bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดปรับเพศสภาพจากชายเป็นหญิง

การผ่าตัดปรับเพศสภาพ(หรือเรียกได้อีกอย่างว่า การผ่าตัดยืนยันเพศ) จากชายเป็นหญิง
(Male to Female Gender Affirmation Surgery, A.K.A. Gender Confirmation Surgery)
คือ การปรับโครงสร้างอวัยวะเพศชายเดิมเพื่อสร้างเป็นอวัยวะเพศหญิง
 

คุณสมบัติของผู้ที่จะผ่าตัดปรับเพศสภาพ
ผู้ที่จะเปลี่ยนเพศต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือ อย่างน้อย 18 ปีขึ้นไป โดย ได้รับการอนุญาตจากผู้ปกครอง
  2. ได้รับฮอร์โมนเพศหญิงไม่ว่าจะเป็นในรูปยารับประทานหรือยาฉีดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. มีประสบการณ์การใช้ชีวิตแบบเพศหญิงไม่น้อยกว่า 1 ปี
  4. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น gender identity disorder, gender dysphoria จากแพทย์ผู้ชำนาญการ และได้ผ่านการประเมินสภาพจิตใจว่าอยู่ในภาวะที่พร้อมต่อการผ่าตัดโดยจิตแพทย์ 2 ท่าน
 
  1. งดน้ำและอาหาร อย่างน้อย  8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
  2. หยุดใช้ยาฮอร์โมนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในกรณีที่เป็นยารับประทาน แต่ถ้าเป็นยาฉีดควรหยุดฉีดประมาณ 4 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด อย่างไรก็ตามควรปรึกษากับทีมแพทย์ถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
  3. ในกรณีที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาประจำ ให้แจ้งแพทย์ก่อนการนัดวันผ่าตัดเสมอ
  4. หยุดยาและสมุนไพรที่ทำให้เลือดออกง่าย ก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์ ได้แก่ ยากลุ่มแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟน วิตามินอี สมุนไพรบางชนิด เช่น กระเทียม ใบแปะก๊วย
  5. ควรงดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ก่อนผ่าตัด 4-6 สัปดาห์
  6. ควรลาหยุดงานประมาณ 3-4 สัปดาห์ สำหรับการผ่าตัดและการพักฟื้นหลังผ่าตัด
  7. ในกรณีที่ผลเอชไอวีเป็นบวก ควรควบคุม CD4 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก่อนผ่าตัด
การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยมีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน ดังนี้
  1. การตัดองคชาต (penectomy) โดยเก็บส่วนปลาย (tip of glands penis) ไว้ เพื่อนำมาทำเป็นปุ่มรับรู้ความรู้สึกเพศหญิง (clitoris) และแคมเล็ก (labia minora) เพื่อให้สามารถรับความรู้สึกทางเพศได้
  2. การตัดอัณฑะ (orchidectomy) ทำให้ไม่มีการผลิตน้ำอสุจิ
  3. การสร้างช่องคลอด (vaginoplasty) วิธีที่นิยมมี 2 วิธี ได้แก่
    • การนำผิวหนังขององคชาตและถุงอัณฑะมาทำเป็นช่องคลอดเทียมเพื่อให้เกิดความรู้สึก เนื่องจากมีเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก (penile skin inversion, scrotal skin flap)
    • การนำลำไส้ใหญ่ มาทำเป็นช่องคลอดเทียม (sigmoid colon technique)
  4. การตกแต่งให้ส่วนอื่น ๆ เป็นอวัยวะเพศหญิง (feminizing genitoplasty) ผิวหนังถุงอัณฑะที่เหลือจะถูกดัดเปลี่ยนเป็นแคมนอก (labia majora) ท่อปัสสาวะจะถูกตัดให้สั้นลง
การดูแลหลังการผ่าตัดมีดังต่อไปนี้
  1. ผู้ป่วยจะได้รับการสอดท่อสวนปัสสาวะเพื่อป้องกันการตีบของท่อที่ทำขึ้นมาใหม่และสามารถปัสสาวะได้สะดวก ไม่กระทบกระเทือนต่อบาดแผล
  2. แพทย์จะสอดผ้าก๊อซเข้าช่องคลอดในระยะแรกเพื่อซับเลือดและป้องกันการหดตัวของช่องคลอดจากการดึงรั้งของบาดแผลที่เริ่มประสานกัน  ภายหลังนำผ้าก๊อซออกแล้ว ผู้ป่วยควรสอดเครื่องช่วยขยายช่องคลอดตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ช่วยลดโอกาสที่ช่องคลอดจะหดตัว ทำให้ช่องคลอดมีความลึกตามต้องการ
  3. ควรใส่ผ้าอนามัย เนื่องจากอาจยังมีอาการเลือดออกอยู่ในช่วง 1 อาทิตย์แรกหลังการผ่าตัด
  4. การตัดไหมจะทำภายใน 7-10 วันหลังผ่าตัด
  5. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่ม และปริมาณฮอร์โมนที่ใช้หลังผ่าตัด จะได้รับการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลโดยทีมแพทย์
  6. ระยะเวลาพักฟื้นจะใช้เวลาประมาณ 3-5 สัปดาห์ บาดแผลภายในจะเริ่มหายดีหลังการผ่าตัดไปแล้วประมาณ 6 เดือน
  7. สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อแผลและผิวหนังในช่องคลอดหายสนิทดีแล้ว ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังผ่าตัด
ข้อแทรกซ้อนและผลข้างเคียงที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
  • แผลผ่าตัด หรือผนังช่องคลอดใหม่ (neovagina) แยกหรือหายไม่สนิท เนื่องจากแผลผ่าตัดมีการเย็บต่อกันด้วยผิวหนังจากหลายส่วน และแต่ละตำแหน่งอาจมีโอกาสที่แยกออกจากกันได้ รวมทั้งการดูแลหลังผ่าตัดที่ไม่เหมาะสมหรือการใช้งานอวัยวะเพศเร็วเกินกําหนด
  • ช่องคลอดตีบ หรือ ปากช่องคลอดหดแคบ หรือตื้นเกินไป เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากการเจาะช่องคลอดไม่กว้างเพียงพอ โครงสร้างของเชิงกรานที่มีมุมแคบอยู่เดิม หรือผิวหนังที่นำมาสร้างมีปริมาณน้อย ซึ่งสามารถลดการเกิดได้โดยการผ่าตัดกับทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญและวางแผนเทคนิคการผ่าตัดให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ส่วนการหดตัวของช่องคลอดเนื่องจากพังผืด พบได้ถ้าการถ่างด้วยอุปกรณ์ถ่างช่องคลอดทำไม่เพียงพอ
  • ท่อปัสสาวะตีบ จากพังผืดที่ล้อมรอบบริเวณรูเปิด
  • ช่องคลอดทะลุเข้าในช่องท้องหรือลําไส้ใหญ่ เกิดจากการดูแลหรือใช้งานหลังการผ่าตัดไม่เหมาะสม พบได้น้อยมากในการรักษากับทีมที่ชำนาญและการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  1. ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ประจำก่อนการเดินทางมาที่โรงพยาบาลเพื่อการเตรียมผ่าตัด รวมถึงนำยาที่ใช้อยู่เป็นประจำมาด้วย
  2. ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ต้องมีการแสดงความยินยอมจากผู้ปกครอง
  3. ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรวางแผนเพื่อการอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  4. หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง
  5. ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายดูแลแผลผ่าตัดในวันนัดและได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสารยืนยันเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารในผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง (Fit for Travel Medical Certificate)


รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คลินิก Pride 
โทร 063-221-0957 หรือ 02-066-8888 และ 1378

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

คลินิก Pride

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs