bih.button.backtotop.text

การพ่นยาเพื่อการรักษาในเด็ก

การพ่นยาเพื่อการรักษาในเด็ก หรือการให้ยาพ่นฝอยละอองในเด็ก เป็นการรักษาโรคทางระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันถือเป็นการบริหารยาที่มีความสำคัญและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ โดยเฉพาะโรคที่มีการอุดกั้นของหลอดลมขนาดเล็ก เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของฝอยละอองที่มีอนุภาคเล็กมาก ยาจึงสามารถเข้าสู่ปอดและออกฤทธิ์ที่ปอดได้โดยตรง นอกจากนั้นยายังออกฤทธิ์ได้ทันทีอีกด้วย

ชนิดยาที่ให้ร่วมกับการพ่นยา
  1. ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  2. ยาขยายหลอดลม
  3. ยาสเตียรอยด์ ช่วยลดอาการอักเสบ
  4. ยากลุ่มที่ช่วยละลายเสมหะ
  5. ยากลุ่มเบต้าอะโกนิสออกฤทธิ์สั้น ช่วยในการขยายหลอดลม
  6. ยากลุ่มเบต้าอะโกนิสออกฤทธิ์ยาว ช่วยในการขยายหลอดลมและร่วมออกฤทธิ์ของคอร์ติโคสเตียรอยด์
  7. ยากลุ่ม racemic epinephrine ช่วยแก้ภาวะฉุกเฉิน อาการเฉียบพลันของหอบหืด เป็นต้น
  1. เพื่อรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือโรคเรื้อรังที่เกี่ยวกับปอด ภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันที่เกี่ยวกับระบบหายใจ
  2. ทำให้เกิดความชุ่มชื้นในหลอดลม เสมหะที่เหนียวจึงอ่อนตัวลง ง่ายต่อการระบายเสมหะออกจากปอด
  3. แพทย์มักใช้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น การอักเสบ การหายใจตื้น การหายใจมีเสียงหวีด (wheeze) จากการตีบแคบของหลอดลม การไอ การมีน้ำมูกข้นเหนียว หรือมีภาวะเหล่านี้
  • ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (anaphylaxis) ภาวะช็อก
  • โรคเรื้อรังทางระบบทางเดินหายใจ (chronic respiratory diseases) เช่น หอบหืด โรคถุงลมปอดอุดกั้น หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  • โรคติดเชื้อในปอด (lung infections) ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อราและไวรัส เป็นต้น
  • สิ่งแปลกปลอมในระบบทางเดินหายใจหรือปอด เช่น อาหารหรือสิ่งไหลย้อนจากกระเพาะเข้ามาสู่ปอด เป็นต้น
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnea) รวมถึงภาวะการกรน หรือภาวะหยุดหายใจในเด็ก
ปกติการพ่นยาเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ยกเว้นในกรณีที่ใช้เกินคำสั่งแพทย์ บางรายอาจเกิดอาการแพ้ได้แต่พบได้น้อยมาก เช่น ปรากฏอาการผื่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบแจ้งแพทย์หรือพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้เคียง อย่างไรก็ดีแพทย์จะสอบถามประวัติการแพ้ยาก่อนจ่ายยา แต่ในการแพ้อาจเป็นการแพ้ใหม่ที่ยังไม่เคยมีประวัติการแพ้มาก่อนได้
หากพบว่าท่านมีอาการดังต่อไปนี้ให้แจ้งแพทย์ทราบเพื่อบันทึกเป็นประวัติ เนื่องจากอาจเป็นอาการแพ้ในระยะเริ่มแรกก็ได้
  1. ความรู้สึกในการรับรสหรือได้กลิ่นลดน้อยลง
  2. คอแห้งหรือระคายในลำคอ ปาก หรือมีการไอ
  3. ปวดศีรษะ
  4. กระวนกระวาย ตัวสั่น 
  5. หนักๆ ศีรษะ
  6. แน่นจมูก
  7. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  8. ใจสั่น
  9. กระสับกระส่าย วิตกกังวล
  1. เป็นวิธีบริหารยา/ให้ยาที่สำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถให้ออกซิเจนแก่เด็กขณะพ่นยาได้ ให้ยาได้หลายชนิดร่วมกันได้ และมีส่วนผสมที่เป็นน้ำเกลือ (normal saline) ช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ทางเดินหายใจและค่อนข้างปลอดภัย
  2. วิธีพ่นยามีหลายรูปแบบที่แพทย์เลือกใช้ โดยมุ่งให้เหมาะสมกับวัย สุขภาพ และโรคของเด็ก การพ่นยาไม่มีความเจ็บปวดขณะทำการพ่น แต่ต้องผ่อนคลายและสูดดมอย่างช้าๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของยาได้รับเต็มที่ ดังนั้นจึงควรรู้วิธีพ่นยาอย่างถูกวิธี รวมทั้งดูแลอุปกรณ์พ่นยาอย่างถูกต้อง เพื่อให้การรักษาได้ผลมากที่สุด
 
หากไม่ทำการรักษาจะเกิดอะไรขึ้น
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคทางระบบหายใจไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และอาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น ในโรคที่มีการอุดกั้นของหลอดลมขนาดเล็ก
 
แพทย์อาจมีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายให้แก่ผู้ป่วย ขึ้นกับอาการ อายุ ความรุนแรงของโรค หรือแม้กระทั่งประวัติการเจ็บป่วย เช่น แพทย์อาจพิจารณาให้ยารับประทาน การให้ยาเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงการตรวจอื่นๆ เช่น การทำทดสอบการแพ้ การเจาะตรวจดูระดับออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสโลหิต การเอกซเรย์ปอด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือมีการใส่ท่อช่วยหายใจ การฉีดยาปฏิชีวนะเข้าหลอดเลือดดำ การทำการทดสอบสมรรถภาพการทำงานของปอด เป็นต้น
 

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs