bih.button.backtotop.text

ภาวะหัวใจล้มเหลว การรักษาที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิต

สัมภาษณ์คุณสุนันทา บุตรสาวคุณวันชัย ฤกษ์พูนสวัสดิ์

ภาวะหัวใจล้มเหลว  การรักษาที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิต

"ในสมองตอนนั้นคิดว่าแหล่งที่จะรวมแพทย์มีฝีมือในเมืองไทยคงไม่พ้นบำรุงราษฎร์แลยสุ่มโทรฯมาหาน้องพยาบาลและเอ่ยชื่อนามสกุลที่คุณหมอโรงพยาบาลนั้นให้มา แล้วก็ได้ทีเลย เลยพาคุณพ่อมารักษาตามที่คุณหมอโรงพยาบาลแห่งนั้นได้แนะนำไว้"

คุณวันชัยมีอาการหายใจเหนื่อย นอนราบไม่ได้ จึงไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าคุณวันชัยมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมกับเส้นเลือดหัวใจตีบ แพทย์จึงรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะและใส่ขดลวด (stent) หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ คุณวันชัยมีอาการแน่นหน้าอกและหายใจเหนื่อยอีกครั้ง

คุณสุนันทาเล่าว่า "ตอนนั้นไม่แน่ใจว่าเกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือเปล่า เรานึกว่าเกิดจากเส้นเลือดตีบอีกเพราะคุณหมอบอกว่ามันมีตีบสองเส้น ทำเส้นใหญ่ไปเส้นนึง อีกเส้นนึงเป็นเส้นเล็กๆอาจรอได้ ทีนี้พอคุณพ่อเจ็บแน่นหน้าอกขึ้นมา ตอนนั้นกำลังขับรถอยู่ก็วิ่งเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดริมถนนแล้วคุณหมอท่านนั้นเลยแนะนำว่ากล้ามเนื้อหัวใจหนามาก มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวอีก จึงอยากให้ไปพบผู้เชี่ยวชาญ และให้ชื่ออาจารย์ธีรภัทรมา แต่ไม่รู้ว่าออกตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนไหน ให้เราไปหาเอง ในสมองตอนนั้นคิดว่าแหล่งที่จะรวมแพทย์มีฝีมือในเมืองไทยคงไม่พ้นบำรุงราษฎร์เลยสุ่มโทรฯมาหาน้องพยาบาลและเอ่ยชื่อนามสกุลที่คุณหมอโรงพยาบาลนั้นให้มา แล้วก็ได้ทีเลย เลยพาคุณพ่อมารักษากับอาจารย์ธีรภัทรตามที่คุณหมอโรงพยาบาลแห่งนั้นได้แนะนำไว้"

อยู่ในมือของผู้ชำนาญการ

เมื่อคุณวันชัยมาพบกับรศ.นพ. ธีรภัทร ยิ่งชนม์เจริญ แพทย์ผู้ชำนาญด้านภาวะหัวใจล้มเหลว นพ. ธีรภัทรได้แนะนำให้คุณวันชัยเข้าโปรแกรมของภาวะหัวใจล้มเหลว คุณสุนันทากล่าวว่า "ไม่อยากจะอวย (หัวเราะ) คือดีมากๆ ทั้งคุณหมอและทีมสหสาขาวิชาชีพ ทั้งน้องพยาบาล ทั้งเภสัช ทั้งโภชนากร คือไม่ใช่ว่ามีแผนแล้วต้องไปตามนี้ แต่คุณหมอกับทีมน้องๆจะฟังว่าเรามีข้อจำกัดอะไรแล้วพยายามปรับแผนการรักษาให้ตรงกับตัวเรา เป็นอะไรที่ flexible เป็นการวางแผนการดูแลร่วมกันที่ดีมากๆ"

คุณสุนันทาได้กล่าวถึงแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพของบำรุงราษฎร์ว่า "อาจารย์ธีรภัทรน่ารักมาก ถ้าพูดถึงขั้นตอนหรือการให้คำอธิบาย อาจารย์ค่อนข้างประณีต ในที่นี้คือพิถีพิถัน ละเอียดลออแล้วอธิบายทางเลือกทั้งหลายทั้งปวงให้ฟัง และที่อาจารย์แม่นกว่าหมอดูอีกคือ อาจารย์พูดถึงเรื่องที่เราไม่เคยคิดถึงเลย คือคิดว่าคุณพ่อน่าจะมีปัญหาเรื่อง sleep apnea ซึ่งพอไปรับการตรวจวินิจฉัยก็เป็นจริงๆอย่างรุนแรงด้วย…สำหรับพยาบาลมองว่าเค้ามีความอดทนสูง มีใจรักบริการ มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่ได้มองแค่ในฝั่งของพยาบาลแต่มองในฝั่งของผู้รับบริการ พยายามแก้ปัญหาให้เราด้วย…โภชนากรก็มีความรู้มาก ให้คำแนะนำเชิงรายละเอียด เป็นเรื่องที่ยากแต่มองว่าทีมทำได้ดีทีเดียว…ส่วนทีมกายภาพเจอกันค่อนข้างน้อย แต่น้องๆและทีมอาจารย์กายภาพเก่งมาก เครื่องมือก็โอเคนะ…เภสัชนี่สำคัญมากเพราะกินยาเยอะมาก ช่วงแรกๆเค้าจะโทรฯมาถี่หน่อย เพราะคุณหมอให้ยาใหม่ที่ลงสู่ตลาดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วคือมีงานวิจัยสนับสนุน เป็นยาที่ยอมรับได้ว่ารักษาทางด้าน heart failure แล้วดี แน่นอนยาใหม่ต้องติดตามอาการ ช่วงนั้นน้องเค้าขยันถามแบบใกล้ชิด"

บทบาทสำคัญของผู้ดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว

การดูแลคนไข้หัวใจภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพและความร่วมมือจากคนไข้มีความสำคัญแล้ว ความเอาใจใส่ของผู้ดูแลก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกัน คุณสุนันทากล่าวว่า "ทำอาหารให้คุณพ่อเองสามมื้อ วันนึง create อาหารสามมื้อ low salt, low fat ดูข้อจำกัดโน่นนี่นั่น ช่วงนั้นเหนื่อยมากแต่ก็ต้องทำ มองว่าเรื่องอาหาร เรื่องโภชนาการเฉพาะโรคนี้สำคัญมากในกลุ่มผู้ป่วยเฉพาะแบบนี้"

การรักษาที่ช่วยคืนคุณภาพชีวิต

คุณสุนันทาเล่าต่อว่า "อาการของคุณพ่อดีมาก มองว่าคุณพ่อดีขึ้นเพราะเริ่มกลับมาดื้อเหมือนเดิม (หัวเราะ) คือพอรู้สึกว่าตัวเองไม่ป่วยก็จะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนเดิมในอดีตทุกอย่าง…แต่โรคของคุณพ่อยังไงก็ต้องพบหมอแล้วก็ทานยาเป็นระยะอยู่"

 

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
065-509-9198 
(ระหว่างเวลา 8.00-20.00 น. )

02-066-8888
(ระหว่างเวลา 20.00-8.00 น. )

Email
[email protected]
 

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs