bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม

การผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม (cochlear implant surgery) เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาการได้ยินชนิดรุนแรงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ผลสามารถได้ยินเสียงตามธรรมชาติและเสียงพูดได้

ประสาทหูเทียมคืออะไร
ประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ฟังเพื่อทดแทนการทำงานของหูชั้นใน โดยทำหน้าที่แทนเซลล์ขน (hair cells) ของหูชั้นในที่หยุดทำงาน โดยเครื่องแปลงสัญญาณเสียงจะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงที่รับผ่านไมโครโฟนแล้วไปแปลงคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องรับสัญญาณเสียงที่ผ่าตัดฝังไว้ สัญญาณไฟฟ้าจะผ่าน cochlea และ cochlear nerve แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วนที่รับการได้ยิน ทำให้เกิดการได้ยินขึ้นมา
                 ประสาทหูเทียมคืออะไร

ประสาทหูเทียมมีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนที่ฝังอยู่ภายในร่างกาย หรือเรียกว่าเครื่องรับสัญญาณเสียง
  • ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย หรือเรียกว่าเครื่องแปลงสัญญาณเสียง
        ส่วนประกอบของประสาทหูเทียม 2210-(1).jpg
Nucleus-474x350-(1).jpg
  • เด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
  • ประสาทหูเสื่อม 2 ข้าง มีระดับการได้ยินมากกว่า 90 เดซิเบลในเด็ก และมากกว่า 80 เดซิเบลในผู้ใหญ่
  • ใช้เครื่องช่วยฟังไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยมาก
  • มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการผ่าตัด
  • มีระดับสติปัญญาและสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • สามารถเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัดได้
  • การประเมินการได้ยิน
  • การตรวจร่างกาย ได้แก่ การซักประวัติเพื่อหาสาเหตุของการสูญเสียการได้ยิน การตรวจหูหาความผิดปกติของหูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง รวมถึงการตรวจเลือด ปัสสาวะ ปอด หัวใจ เพื่อตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายก่อนผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมด้วยการดมยาสลบ
  • การตรวจสุขภาพจิตและระดับสติปัญญา เนื่องจากการเรียนรู้ในการฟังและการพูดต้องใช้สมาธิและปัญญาของตนเอง ร่วมกับความช่วยเหลือของทีมงานที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของการได้ยินและคนในครอบครัว ระดับสติปัญญาและสุขภาพจิตจึงมีความสัมพันธ์ต่อผลที่ได้จากการใช้เครื่องประสาทหูเทียมเป็นอย่างมาก

ในปัจจุบันการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมที่นิยมทำกันมากที่สุดมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

  • วิธี mastoidectomy with posterior tympanotomy approach (MPTA)
  • วิธี suprameatal approach (SMP)

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  • ชนิดรุนแรง
    • การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า (facial nerve)
    • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
    • แผลผ่าตัดติดเชื้อหลังผ่าตัดจนทำให้เครื่องรับสัญญาณเสียงโผล่ออกมาภายนอก
  • ชนิดไม่รุนแรง
    • การบาดเจ็บต่อผิวหนังของช่องหู เยื่อแก้วหู
    • มีการกระตุกของกล้ามเนื้อของใบหน้าขณะใช้เครื่อง
หลังการผ่าตัดประมาณ 3 สัปดาห์จึงจะสามารถเปิดและใช้เครื่องประสาทหูเทียมได้ ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการฝึกและทดสอบสมรรถภาพการฟังและการพูดกับทีมงานฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินตามตารางที่กำหนด เพื่อให้เกิดพัฒนาการได้ยินและการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ

Related conditions

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์การได้ยินและการทรงตัว

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.89 of 10, จากจำนวนคนโหวต 53 คน

บทความที่เกี่ยวข้อง