bih.button.backtotop.text

กระดูกสันหลังเคลื่อน

สาเหตุ
มีสาเหตุหลักๆ เกิดจากความเสื่อมของกระดูกสันหลัง บริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังทางด้านหลัง(facet joint)และ หมอนรองกระดูก ทำให้เกิดความไม่มั่นคงของข้อ มีการเคลื่อนขยับของข้อเกิดขึ้น มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป (degenerative spondylolisthesis) สาเหตุอย่างอื่นที่พบ เกิดจากการไม่เชื่อมต่อกันของกระดูกสันหลัง (par interarticularis defect) ซึ่งพบได้ในคนอายุน้อยลงมา (isthmic spondylolisthesis) ส่วนสาเหตุอื่นที่พบได้น้อยเช่น เกิดจากอุบัติเหตุ(traumatic spondylolisthesis) หรือ เกิดจากการสร้างกระดูกข้อต่อกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ (dysplastic spondylolisthesis) 
ส่วนใหญ่พบมีอาการปวดหลัง มีตั้งแต่ปวดน้อยจนถึงปวดรุนแรง เกิดจากการที่ขยับของข้อต่อที่ไม่มั่นคง
บางคนพบมีโพรงประสาทตีบแคบร่วมด้วย ซึ่งจะพบอาการ ปวดหลังหรือสะโพกร้าวลงขา มีอาการชา หรือ อ่อนแรง เดินได้ไม่ไกลก็ต้องหยุดพักเนื่องจากปวดร้าวลงขา ในบางคนมีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายร่วมด้วย
  1. X-ray กระดูกสันหลังส่วนล่าง และ การ X-ray แบบก้ม-แอ่นหลัง (motion view: flexion-extension) เพื่อดูความไม่มั่นคงของข้อกระดูกสันหลัง (instability)
  2. การส่งตรวจภาพทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) เพื่อดูพยาธิสภาพที่มากดทับเส้นประสาท  ตำแหน่ง และความรุนแรงของการกดทับ การตรวจ X-ray ธรรมดาด้วย
การรักษาในคนที่มีอาการไม่มาก แนะนำปรับพฤติกรรมการใช้งาน หลีกเลี่ยงยกของหนัก ลดน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรง สามารถกินยา หรือ ทำกายภาพบำบัด ร่วมกันไปด้วยได้ ในคนที่มีอาการรุนแรง ปวดร้าวลงขามาก เดินได้ระยะทางใกล้มาก รบกวนชีวิตประจำวันมาก การผ่าตัดเป็นการรักษาที่ได้ผลดี โดยปัจจุบันมีการผ่าตัดในหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคน
 
  1. การผ่าตัดใส่เหล็กดามเชื่อมข้อ(fusion) ร่วมกับเอาเนื้อเยื่อและกระดูกที่ทับเส้นประสาทออก(decompression) เหมาะในคนที่มีอาการปวดหลังมากจากการมีข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่มั่นคง  
  2. การผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อและกระดูกที่มีการทับเส้นประสาทออก(decompression) โดยในปัจจุบันสามารถทำผ่านกล้อง microscope หรือ endoscope ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก บาดเจ็บน้อย นอนโรงพยาบาลสั้น ฟื้นตัวไว เหมาะในคนที่ไม่มีอาการปวดหลัง อาการหลักเป็นอาการปวดลงขา ข้อที่เคลื่อนไม่มีการขยับเมื่อมีการก้ม เงย

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ออร์โธปิดิกส์

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs