ไม่ร้ายแรงแต่เรื้อรัง รู้จัก เข้าใจ IBS
อาการปวดท้องน้อย ท้องผูก ท้องเสียต่อเนื่องเป็นเวลานาน รับประทานยาแล้วก็ยังไม่หายขาด สร้างความกังวลและเป็นอุปสรรค ต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จะทำ อย่างไรเมื่อเป็น โรคลำไส้แปรปรวน
แบบไหนที่ใช่ลำไส้แปรปรวน
โรคลำไส้แปรปรวน เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ โดยไม่มีความผิดปกติทางกายภาพของลำไส้ที่จะสามารถอธิบายว่าเป็นสาเหตุของอาการได้ ไม่ว่าจะเป็นก้อนเนื้อ มะเร็ง การอักเสบหรืออื่น ๆ ทั้งนี้ นพ. สุริยะ อธิบายว่า โรค IBS มีอาการบ่งชี้สำคัญ คือ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องเรื้อรังเป็น ๆ หาย ๆ นานเกิน 6 เดือนขึ้นไป
"ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ ด้วยอาการปวดท้อง แน่นท้องบริเวณท้องน้อยข้างซ้ายหรือข้างขวา ร่วมกับการขับถ่ายที่ผิดปกติ"
นพ.สุริยะ จักกะพาก
ร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ ซึ่งแบ่งตามกลุ่มอาการได้ดังนี้ คือ
“ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง แน่นท้อง โดยมักปวดบริเวณท้องน้อยข้างซ้ายหรือข้างขวา ร่วมกับอาการท้องผูกหรือท้องเสีย บางรายถ่ายผิดปกติติดต่อกันหลายวันจนอาการน่าเป็นห่วง ถ้าเป็นท้องผูกก็จะต่างจากท้องผูกทั่วไปคือมีอาการปวดท้องหรือแน่นท้องร่วมด้วย เมื่อถ่ายแล้วอาการปวดท้องแน่นท้องจะดีขึ้น” นพ. สุริยะอธิบายเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องไม่มีอาการอันตราย อาทิเช่น ถ่ายอุจจาระมีมูกหรือเลือดปน น้ำหนักลด ซีด อาเจียน อุจจาระมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ มีอาการปวดเบ่งถ่ายอุจจาระไม่สุด
สาเหตุและการวินิจฉัย
แม้จะเป็นโรคที่พบบ่อย แต่สาเหตุของโรคลำไส้ แปรปรวนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แพทย์เชื่อว่ากลไกการเกิดโรคนั้นอาจเป็นได้ทั้งจากการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารผิดปกติ หรือประสาทรับรู้ความรู้สึกในทางเดินอาหารไวกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแพทย์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมากขึ้น การวินิจฉัยจึงแม่นยำมากขึ้น “ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ ด้วยอาการปวดท้อง แน่นท้อง บริเวณท้องน้อยข้างซ้ายหรือ ข้างขวา ร่วมกับการขับถ่าย ที่ผิดปกติ” นพ. สุริยะ จักกะพาก “ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคลำไส้แปรปรวน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งในระบบทางเดินอาหารควรได้รับการตรวจทางห้องปฎิบัติการเบื้องต้น เช่น ตรวจเลือด ตรวจอุจจาระ และการตรวจพิเศษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม”
ส่วนการส่องกล้องนั้น นพ. สุริยะ ให้ความเห็นว่า หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องส่องกล้องทุกรายและทุกครั้งไป โดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีหลายประการ เช่น ผู้ป่วยมีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นวัยที่สุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือผู้ป่วยมีประวัติท้องผูกเป็นเวลานานหรือมีท้องผูกสลับท้องเสียบ่อย ๆ อาจจำเป็นต้องส่องกล้องเพื่อหาความผิดปกติทางกายภาพเพิ่มเติม เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจต่าง ๆ แล้วยังไม่พบความผิดปกติทางกายภาพจึงจะจัดว่าผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้แปรปรวน
รักษาตามอาการ
เนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้ การรักษาโรคลำไส้แปรปรวนจึงเป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาระบาย ยาลดอาการปวดเกร็ง ยาคลายกังวล และยาแก้ท้องเสีย ซึ่งไม่ใช่การกำจัดสาเหตุของโรคโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้อีก
เรื่องนี้นพ.สุริยะแนะนำว่า เมื่อยังไม่ทราบสาเหตุของโรค ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ซึ่งพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค ได้แก่
- มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ข้ามอาหารมื้อเช้า รับประทานอาหารไขมันสูงอาหารจานด่วน หรืออาหารที่มีกากใยน้อย
- มีภาวะเครียด กังวล
- การขาดการออกกำลังกายและการพักผ่อนที่เพียงพอ
“ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตตัวเองแล้วหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะไปกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น ถ้ารับประทานของมันแล้วปวดท้องก็ต้องละเว้นรวมถึงระวังไม่ให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินอาหารที่เกิดจากอาหารและน้ำดื่มไม่สะอาดเพราะจะทำให้อาการกำเริบได้เช่นกัน”
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมช่วยได้
โรคลำไส้แปรปรวนไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ใช่สัญญาณของโรคมะเร็ง และผู้ป่วยก็สามารถมีอายุยืนยาวได้เช่นเดียวประชากรทั่วไป แต่อาการเป็น ๆ หาย ๆ ของโรคนั้นส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง โดยส่วนใหญ่มักเกิดความเครียดเมื่อไม่หายขาด กังวลว่าจะเป็นโรคร้าย หรือในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียเป็นหลัก อาการของโรคมักเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง
“วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรค IBS คือ อย่าไปคิดว่าโรคนี้เป็นอันตราย เพราะยิ่งเครียดยิ่งกระตุ้นอาการของโรค แพทย์จะรักษาเพื่อบรรเทาอาการ ขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ ชีวิตด้วยเพื่อให้อาการดีขึ้น และลดความถี่ของการกลับมาเป็นอีก”นพ. สุริยะกล่าวในตอนท้าย
โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษานาน ความรู้ความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่จะช่วยให้ผู้ป่วย IBS มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรค IBS
โรคลำไส้แปรปรวนส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนราวร้อยละ 10 ของประชากรตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะวัยทำงานและผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หากไม่อยากเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรค IBS ลองปฏิบัติตามคำแนะนำง่าย ๆ นี้
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
- รับประทานอาหารเช้าให้ได้ทุกวัน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานมากที่สุด เมื่อกินเสร็จแล้ว การเดินย่อยอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงจะทำให้รู้สึกอยากเข้าห้องน้ำและควรเข้าห้องน้ำทันที วิธีนี้จะช่วยให้วงจรการขับถ่ายกลับเป็นปกติ
- ไม่กลั้นถ่าย อาการปวดถ่ายจะอยู่กับเราเพียงประมาณ 2 นาทีเท่านั้น หากไม่ถ่ายในช่วงเวลาที่ปวด อุจจาระที่อยู่ในลำไส้จะลอยขึ้น น้ำในอุจจาระถูกดูดซึมโดยลำไส้ทำให้อุจจาระแข็งและเกิดอาการท้องผูกตามมา
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ โดยอาจเน้นอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการขับถ่าย
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: