bih.button.backtotop.text

โรคตับอ่อนอักเสบ

โรคตับอ่อนอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับอ่อน โดยแบ่งเป็นการอักเสบชนิดเฉียบพลันและการอักเสบชนิดเรื้อรัง

ตับอ่อนอักเสบเป็นอย่างไร
ตับอ่อนอักเสบแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน
ตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลันเป็นอาการที่ตับอ่อนมีอาการอักเสบที่เกิดขึ้นโดยทันที โดยจะมีอาการบวมและมีการทำลายเนื้อเยื่อของตับอ่อน สาเหตุสำคัญที่อาจทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน คือ การมีนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยที่ดื่มสุราเป็นประจำ รวมทั้งการติดต่อถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน

อาการแสดงในผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

  • มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน อาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังได้ อาการปวดมักจะเป็นอยู่ประมาณ 2-3 วัน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มีไข้

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

สามารถวินิจฉัยได้จากอาการและอาการแสดงทางคลินิก การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (รวมทั้งการเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ amylase และ lipase) นอกจากนี้ยังสามารถวินิจฉัยโรคได้จากการทำซีทีสแกนได้อีกทางหนึ่งด้วย
  1. ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง

ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรังเป็นอาการที่ตับอ่อนมีการอักเสบอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง อาจเกิดต่อเนื่องจากการอักเสบเฉียบพลันที่รักษาไม่หายเนื่องจากสาเหตุยังคงอยู่ เช่น ผู้ป่วยยังคงดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อยู่

อาการแสดงในผู้ป่วยที่มีอาการตับอ่อนอักเสบชนิดเฉียบพลัน

  • มีอาการปวดท้องแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นครั้งคราว
  • มีอุจจาระเป็นสีเทาหรือสีซีดๆ และอาจมีไขมันปนออกมากับอุจจาระ
  • น้ำหนักตัวลดลง

การวินิจฉัยโรคตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง

  • การซักประวัติอาการและการตรวจร่างกาย
  • การเจาะเลือดตรวจเอนไซม์ amylase และ lipase
  • การทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจว่าเป็นโรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการหรือไม่ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี ซึ่งทำให้เกิดการอุดตันและการอักเสบของท่อตับอ่อน จนในที่สุดกลายเป็นสาเหตุของตับอ่อนอักเสบ
  • การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ 
หากมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและเกิดขึ้นทันทีทันใด ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมทั้งเจาะเลือดเพื่อดูเอนไซม์ amylase และ lipase ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ทำอัลซาวนด์เพื่อให้แน่ใจว่าอาจเป็นโรคอื่นที่ทำให้มีอาการได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หากจำเป็นแพทย์อาจแนะนำ

ให้ทำเอกซเรย์หรือทำซีทีสแกน ในรายที่พบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดีแพทย์อาจแนะนำให้ทำการรักษาการอุดตันของท่อน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้อง (endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP) เพื่อดึงนิ่วออก

สำหรับผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ควรเข้ารับการตรวจประเมินทางพันธุกรรม เนื่องจากในบางรายอาการตับอ่อนอักเสบอาจเกิดมาจากยีนบางตัว เช่น PRSS CFTR และ SPINK1 ซึ่งปัจจัยนี้สามารถเกิดได้ถึง 25%
  1. งดรับประทานอาหารและน้ำเพื่อลดการทำงานของตับอ่อน
  2. ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายและป้องกันร่างกายขาดน้ำ
  3. ให้ยาบรรเทาปวด
  4. หากผู้ป่วยยังดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ต้องงดโดยเด็ดขาด
  5. ในกรณีที่ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดี ควรทำการผ่าตัดทันที เพื่อช่วยให้ตับอ่อนอักเสบทุเลาลง
  6. หากมีนิ่วในท่อน้ำดีอาจทำการรักษาการอุดตันของท่อน้ำดีด้วยวิธีการส่องกล้อง (endoscopic retrograde cholangiopancreatography: ERCP) เพื่อดึงนิ่วออก
หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีตับอ่อนอักเสบเกิดขึ้นและมีการทำงานที่ผิดปกติโดยตับอ่อนไม่สามารถผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยอาหาร แพทย์อาจสั่งให้ยาช่วยย่อยชนิดเม็ดหรือชนิดแคปซูลเพื่อช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติและไม่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหารหรือยาชนิดรับประทาน อาจจำเป็นต้องให้อินซูลินทางชั้นใต้ผิวหนังหรือผ่านทางหลอดเลือดดำ
  • หากตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดี ควรทำผ่าตัดทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตับอ่อนอักเสบตามมา
  • ถ้าดื่มสุราเป็นประจำและมีอาการปวดท้อง ควรงดดื่มสุราโดยเด็ดขาด

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.48 of 10, จากจำนวนคนโหวต 192 คน

Related Health Blogs