bih.button.backtotop.text

วิธีเลือกกินอาหารหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต

Infographic-อาหารสำหรบผปวยหลงปลกถายไต_1200_TH.jpg


เมื่อปลูกถ่ายไตแล้วผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดํารงชีวิต การกินอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้การทํางานของไตที่ปลูกถ่ายมีประสิทธิภาพการทํางานเป็นปกติได้นานเท่าที่จะนานได้ ผู้ป่วยไตวายเมื่อได้รับการปลูกถ่ายไตมักเข้าใจผิดว่าสามารถกินอาหารได้ทุกอย่างตามสบายไม่ต้องควบคุมอาหารอีกต่อไป ในความเป็นจริงผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้เพิ่มขึ้นกว่าก่อนปลูกถ่ายไตแต่ก็ต้องเลือกกินเพื่อป้องกันไม่ให้ไตที่ปลูกถ่ายทํางานหนักเกินไปและดูแลเนื้อไตไม่ให้ถูกทําลายมากขึ้นจนเข้าสู่ไตวายเรื้อรังอีก จึงต้องเลือกกินที่เหมาะสมมีสารอาหารและพลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
 

อาหารและโภชนาการหลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยมานานก่อนจะได้รับการปลูกถ่ายไต นํ้าหนักตัวอาจลดลงอย่างมาก ดังนั้นในระยะการฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การกินอาหารมีส่วนสําคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ผู้ที่กินยาสเตียรอยด์มักมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มทําให้นํ้าหนักตัวเพิ่มมากขึ้นและอาจทําให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นได้

ดังนั้นผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตควรกินอาหารสุขภาพ (healthy diet) เพื่อควบคุมนํ้าหนักและควบคุมปริมาณนํ้าตาลในเลือดควบคู่ไปด้วยกัน
 
Food1.png

 

หลักสําคัญในการเลือกกินอาหารที่เหมาะสม

 
1. กินอาหารหลากหลายในแต่ละมื้อ ให้ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ให้ได้มากที่สุด อาทิ เช่น
  • ธัญพืช ข้าว แป้ง อาหารเส้นๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ควรเป็นข้าวกล้อง ขนมปังสีนํ้าตาล เพื่อเพิ่มเส้นใยอาหาร
  • นมพร่องมันเนยหรือผลิตภัณฑ์จากนมพร่องมันเนย
  • ผัก กินได้ไม่จํากัด ถ้าเป็นผักสดควรล้างให้สะอาด ในช่วงแรกหลังปลูกถ่ายไตควรเน้นผักต้มสุก
  • ผลไม้ ถ้าไม่มีภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงก็กินได้ตามปกติ
  • เนื้อสัตว์ไม่มัน ปลา เป็ดหรือไก่ไม่ติดหนัง กินในปริมาณที่เหมาะสม
2. เกลือ (โซเดียม) ควรจํากัดอาหารไม่เค็มมาก
  • คุมปริมาณซอสปรุงรส เกลือในขณะประกอบอาหาร ไม่ควรปรุงรสมากเกินไป
  • พยายามไม่เติมซอสหรือปรุงรสเพิ่มในขณะกิน
  • เลี่ยงการกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลืออยู่ในปริมาณมาก เช่น เฟรนช์ฟรายส์อาหารขบเคี้ยว
  • หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องอาหารแปรรูป เนื่องจากอาหารเหล่านี้มักมีส่วนประกอบของเกลืออยู่ แนะนําให้กินอาหารสดที่นํามาปรุงเอง
3. โพแทสเซียม ส่วนใหญ่กินอาหารได้โดยไม่ต้องจํากัดอีก ยกเว้นบางกรณีถ้ามีผลการตรวจเลือดพบว่ามีโพแทสเซียม
สูงควรคุมอาหารโพแทสเซียมด้วย
4. ดื่มนํ้าให้ได้ปริมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน
5. ไม่ควรกินอาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ อาหารทุกอย่างควรสุกสะอาด รวมถึงนํ้าดื่มเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากเชื้อโรคจริง เนื่องจากผู้ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องกินยากดภูมิโอกาสที่จะรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจึงเกิดได้ง่ายกว่าปกติ
6. หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารเพิ่ม เช่น การเติมนํ้าตาล และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีรสหวาน รวมถึงนํ้าผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนํ้าผลไม้เกรปฟรุ๊ตหรือผลไม้ตระกูลส้มโอเนื่องจากอาจทําให้ระดับยาบางชนิดเพิ่มสูงขึ้นจนเกิดอันตรายในร่างกาย
7. ควรเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เช่น สุรา ไวน์แดง
 
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs