bih.button.backtotop.text

โรคลมหลับ (Narcolepsy)

โรคลมหลับเป็นอีกหนึ่งโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนโดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ แม้ว่านอนหลับอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม เป็นโรคที่พบได้น้อยประมาณร้อยละ 0.05 ของประชากรทั้งหมด โดยพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 10-25 ปี

อาการ

ผู้ป่วยมักมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติและหลับในตอนกลางวันโดยไม่สามารถฝืนให้ตื่นได้ เช่น ในขณะรับประทานอาหาร เรียน ทำงาน ประชุม ขับรถ หลังหลับจะมีอาการดีขึ้น แต่จะรู้สึกง่วงอีกครั้งในระยะเวลาไม่นานและสามารถหลับได้อีกหลายครั้งต่อวัน  โดยที่ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ อีกได้ เช่น

  • เผลอหลับร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง คอตก ล้มพับลงกับพื้น (Cataplexy)  เกิดในขณะที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เครียด หัวเราะ ตกใจ เศร้า
  • ไม่สามารถขยับร่างกายได้ช่วงใกล้ตื่นนอน หรือที่เรียกว่า ผีอำ (Sleep paralysis)
  • มีภาพหลอนขณะกึ่งหลับกึ่งตื่น (Hypnagogic hallucination)
  • มีอาการอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ ซึมเศร้า หลงลืม ขาดสมาธิ  อ่อนเพลีย
มีความผิดปกติของร่างกายในระบบภูมิคุ้มกัน โรคทางสมอง สาเหตุทางพันธุกรรม ทำให้วงจรการนอนหลับและตื่นผิดปกติ โดยผู้ป่วยมีการหลับที่ไม่อาจจะฝืนทั้งที่มีกิจวัตรประจำวันอยู่ ผู้ป่วยบางรายพบว่า ไฮโปเครติน (hypocretin) สารเคมีที่สัมพันธ์กับวงจรการหลับและตื่นในสมองมีปริมาณน้อยกว่าปกติ
แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การนอนหลับจะสอบถามประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับตรวจการนอนหลับในตอนกลางคืน (sleep test) และตรวจต่อเนื่องด้วยการนอนหลับตอนกลางวัน (multiple sleep latency test: MSLT) ในห้องปฏิบัติการตรวจการนอนหลับ ในช่วงที่ผู้ป่วยใช้เวลาเข้าสู่การหลับ มักพบการกรอกลูกตาไปมาอย่างเร็วอย่างน้อย 2 ครั้ง

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือการปรับพฤติกรรมและการใช้ยา

  1. การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เพื่อมีสุขภาวะการนอนหลับที่ดี (sleep hygiene) เช่น หลีกเลี่ยงยา สารเคมี สิ่งเสพติด สุรา บุหรี่ งดการขับยานพาหนะ
  2.  การรักษาด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมบำบัดกับนักบำบัดชำนาญการเฉพาะทาง
  3. การใช้ยา โดยแพทย์จะพิจารณาให้ยาที่เหมาะสมตามอาการและติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยให้สามารถมีกิจวัตรประจำวันที่เหมาะสมตามต้องการ   


ที่มา ศ.นพ. ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ แพทย์ชำนาญการด้านหู คอ จมูก

Doctors Related

Related Centers

คลินิกคุณภาพการนอนหลับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs