bih.button.backtotop.text

ตุ่มบวมแดงบริเวณทวารหนัก รักษาได้ ไม่ต้องอายหมอ

โรคฝีคัณฑสูตรคืออะไร

ฝีคัณฑสูตร หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ ฝีที่ก้น หรือฝีขอบทวาร โดยฝีคัณฑสูตร คือฝีชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นรอบรูทวารหนัก และแก้มก้น โดยมีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดง และในบางรายอาจมีหนองร่วมด้วย

 

สาเหตุของฝีคัณฑสูตร

โรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ อุดตัน หรืออักเสบจากแบคทีเรียบริเวณต่อมผลิตเมือก ที่มีของเสียสะสมจนเกิดเป็นหนอง เมื่อหนองมีปริมาณที่มากขึ้น ก็จะทะลุออกมาที่ชั้นผิวหนังบริเวณรอบทวารหนัก

 

อาการของฝีคัณฑสูตร

  • มีอาการบวมบริเวณทวารหนักหรือแก้มก้น และเจ็บรอบ ๆ หรือภายในรูทวารหนักตลอดเวลา
  • มีอาการคันบริเวณรอบทวารหนัก หรือบริเวณผิวหนังโดยรอบ
  • มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมาจากทวารหนัก หรือเมื่อถ่ายอุจจาระแล้วมีหนองปนออกมาในระยะเรื้อรัง
  • มีอาการไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน

 

ฝีคัณฑสูตรกับริดสีดวง แตกต่างกันอย่างไร ?

ทั้งสองโรคนี้อาจมีอาการคล้ายกัน คือผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บบริเวณทวารหนัก หรือถ่ายมีเลือดปน แต่โรคฝีคัณฑสูตรไม่สามารถหายเองได้เหมือนริดสีดวง ฉะนั้นหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง และได้รับการรักษาโดยเร็ว

 

วิธีการรักษา

การรักษาจะมุ่งเน้นให้การหายขาดมากที่สุดโดยที่ไม่ทำลายหูรูดทวารหนักหรือทำลายน้อยที่สุดเพื่อให้ไม่มีความผิดปกติของการควบคุมการกลั้นอุจจาระหรือผายลม  การผ่าตัดรักษานั้นทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งแพทย์จะประเมินวิธีการรักษาหรือการผ่าตัดที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคล โดยสามารถแบ่งการผ่าตัดออกเป็น 2 วิธีหลัก ดังนี้
 
  1. การผ่าตัดเปิดฝีคัณฑสูตร (Fistulotomy or fistulectomy) วิธีนี้เหมาะสำหรับฝีคัณฑสูตรชนิดที่อยู่ตื้น ผ่านหูรูดไม่มาก ซึ่งหลังทำการผ่าตัดมักจะไม่มีปัญหากับการควบคุมหูรูด
  2. การผ่าตัดโดยการเก็บรักษาหูรูด หรือ LIFT (Ligation of intersphincteric fistula tract technique) วิธีนี้เป็นการผ่าตัดที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันโดยเฉพาะในรายที่ฝีคัณฑสูตรผ่านกล้ามเนื้อหูรูดค่อนข้างลึก เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ตัดหูรูด ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มั่นใจได้ว่าหลังการผ่าตัดจะสามารถกลั้นอุจจาระได้ดังเดิม



วิธีการป้องกัน

เนื่องจากโรคฝีคัณฑสูตรเป็นโรคที่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ฉะนั้นจึงยังไม่มีวิธีป้องกัน


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs