bih.button.backtotop.text

กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis)

 

Burden of disease

กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent idiopathic scoliosis(AIS)) ความชุกที่มีรายงานทั่วโลกอยู่ที่ 0.35-13% ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ เพศ และวิธีการคัดกรอง1 โดยโรคชนิดนี้มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในประเทศไทย  การสำรวจในโรงเรียนบางส่วนพบความชุก 0.91-4.62% 2-3  จากการศึกษาในโรงเรียนในเขตเมืองกรุงเทพ ในเด็กผู้หญิงอายุระหว่าง 11-13 ปี จำนวนทั้งหมด 1,818 คน พบความชุกอยู่ที่ 4.62% 3  

ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา มีผลทำให้ กระดูกสันหลังคดเป็นมากขึ้น (Curve progression)  ปวดหลังได้ง่ายขึ้น มีโอกาสเกิดกระดูกสันหลังเสื่อมในอนาคตได้มากขึ้น กระดูกหลังคดส่งผลถึง เรื่องความสวยงาม (Cosmetic) และสภาพทางสังคมและจิตใจ (Social and psychological problem)  และในกรณีที่หลังคดรุนแรงมากอาจส่งผลถึงการทำงานของปอด ความสำคัญคือ การค้นพบและรักษาตั้งแต่เริ่มแรก จะช่วยลดโอกาสในการเกิดความคดที่เป็นมากขึ้น และ ลดอัตราการผ่าตัดจากหลังคดได้ 

 

สาเหตุของโรค (Natural History)

กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ปัจจัยที่อาจมีผลได้แก่
  1. กรรมพันธุ์(Genetic) พบว่าในครอบครัวลูกสาวที่เกิดจากมารดาที่มี scoliosis incidence ของการเกิด scoliosis ใน first degree relative4 11%  ส่วน second degree relative 2.4% และ third degree relative 1.4%  มีการศึกษา monozygous twin 5,6,7 มีโอกาสเกิด scoliosis ถึง 3 ใน 4 ส่วน  heterozygous twin พบประมาณ 1 ใน 3
  2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue abnormality) มีความเชื่อมโยงกับโรค connective tissue disease8,9 บางโรค เช่น Marfan Syndrome
  3. ความผิดปกติของเกร็ดเลือด(Thrombocyte abnormalities), โปรตีนควบคุมภายในเซลล์ที่จับตัวแคลเซียมไอออน (calmodulin) และ ฮอร์โมนเมลาโทนิน(melatonin) 10-13
  4. Growth และ Biomechanical Theories growth ในช่วง rapid growth เป็นปัจจัยสำคัญต่อ curve progression และหยุดการ progress ของ curve หลังจาก maturity แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวยังคงเป็นที่สงสัยกันอยู่   ในด้าน biomechanics14 พบว่า cartilage ทางด้าน concave side มีการรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ growth ถูก inhibit และเชื่อว่า asymmetrical load เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิด vertebral wedging และเกิด vertebral deformity
 

อาการที่มีผลต่อระบบต่างๆในร่างกาย ดังต่อไปนี้ 

  1. ปวดหลัง (Back pain)  การศึกษา Iowa long term series 15,16คนไข้ที่มี scoliosis ที่ skeletal maturity ติดตามผล 50 ปี พบว่ามีการเสื่อมข้อต่อ spine จาก x-ray ถึง 91% ได้แก่ minimal osteophyte formation, mild narrowing disc space หรือ moderate facet joint sclerotic  ประวัติการปวดหลังส่วนใหญ่ไม่สัมพันธ์กับการเสื่อมของกระดูกสันหลัง ยกเว้น บางตำแหน่งที่มี translator shift บริเวณ thoracic lumbar และ lumbar curve  การศึกษาของ The Three Swedish long term studies17,18,19 มากกว่า 30 ปี พบว่ามากกว่า 90% ของผู้ป่วยมีปัญหา low back pain บ้าง หลังจากการทำกิจวัตรประจำวันสิ้นสุดลง ซึ่งก็จะดีขึ้นเวลาได้พักและตำแหน่งที่ปวดก็แตกต่างกันไป ไม่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่ง( location) และขนาด( magnitude) ของ curve 
  2. การทำงานของปอด (Pulmonary function)  พบว่า curve magnitude ของ thoracic curve มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ  pulmonary  function ซึ่งจะลดลงเมื่อ curve มากกว่า 60-70 องศา  force vital capacity และ FEV1 จะลดลง 20% เมื่อ curve ประมาณ 100 องศา15,20  Weinstein พบว่าเมื่อ curve 100-120 องศา จะมี significant limitations ของ force vital capacity และจะมีปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่ม thoracic hypokyphosis 
  3. การเสียชีวิต (Mortality) ผู้ป่วยที่มี thoracic curve ที่มีมุมมากกว่า 100 องศา จะเพิ่มความเสี่ยง จากการเสียชีวิตด้วย Cor pulmonale และ right ventricular failure 
  4. ภาวะทางจิตใจและสังคม (Psychosocial effect) มีผลต่อ cosmetic deformity ซึ่งส่งผลต่อ  psychosocial effects โดยเฉพาะกลุ่ม severe curve หากพบว่ามี prominence ของ rib มากกว่า 3 เซนติเมตร แต่ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับตำแหน่ง(location) หรือจำนวนองศา(magnitude) ของ curve กับความรุนแรงของ psychosocial effects16 
  5. การตั้งครรภ์ (Pregnancy) Nachemson รายงานจำนวนการตั้งครรภ์หลายครั้งก่อนอายุ 23 ปี มีผลต่อ curve progression ได้ Betz21 และคณะ รายงานว่า age onset การตั้งครรภ์ครั้งแรก, จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ หรือ curve stability ไม่เพิ่ม risk ของการ progression ของ scoliosis curve และพบว่า mild-moderate scoliosis ไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดจากรายงานของ Iowa long-term study  


เรียบเรียงโดย นพ. ปฤศนัย พฤฒิกุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง



 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs