอฮอล์มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก ดังนั้นทางที่ดีทคือ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากคุณต้องการดื่มแลกอฮอลล์ สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) แนะนำว่า ผู้ชายไม่ควรดื่มเกินสองแก้วต่อวัน และผู้หญิงไม่ควรเกินหนึ่งแก้วต่อวัน
     

แพทย์ผู้ชำนาญการของบำรุงราษฎร์และคลินิคเฉพาะทางสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพลำไส้และทวารหนัก

แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางของบำรุงราษฎร์มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วย ด้านระบบทางเดินอาหารและตับ รวมถึงโรคซับซ้อนอย่างฝีคัณฑสูตรมาเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีศัลยแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ชำนาญในการผ่าตัดส่องกล้องลำไส้ใหญ่ โดยใช้เทคนิคที่ทันสมัย เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่จากลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหาร (Endoscopic submucosal dissection) และการผ่าตัดส่องกล้องลาพาโรสโคป (Laparoscopic surgery)
 

 

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs