bih.button.backtotop.text

แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง

แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง (Neurocritical Care)

โรคและอุบัติเหตุทางด้านสมองและระบบประสาทที่ฉุกเฉินเป็นอันตรายต่อชีวิต เป็นสิ่งที่ท้าทายและต้องใช้บุคลากรที่มีประสบการณ์และความชำนาญขั้นสูงในการดูแลรักษา แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ให้การดูแลผู้ป่วยหนักทางสมองและระบบประสาทด้วยวิธีการรักษาที่ดีและเหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุดโดยอิงจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน (Evidence based best practice) พร้อมด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ทันสมัยและการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบของทีมสหสาขาวิชาชีพ ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถวางใจในความพร้อม ความถูกต้องแม่นยำในการวินิจฉัยและรักษาโรคและภาวะฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนได้อย่างทันท่วงที
 

Layout-Neuro-ICU-infographic_TH_AW2.jpg
 

ทีมสหสาขาวิชาชีพของแผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง มุ่งมั่นในการให้การดูแลรักษาขั้นตติยภูมิ (Tertiary care) และขั้นจตุตถภูมิ (Quaternary Care) แก่ผู้ป่วยในภาวะวิกฤตอย่างเต็มความสามารถและความเอื้ออาทรตลอด 24 ชั่วโมง บุคลากรของเราประกอบด้วย

  • แพทย์ผู้ชำนาญด้านระบบประสาทที่ผ่านหลักสูตรและสำเร็จเป็นผู้ชำนาญเวชบำบัดวิกฤติด้านระบบประสาท จากสหรัฐอเมริกา
  • แพทย์ระบบสมองและระบบประสาท
  • แพทย์รังสีร่วมรักษาทางสมอง และระบบประสาท
  • ศัลยแพทย์สมองและระบบประสาท
  • ศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลัง
  • แพทย์โรคหู คอ จมูก
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • พยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติด้านระบบประสาทและสมอง
  • ทีมนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดที่ชำนาญในการฟื้นฟูและบำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสมองและระบบประสาท
  • นักบำบัดปัญหาการพูด
  • เภสัชกรผู้ชำนาญโรคผู้ป่วยหนักด้านระบบประสาทและสมอง
  • นักโภชนาการ
  • พยาบาลผู้ประสานงานด้านคลินิกโรคทางสมอลและระบบประสาท

ทีมสหสาขาวิชาชีพทำงานร่วมกันเพื่อใช้ความรู้และความชำนาญของแต่ละวิชาชีพมาร่วมกันวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อมอบการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ด้วยความสามารถในการรักษาโรคและภาวะที่เกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาทอย่างครอบคลุม เช่น

  • โรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก (Acute ischemic stroke)
  • ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง (Intracranial or subarachnoid hemorrhage)
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral aneurysm)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (Cerebrovascular malformations)
  • การบาดเจ็บกระดูกสันหลังเฉียบพลัน (Acute spine cord injury)
  • เนื้องอกในสมอง (Brain tumors)
  • ภาวะบาดเจ็บสมอง (Traumatic brain injury)
  • อาการโคม่า (Coma)
  • ความผิดปกติต่างๆทางสมอง (Encephalopathy)
  • ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)

Layout-Neuro-ICU-infographic_TH_AW1.jpg

 
  • เครื่องตรวจการไหลเวียนของเลือดของหลอดเลือดแดงในสมอง (TCD: Transcranial Doppler) เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตัน และการหดตัวอย่างผิดปกติของหลอดเลือด (Vasospasm)
  • เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG: Electroencephalography)
  • เครื่องกระตุ้นสมองและระบบประสาทด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS: Transcranial Magnetic Stimulation)
  • เครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resonance Imaging)
  • เครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

Neuro-ICU-1.jpg

Neuro-ICU-2.jpg

 
  •  ห้องผ่าตัดชนิด biplane เป็นห้องผ่าตัดที่ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด แบบ 2 ระนาบ ทำให้เห็นภาพ ให้เห็นภาพเอกซเรย์ที่มีความคมชัดสูง สามารถเห็นภาพ 2 ระนาบในครั้งเดียว ช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดที่มีความซับซ้อนทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ห้องพักผู้ป่วยหนักระบบประสาทออกแบบห้องโดยเน้นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ประกอบด้วยห้องพักทั้งหมด 10 ห้อง พร้อมด้วยเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจของผู้ป่วยแต่ละราย (patient monitor) ที่เชื่อมโยงกับเครื่องศูนย์กลางติดตามการทำงานของหัวใจ (central monitor) เพื่อให้พยาบาลประจำห้องฉุกเฉินสามารถเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยหนักได้อย่างทั่วถึง

เราตระหนักดีว่าทุกนาทีที่สูญเสียไปอาจนำไปสู่จุดที่ไม่สามารถย้อนคืนกลับมาได้ ดังนั้นแผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลังจึงทำงานประสานกับแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินและแผนกผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิดเพื่อพร้อมในการดูแลผู้ป่วยในทุกภาวะวิกฤตตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีฉุกเฉิน แพทย์ผู้ชำนาญการทางสมองและระบบประสาท พยาบาลแผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง สามารถให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาเบื้องต้นที่แผนกฉุกเฉิน หากผู้ป่วยจำเป็นต้องทำหัตถการเพิ่มเติม เช่น ใส่สายสวนเพื่อลากลิ่มเลือดที่อุดตัน (clot retrieval) เจ้าหน้าที่สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังห้องผ่าตัดชนิด biplane ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับแผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง

นพ. ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

ประสาทวิทยา

ดูประวัติ

นพ. ฐกรรด์ ชัยสาม

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

ประสาทวิทยา

ดูประวัติ

นพ. ภวิศ เหลืองเวชการ

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ

ประสาทวิทยา

ดูประวัติ
    Scroll for more

Contact Number

02 011 2502
 
  • บริการพบแพทย์ผ่าน VDO call (Tele-Consultation) คลิก

Service Hours

  • แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง
 ทุกวัน 24 ชม.
 

Location

  • แผนกผู้ป่วยวิกฤตระบบประสาทและไขสันหลัง
 อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาล (อาคารบี)  ชั้น 5
 
คะแนนโหวต 2.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs