bih.button.backtotop.text

เด็กอ้วน มีไขมันในเลือดสูง เสี่ยงเป็นโรคไขมันเกาะตับ

โรคไขมันเกาะตับ หรือ โรคไขมันคั่งตับในเด็ก คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันมากผิดปกติหรือมีการทำงานของตับผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของไตรกลีเซอไรด์อยู่ในเซลล์ตับ เด็กที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันเกาะตับ เช่น เด็กอ้วน เด็กที่เป็นโรคเบาหวาน มีไขมันในเลือดสูง เป็นไวรัสตับอักเสบซี เป็นต้น
    

อาการ

โดยทั่วไปโรคไขมันเกาะตับมักไม่มีอาการทางร่างกาย หรืออาจมีอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น ไม่สบายตัว ปวดหรือแน่นท้องด้านขวาบน

 

สาเหตุของการเกิดโรคไขมันเกาะตับในเด็ก

สาเหตุของการเกิดโรคนี้มีหลายทฤษฎี แต่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ เชื่อว่าเกิดจากการมีภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้ตับจับกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้นและลดการขนส่งกรดไขมันอิสระและไตรกลีเซอไรด์ออกจากตับ ทำให้ในที่สุดมีไขมันสะสมที่ตับผิดปกติ นำไปสู่ภาวะตับอักเสบ เซลล์ตับตายและเกิดพังผืดที่ตับ ซึ่งสุดท้ายสามารถพัฒนาไปเป็นภาวะตับแข็งได้

 

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรค

  • พันธุกรรม มียีนที่เกี่ยวข้องกับความไวของอินซูลิน, กระบวนการเผาผลาญและเปลี่ยนรูปแบบของไขมัน, การอักเสบและเกิดพังผืดในตับ
  • โภชนาการ การบริโภคที่มากเกินไป ทำให้มีไขมันสะสม เกิดไขมันเกาะตับและตับอักเสบ
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การขาดสมดุลของจุลิทรีย์ในลำไส้

 

การวินิจฉัยโรคไขมันเกาะตับในเด็ก

  • การตรวจเลือด เพื่อหาค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติหรือไม่
  • การตรวจอัลตราซาวน์ตับ เพื่อดูว่ามีลักษณะเข้าได้กับโรคไขมันเกาะตับหรือไม่
  • การตรวจตับด้วยเครื่อง Fibroscan เพื่อวัดความยืดหยุ่น พังผืดและปริมาณไขมันในตับ
  • หรือ การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan ช่องท้อง
  • หรือ การเจาะตรวจชิ้นเนื้อตับ

 

ข้อดีของการตรวจ

  • ตรวจง่าย ได้ผลเร็ว
  • ไม่ได้รับความเจ็บปวดใดๆ
  • สามารถช่วยวินิจฉัยภาวะตับแข็งในระยะเริ่มแรก
  • ติดตามผล และประเมินระดับความรุนแรงของตับแข็ง และช่วยในการวางแผนรักษาต่อไป

 

การรักษาและการป้องกัน

โรคไขมันเกาะตับในเด็กยังไม่มีการรักษาที่ชัดเจน เนื่องจากโรคนี้มักพบในเด็กอ้วน การรักษาจึงเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น
  • ปรับเรื่องการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • การลดน้ำหนักทำให้ค่าเอนไซม์ตับและไขมันในตับลดลง
  • ในบางรายอาจจำเป็นต้องใช้ยาหรืออาหารเสริมตามการพิจารณาของแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้การอักเสบของตับรุนแรงและเกิดพังผืดที่ตับ
 
 
เรียบเรียงโดย ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs