bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดแก้ไข ฟื้นฟูความผิดปกติของใบหน้าและเบ้าตาที่มีความซับซ้อน

การผ่าตัดแก้ไข ฟื้นฟูความผิดปกติของใบหน้าและเบ้าตาที่มีความซับซ้อน ในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากการกระแทกที่บริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ความรุนแรงอาจเกิดเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงมากจนทําให้กระดูกเบ้าตาแตกหรือทําให้ตัวลูกตาแตกได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของความแรงของแรงกระทําที่มากระทําและอีกปัจจัย คือ ทิศทางของแรงที่มากระทํากับตาหรือเบ้าตา

การผ่าตัดแก้ไข ฟื้นฟูความผิดปกติของใบหน้าและเบ้าตาที่มีความซับซ้อน
ในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจากการกระแทกที่บริเวณใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ความรุนแรงอาจเกิดเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงมากจนทําให้กระดูกเบ้าตาแตกหรือทําให้ตัวลูกตาแตกได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยของความแรงของแรงกระทําที่มากระทําและอีกปัจจัย คือ ทิศทางของแรงที่มากระทํากับตาหรือเบ้าตา   
การบาดเจ็บอาจพบได้ในหลายอวัยวะ ได้แก่ 
  • ดวงตา (globe) 
  • เปลือกตา (eyelid) 
  • ระบบท่อนํ้าตา (lacrimal system) 
  • กระดูกรอบ ๆ เบ้าตาและกระดูกเบ้าตา 
  • กระดูกโพรงไซนัส (sinuses) 
  • สมอง (brain)  
การผ่าตัดบริเวณใบหน้าและเบ้าตานั้นจะเริ่มจากการวินิจฉัยในลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละราย และอาการสำคัญในการเข้าพบแพทย์ หากผู้ป่วยมาด้วยอาการสำคัญเกี่ยวกับเปลือกตา ท่อน้ำตา และเบ้าตา จะเริ่มจากการพบจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเปลือกตา ท่อน้ำตา และเบ้าตา หากผู้ป่วยมีอาการร่วมที่ต้องพบแพทย์เฉพาะทางจะมีการส่งผู้ป่วยให้แพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางในด้านต่างๆ ร่วมในการตรวจและวินิจฉัย  และอาจมีการส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ได้แก่ การทำ CT Scan, MRI หรือ Whole body scan เพื่อเป็นการสนับสนุนการวินิจฉัย และนำไปสู่การวางแผนการรักษาต่อไป 
การผ่าตัดในส่วนใบหน้าและเบ้าตา มีการผ่าตัดหลายประเภท
  1. การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมใบหน้าจากอุบัติเหตุ  มีการใช้วัสดุทดแทนหลายประเภท เช่น กระดูกเบ้าตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Med pore orbital implant, การใช้กระดูกเชิงกรานมาเสริมส่วนของกระดูกเบ้าตาแตก( Iliac Bone graft) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของอวัยวะที่เสียหาย  รูปแบบการผ่าตัด ขนาดแผลค่อนข้างเล็ก มีแผลด้านนอกประมาณ 1 ซ.ม. แผลส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบนซึ่งมองไม่เห็นจากด้านนอก ลดโอกาสเปลือกตาผิดรูปได้ การผ่าตัดในลักษณะแบบพร้อมกับระบบ navigator system จะทำให้มีความแม่นยำและได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ 
  2. การผ่าตัดท่อน้ำตา ปัจจุบันการผ่าตัดท่อน้ำตา มี 2 แบบ คือ ผ่าตัดจากด้านนอก และการผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscopeผ่าตัดจากด้านใน โดยบำรุงราษฎร์ใช้การผ่าตัดโดยใช้กล้อง Endoscope ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ไม่มีแผลเป็นที่ด้านนอก การหายของแผลไว ลดโอกาสเลือดออกด้านนอก และลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้ โอกาสหายขาดสูงถึง 98-99%
  3. การผ่าตัดเปลือกตา ในการผ่าตัดเปลือกตานั้น สามารถทำผ่าตัดได้ทั้งผู้ป่วยแบบปกติ เพื่อความสวยงาม ไปจนกระทั้งการผ่าตัดเพื่อแก้ไขเปลือกตาจากสภาพอาการต่าง ๆ เช่น เปลือกตาตก เปลือกตาผิดรูป เปลือกตาม้วนเข้า -ออก หรือ การสร้างเปลือกตาใหม่ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งบางประเภท 
  4. การผ่าตัด หู คอ จมูก โดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางและมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope 
  5. การผ่าตัดศัลยกรรมช่องปาก โดยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง ซึ่งจะสามารถผ่าตัดแก้ไขในผู้ป่วยที่มีปัญหาการสบฟัน ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุกระดูกใบหน้าแตก และต้องเข้ารับการจัดเรียงระบบใบหน้าใหม่ 
  6. การทำอวัยวะเทียม เช่น การทำตาปลอม จมูกปลอม หูปลอม และใบหน้าปลอม
การผ่าตัดเบ้าตาและใบหน้า ถือเป็นการผ่าตัดที่มีความละเอียดอ่อน เนื่องด้วยใบหน้าคือองค์ประกอบไปด้วยอวัยวะหลายชิ้นส่วนและมีความซับซ้อน อาทิเช่น ตา จมูก หรือริมฝีปาก ซึ่งถือเป็นลักษณะเด่นที่บ่งบอกถึงลักษณะหรือเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการในแต่ละสาขาที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละอวัยวะ จะทำให้การหายและการฟื้นฟูของอวัยวะกลับมาใกล้เคียงปกติ 

โดยมีทีมแพทย์สหสาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับเบ้าตาและกระดูกหน้า ทั้งนี้เพื่อให้การผ่าตัดแก้ไขและรักษาสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ซึ่งประกอบด้วย 
  • จักษุแพทย์เฉพาะทางด้านเปลือกตา ท่อนํ้าตา และเบ้าตา หรือที่เรียกว่า Oculoplastic Specialist (Ophthalmic Plastic and Reconstructive Surgery) แพทย์ผู้ดูแลการทำผ่าตัดในส่วนเบ้าตาแตก เนื้องอกในเบ้าตา การผ่าตัดเปลือกตาตก ผ่าตัดไขเปลือกตา การผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตา เช่น ท่อน้ำตาฉีกขาด หรืออุดตัน เป็นต้น
  • แพทย์ทันตกรรมประดิษฐ์ 
  • แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกหน้า (Maxillofacial Specialist) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกหน้าและซ่อมแซมในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือมีเนื้องอก/มะเร็ง ที่ทำให้กระดูกใบหน้าเสียรูปร่าง โดยการรักษาจะเน้นการทำงานของอวัยวะในสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ศัลยแพทย์ด้านหู คอ จมูก (Otolaryngorhinologist) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ไขหู คอ จมูก ในกรณีมีความผิดปกติต่างๆ ทั้งนี้รวมไปถึงความผิดปกติในโพรงจมูก (Sinus) ด้วย 
  • แพทย์ศัลยกรรมประดิษฐ์ใบหน้าและขากรรไกร และบูรณะช่องปาก ในกรณีผู้ป่วยสูญเสียอวัยวะต่างๆไป ถาวร และต้องการทำของเทียมขึ้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต และเข้าสังคมได้อย่างสมบูรณ์ 
  1. การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น
  2. การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น การถ่ายภาพจอประตา การทำ test MRI หรือ การทำ CT scan เป็นต้น
  3. การตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัด ในกรณีการดมยาสลลบ (under general anesthesia) หรือคนไข้มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
  4. การวางแผนการผ่าตัด ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและญาติ
  5. การผ่าตัด ในกรณีใบหน้าและเบ้าตาอาจใช้เวลาการผ่าตัด 4-5ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู๋กับขนาดการแตกของอวัยวะ สำหรับการผ่าตัดชนิดอื่นอาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
  6. การพักฟื้นหลังผ่าตัดนั้นขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด 
  • กรณีการผ่าตัดใบหน้า และเบ้าตา อาจพักฟื้น 5 - 7 วัน
  • กรณีการผ่าตัดท่อน้ำตาพักฟื้น 1 วัน 
  • กรณีทำเปลือกตา มีทั้งแบบรักษาผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน 
  • กรณีการผ่าตัดหู คอ จมูก พักฟื้น 1 - 2 วัน  
ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 สัปดาห์ตลอดระยะเวลาการรักษา
  • แนะนําให้พักโรงแรมใกล้โรงพยาบาลเพื่อความสะดวกในการเดินทางมาโรงพยาบาลทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
  • ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายก่อนผ่าตัดเนื่องจากการผ่าตัดใช้วิธีการดมยาสลบ และต้องงดนํ้าและอาหารมาก่อนการตรวจร่างกาย

หลังเข้ารับการผ่าตัด
  • ปฎิบัติตามข้อกำหนดในการดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด  
  • หลังจากการตรวจติดตามอาการในวันถัดไปหลังผ่าตัด หากไม่มีอาการผิดปกติผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับประเทศได้หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจักษุแพทย์  
  • ควรกลับมาตรวจติดตามอาการหลังผ่าตัดครั้งต่อไปนับจากมาตรวจ 1วันหลังผ่าตัดอีกอย่างน้อย 1 เดือน, 3 เดือน และ 6เดือน หรือถ้าไม่สะดวกมาพบแพทย์ควรได้รับการตรวจต่อเนื่องกับแพทย์เฉพาะทางที่ประเทศที่ผู้ป่วยพํานักอยู่

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์จักษุ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs