bih.button.backtotop.text

Snoezelen Room การบำบัดประสาทการรับรู้แบบองค์รวม

 

Snoezelen Room การบำบัดประสาทการรับรู้แบบองค์รวม

Snoezelen Room หรือ ห้องกระตุ้นประสาทการรับรู้ (Multisensory Integration Room) เป็นห้องที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษให้มีสภาพแวดล้อมภายในห้องอย่างเหมาะสมในการกระตุ้นหรือผ่อนคลายระบบประสาทการรับรู้ ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรสัมผัสและการเคลื่อนไหว ช่วยในการกระตุ้นหรือช่วยให้สงบและผ่อนคลาย ส่งเสริมสมาธิ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมถึงกระตุ้นพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว การทรงตัว และความสัมพันธ์ระหว่างตาและมือ โดยมีนักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้ประเมินและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการที่มีปัญหาแตกต่างกัน เช่น กลุ่มเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษอื่นๆ ผู้ป่วยสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่สมอง เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถสำรวจและมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมได้อย่างอิสระตามจังหวะของตนเอง

 
องค์ประกอบของห้อง Snoezelen ได้ถูกออกแบบขึ้นอย่างเหมาะสมกับผู้รับบริการหลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคสมองหรือกลุ่มเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษอื่นๆ ดังนี้
 
  • การจัดแสง (Lighting): ใช้แสงนุ่มนวลกระจาย เช่น ไฟเบอร์ออปติกและไฟ LED สร้างบรรยากาศที่สงบเงียบ ลดภาระทางประสาทสัมผัสที่มากเกินไป
  • เสียง (Sound): ส่งเสริมและสร้างความผ่อนคลายด้วยการเปิดเพลงบรรเลงผ่อนคลายหรือเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำไหล เสียงนกร้อง เพื่อกระตุ้นการได้ยินและส่งเสริมความผ่อนคลาย
  • กลิ่นบำบัด (Aromatherapy): บำบัดโดยใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นและสร้างความรู้สึกสงบผ่อนคลาย
  • การสัมผัส (Tactile stimulation): ส่งเสริมการรับสัมผัสด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เบาะสั่น (Vibrating Bean Bag) และพื้นผิววัสดุที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นการสัมผัสและความอยากสำรวจ
  • การมองเห็น (Visual elements): ส่งเสริมการมองเห็นโดยใช้อุปกรณ์ เช่น หลอด Bubble tubes ไฟเบอร์ออปติก และเครื่องฉายภาพ รวมถึงรูปภาพที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นการมองเห็น สร้างสมาธิ และความผ่อนคลาย
  • ช่วยทำให้อารมณ์สงบสุขและรู้สึกผ่อนคลาย (improved mood and relaxation): บรรยากาศที่เงียบสงบช่วยลดความเครียด ความกระวนกระวายและความวิตกกังวล
  • กระตุ้นการทำงานของสมอง (stimulated cognitive function): สภาพแวดล้อมที่ประกอบไปด้วยระบบประสาทสัมผัสที่หลากหลาย สนับสนุนให้เกิดการสำรวจและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า ช่วยเพิ่มความสามารถทางสติปัญญา สมาธิและความจำ
  • ส่งเสริมการสื่อสารและการเข้าสังคม (enhanced communication and socialization): กระตุ้นให้เกิดการแสดงออก การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สร้างสรรค์กับบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • เพิ่มความมั่นใจในตนเองและความรู้สึกเป็นอิสระ (increased self-esteem and autonomy): ผู้เข้ารับบริการมีส่วนร่วมในการควบคุมประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของตนเอง ทำให้เกิดความมั่นใจและความรู้สึกเป็นอิสระในการตัดสินใจและลงมือทำด้วยตนเอง
การใช้เทคนิค Snoezelen เป็นเทคนิคการบำบัดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่ามีผลดีต่อการฟื้นฟูสมองและระบบประสาท เหมาะสำหรับ:
 
  • กลุ่มเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษอื่นๆ: ที่มีปัญหาด้านสติปัญญา การเรียนรู้ การบูรณาการ การรับความรู้สึก (sensory integration) การขาดความสนใจ (attention) การขาดสมาธิจดจ่อ การควบคุมตนเอง (self-regulation) และภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity)
  • ผู้ป่วยสมองเสื่อม (Dementia), โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke), การบาดเจ็บที่สมอง (TBI): ที่ต้องการกระตุ้นการรับรู้ ต้องการผ่อนคลาย และลดอาการกระวนกระวาย (Agitate) หรือพฤติกรรมความรุนแรงที่ไม่เหมาะสม
  • ผู้ที่มีความเครียดและความวิตกกังวลสูง
แก้ไขล่าสุด: 02 พฤษภาคม 2568

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ดูเพิ่มเติม

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs