มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือภัยเงียบที่คุกคามคนไทยติดอันดับ 4 ของผู้ป่วยมะเร็งในแต่ละปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าเป็นจนกระทั่งเริ่มแสดงอาการและกว่าจะตรวจพบกับมักเข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งทำให้เสี่ยงกับการเสียชีวิตมากขึ้น
เพื่อเป็นการป้องกันและรู้ทันโรคก่อนที่จะสาย วันนี้มาพร้อมข้อแนะนำในการป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการตรวจสุขภาพลำไส้ รวมถึงวิธีการดูแลสุขภาพในระบบลำไส้ของเรา พบกับแพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์ โรคระบบทางเดินอาหารและตับจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นพ. จักรพันธ์ โอแสงธรรมนนท์
อยากให้คุณหมอให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ ว่ามีความอันตรายยังไง และทำไมถึงเรียกว่าเป็นภัยเงียบที่คุณผู้ฟังต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ
มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติ กลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ ที่เรียกว่า polyps ติ่งเนื้อนี้ถ้าเราไม่ได้เอาออก มันจะค่อยๆ ลาม ทะลุผนังลำไส้ หรือแพร่กระจายต่อไปยังต่อมน้ำเหลือง ตับ ปอด เยื่อบุช่องท้อง สมอง หรือกระดูกได้
โดยส่วนใหญ่แล้วติ่งเนื้อนี้จะไม่มีอาการ คนไข้ส่วนใหญ่คิดว่าไม่มีอาการก็เลยไม่มาหาแพทย์ เพราะติ่งเนื้อมันโตขึ้นคนไข้ก็จะเริ่มมีอาการ เช่น ถ่ายผิดปกติ มีเลือด หรือมีขนาดอุจจาระเล็กลง หลังจากนั้นก็จะเริ่มแพร่กระจาย จนทำให้คนไข้มาพบแพทย์ในระยะหลังๆ ซึ่งจะทำให้การรักษาที่ยาก หรือทำให้แพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากอะไรคและใครถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงบ้าง
ส่วนใหญ่แบ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะแวดล้อมกับทางพันธุกรรม
ภาวะแวดล้อม เช่น
- คนไข้ที่กินเนื้อแดง หรืออาหารแปรรูป เช่น แฮม ไส้กรอก
- คนไข้ที่มีภาวะอ้วน การเป็นเบาหวานมีภาวะดื้ออินซูลิน
- การสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน การดื่มสุราเป็นเวลานาน
- คนไข้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
กลุ่มเกิดจากพันธุกรรม
- ผู้ที่มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ พบว่าถ้ามีญาติพี่น้องสายตรง เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เป็นมะเร็งลำไส้ มีโอกาสเกิดโรคสูงขึ้น หรือญาติที่เป็น 2 คนขึ้นไป ก็โอกาสสูงขึ้น
- กลุ่มที่เป็น Inflammatory bowel disease คือ ลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- ผู้ที่ได้รับการฉายแสงช่องท้องตั้งแต่วัยเด็ก
- ผู้ป่วย cystic fibrosis
นอกจากอาการถ่ายผิดปกติ ถ่ายมีเลือดแล้ว มีสัญญาณเตือนอะไรอีกไหม
หมอแนะนำว่าควรมาพบแพทย์เมื่อ คนไข้ที่ปกติถ่ายปกติอยู่ๆ กลายเป็นท้องผูกหรือท้องเสีย รู้สึกถ่ายไม่สุด หรือมีเลือดสีแดงหรือดำ อุจจาระมีลักษณะแคบลง มีการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าปวดท้องบ่อยๆ ปวดกด เป็นบ่อยๆ แบบนี้ ก็มีโอกาสเป็น หมอต้องดูตำแหน่งอาการด้วย
มีวิธีตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่กี่วิธี
โดยทั่วไปมีอยู่ 4‑5 วิธี
- ตรวจอุจจาระ: ข้อดีคือไม่ต้องระวังเรื่องอาหารหรือยา แนะนำทำทุกปี
- ส่องกล้องลำไส้ใหญ่: ถ้าไม่พบความผิดปกติ ตรวจซ้ำได้ทุก 10 ปี
- CT colonography: ตรวจด้วยเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ตรวจซ้ำทุก 5 ปี
- ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย: คล้ายข้อ 2 แต่เฉพาะลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ตรวจซ้ำทุก 5 ปี
- ตรวจผสม (ส่องกล้อง + ตรวจอุจจาระ): ตรวจซ้ำทุก 10 ปี
สำหรับผู้ไม่มีความเสี่ยงจากปัจจัยข้างต้น สามารถตรวจได้ตามความเหมาะสมเดิมแนะนำอายุ 50+ แต่ปี 2020 สมาคมส่องกล้องในอเมริกาแนะนำเริ่มที่ 45+ พบว่า ส่องกล้องตอน 45+ ลดมะเร็งได้ 3 คนต่อพันคน ลดการตาย 1 คนต่อพัน ดังนั้นแนะนำเริ่มที่อายุ 45 ปี
แล้วการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สำคัญยังไง
ข้อดีคือเห็นติ่งเนื้อในระยะเริ่มต้น คนไข้กังวลว่ากลัวเจ็บ หมอให้นอนหลับตอนส่อง 1‑2 ชั่วโมง ใช้เวลา 20‑30 นาที
ถ้าพบติ่งเนื้อต่ำกว่า 2 ซม. สามารถตัดชิ้นเนื้อได้เลย ถ้ามากกว่า 2 ซม. ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ หลังรักษาพักฟื้น แล้วแพทย์จะคุยรายละเอียดการรักษาเพิ่มเติม
สำหรับผู้สนใจตรวจสุขภาพลำไส้ใหญ่ ต้องเตรียมตัวอย่างไร
หมอแนะนำให้มาพบแพทย์ประเมินก่อน ตรวจ ASA Class ประเมินความแข็งแรง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มสุรา โรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน หัวใจ ปอด ตั้งครรภ์ มีการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือไม่ แนะนำดูแลลำไส้ด้วย
- กินครบหมู่
- ออกกำลังกาย
- เลี่ยงอ้วน ควบคุมน้ำตาล
- หลีกเลี่ยงเนื้อแดง/แปรรูป
- งดบุหรี่/สุรา
- กินผักผลไม้ เพิ่ม folic acid, วิตามินบี, แคลเซียม, นม/นมโปรดักต์
- ดื่มกาแฟช่วยลดมะเร็งลำไส้
ได้รับข้อมูลแน่นๆ ไปแล้ว เรื่องตรวจลำไส้ใหญ่ช่วยคัดกรองก่อนเป็นปัญหาใหญ่ โดยเฉพาะผู้ฟังอายุ 45+ ตรวจแบบเจาะจงแม้ไม่มีอาการ ก็ช่วยป้องกันอันตรายและลดความเสี่ยง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์พร้อมดูแลคุณด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วินิจฉัยแม่นยำและใส่ใจค่ะ
ขอขอบคุณ
นพ. จักรพันธ์ โอแสงธรรมนนท์
แพทย์ผู้ชำนาญด้านอายุรศาสตร์ โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 30 มิถุนายน 2568