bih.button.backtotop.text

การเดินทางของผู้ป่วยโรคมะเร็ง...เมล็ดพันธุ์แห่งความหวังที่มีคนช่วยหาทางออก

13 สิงหาคม 2563
ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นวายร้ายคุกคามสุขภาพอันดับต้น ๆ ทุกวันนี้เราแทบทุกคนมีคนใกล้ตัวที่เคยเผชิญหรือเฉียดใกล้กับโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม กว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้ป่วยอยู่ในปัจจุบันนั้น มีทางป้องกันและรักษาได้ ทำให้จำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์อันน่าทึ่งจากการทุ่มเทศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ เรื่องโรคมะเร็งในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น วิธีวินิจฉัยโรค ตัวยาที่ใช้ ขั้นตอนการรักษา และการฟื้นฟูร่างกายหลังจากการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถอุ่นใจได้ว่า ต่อให้พบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็ยังรักษาให้หายได้ถ้าเราตั้งใจจริง วันนี้จะพามาดูการเดินทางของผู้ป่วยมะเร็งว่ามีจุดเริ่มต้นที่จะป้องกันได้อย่างไร และเมื่อเจอแล้ว จะมีวิธีแก้หรือวิธีรักษาอย่างไร ไปจนถึงเมื่อหายแล้ว จะมีวิธีป้องกันไม่ให้กลับมาได้อย่างไร  
 


การป้องกัน (Prevention) 
พันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ดังนั้น การตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพื่อเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หรือทานยาบางชนิดเพื่อป้องกันการเป็นมะเร็ง หรือเพื่อปรับชีวิตประจำวัน หรือผ่าตัดอวัยวะที่เสี่ยงออก หากอวัยวะนั้นไม่สำคัญกับเราแล้วหรือไม่ต้องใช้แล้ว เช่น มดลูก รังไข่ หลังหมดประจำเดือน เพราะอวัยวะเหล่านี้ไม่ได้ทำงานแล้ว

 

การตรวจคัดกรองมะเร็ง (Screening)
ช่วยทำให้ค้นพบโรคแต่เนิ่นๆ เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง เช่น ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือคนที่สงสัยว่าตัวเองมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเป็นมะเร็ง ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงและอายุ โดยหลักๆ แล้ว การตรวจคัดกรองมะเร็งที่ควรตรวจและคนส่วนใหญ่มักตรวจ เพราะเป็นมะเร็งยอดฮิตที่คนเป็นกันเยอะ เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวน์, การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดด้วย Low dose CT, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Pap smear, HPV, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (colonoscopy), การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการเจาะเลือด และหากผลเลือดผิดปกติ อาจจะวินิจฉัยเพิ่มด้วยวิธีอัลตร้าซาวน์ หรือ MRI การตรวจคัดกรองมะเร็งตับด้วยการเจาะเลือดและอัลตร้าซาวน์ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารด้วยวิธี Esophagogastroduodenoscopy (EGD) ในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

 

การวินิจฉัยโรค (Diagnosis) 
การวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ทันเวลา ทำให้รักษาโรคได้อย่างแม่นยำ และการรู้ระยะของโรค ช่วยให้วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อวินิจฉัยว่าชิ้นเนื้อนั้นมีเซลล์มะเร็งหรือไม่ และถ้าเป็นเซลล์มะเร็งเป็นระยะที่เท่าไหร่ ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อต้องอาศัยความชำนาญขั้นสูงเพื่อความแม่นยำ

 

การรักษา (Treatment) 
การรักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันออกไป เพราะนอกจากจะขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ยังอยู่ที่ระยะของมะเร็งชนิดนั้นด้วย ซึ่งวิธีการรักษามะเร็ง มีตั้งแต่การผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายแสง การฝังแร่ การปลูกถ่ายไขกระดูก การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Targeted Therapy ซึ่งอาจผสมผสานการรักษาหลายวิธีเข้าด้วยกัน ทั้งหมดนี้เพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

การติดตามผลการรักษา (Follow up) 
เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่ทำการรักษาจนครบแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการติดตามผลการรักษาทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง นอกจากนี้ ยังมีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เพื่อให้ผู้ป่วยลดความทรมาน เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว


หากใครที่กำลังอ่านบทความนี้ แล้วเกิดคำถามกับตัวเองหรือมีความกังวลใจแทนคนรอบข้าง เช่น ตัวเองมีโอกาสเป็นมะเร็งมั้ย? ถ้ากลัวเป็นมะเร็ง มีวิธีป้องกัน อย่างไร? มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง ตัวเองควรตรวจอะไรมั้ย?สนใจตรวจ แต่ไม่รู้ต้องตรวจอะไรบ้าง? ไปตรวจมาแล้วเสี่ยงเป็นมะเร็งควรทำอย่างไร? เป็นแล้ว แต่ไม่รู้จะเลือกวิธีไหนในการรักษา?

 


วันนี้ บำรุงราษฎร์มี Cancer Specialist ที่สามารถตอบทุกคำถามเกี่ยวกับมะเร็งได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โทร :  063-2347950
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น.
วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.00-17.00 น.
หรือแอดไลน์เพื่อเข้ากลุ่ม BH Cancer Care ได้ที่ลิงค์นี้ https://lin.ee/6oGqAMY
 
      Cancer-TH-01.jpg
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs