bih.button.backtotop.text

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

 

โปรแกรมกระตุ้นและฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและมือ

(Hand function training program) ส่งเสริมความสามารถของกล้ามเนื้อมือมัดเล็กที่ทำงานบกพร่องไปจากภาวะโรค ให้กลับมาทำงานได้ ฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว สหสัมพันธ์และเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่ Rejoyce workstation, Biometrics E-LINK, Tyrostation
(Swallowing screening test and training program) ในผู้ที่มีภาวะการกลืนลำบาก เช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทางสมอง ผู้ป่วยมะเร็งสมองและลำคอ (CA head and neck) ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาการดูด-กลืน  เริ่มจากการประเมินและทดสอบความสามารถในการกลืน  ประเมินลักษณะของอาหารและน้ำที่เหมาะกับความสามารถของผู้ป่วย  ฝึกสอนเทคนิคพิเศษในการกลืน แนะนำการจัดท่าทางที่เหมาะสมขณะกลืน  ฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อ มีเครื่องมือที่ใช้ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืน ได้แก่ เครื่อง Vital stim, Rephagia-Biofeedback
(Perceptual-cognitive test and training program) โดยให้การประเมินด้วยแบบประเมินที่มีมาตรฐาน และให้การบำบัดรักษาผ่านทางการจัดกิจกรรมที่ถูกพัฒนาและออกแบบให้มีความเฉพาะเจาะจงกับปัญหาของแต่ละบุคคล ได้แก่ กิจกรรมฝึกฝนฟื้นฟูความจำ ความคิดและการตัดสินใจ ผ่านทางเกมส์ คอมพิวเตอร์โปรแกรม (Restorative approaches)  สอนเทคนิคการทดแทน (Compensatory approaches) ผ่านทางประยุกต์กิจกรรมที่ต้องทำเป็นประจำในการทำกิจวัตรประจำวัน
ให้กิจกรรมกระตุ้นการบูรณาการประสาทความรู้สึก ร่วมกับการบำบัดในห้อง Snoezelen ซึ่งเป็นห้องที่จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา ส่งเสริมและกระตุ้นประสาทรับความรู้สึกพื้นฐานที่สำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส การทรงตัว และการรับรู้ของเอ็นกระดูกและข้อต่อ ช่วยให้เด็กอาการสงบ ผ่อนคลาย มีการรับรู้การเรียนรู้ รวมถึงมีสมาธิดีขึ้น มีโปรแกรมประเมินพัฒนาการ (Developmental screening test: Denver 2) Thai edition รวมถึงวางแผนออกแบบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้สมวัยในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ เด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กที่มีความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายและสมอง, Autistic spectrum disorder (ASD), Down’s syndrome  รวมถึงให้การประเมินและฝึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการไปโรงเรียนของเด็ก เช่น ทักษะการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ประเมินและแนะนำท่าทางในการจับดินสอ ปากกาที่เหมาะสม เป็นต้น
โดยพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอดทุกช่วงวัย  ประเมินและให้คำแนะนำในการดัดแปลงสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย รวมถึง แนะนำข้อห้าม ข้อควรระวัง และเทคนิคในการทำกิจวัตรประจำวันในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า หรือ ข้อสะโพก
 เพื่อนำมาใช้ประคับประคองให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่เกิดการบาดเจ็บได้พัก ใช้เพื่อการจัดท่า ส่งเสริมการทำงานของมือ ดัดแปลงอุปกรณ์หรือจัดทำอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น ช้อน-ส้อม แปรงฟันเสริมด้าม  
แก้ไขล่าสุด: 30 เมษายน 2568

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs