bih.button.backtotop.text

ปวดท้อง ท้องเสีย อาการธรรมดาที่อาจไม่ธรรมดา

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่คุณไม่คุ้นเคยส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพมากกว่าที่คิด

ความผิดปกตินานัปการที่เกิดกับระบบทางเดินอาหารของเราแทบจะทุกเมื่อเชื่อวันนั้น อาจเป็นเรื่องที่ใครหลายคนคุ้นชินจนกระทั่งไม่เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า อาการทั่ว ๆ ไป อาทิ ปวดท้อง ท้องเสียที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งนั้น อาจเกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายนอก เป็นต้นว่า การติดเชื้อ แพ้อาหารที่รับประทาน และปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติของเยื่อบุผนังลำไส้ เนื้องอกในลำไส้ หากโชคดี ผู้ป่วยบางรายอาจอาการดีขึ้นได้เอง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่อาการจะดีขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็กลับมาเป็นอีกในเวลาไม่นาน จนอาการดังกล่าวกลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินชีวิต


 เรากำลังพูดถึงโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือ Inflammatory Bowel Diseases (IBD) ซึ่งหลายคนอาจเคยได้ยินอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ทราบชัดเจนนักว่าคืออะไร มีอาการอย่างไร รุนแรงแค่ไหน และจะส่งผลอย่างไรบ้างกับการดำเนินชีวิต
            
ฉบับนี้คุยกับ นพ. สิน อนุราษฎร์ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์กลุ่ม (Group Medical Director) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินอาหารและตับ ซึ่งผ่านประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยทั้งชาวไทยและต่างประเทศมากว่า 30 ปี และมีความคุ้นเคยกับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเป็นอย่างดีจากการให้การรักษาผู้ป่วยหลายปีในสหรัฐอเมริกา
 

โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังคืออะไร


Inflammatory Bowel Diseases หรือ IBD ยังไม่มีชื่อไทยอย่างเป็นทางการ” นพ. สินเริ่มอธิบาย “แต่พิจารณาจากอาการของโรคแล้วเราเรียกกันรวม ๆ ว่าลำไส้อักเสบเรื้อรัง เนื่องจากมีอาการแสดงคล้ายคลึงกับโรคลำไส้อักเสบชนิดเฉียบพลันที่มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสปรสิต หรือพยาธิ์ซึ่งรักษาหายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ”

สำหรับโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นได้ทั้งในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กโดยสาเหตุของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และจะมีโรคที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 โรค คือ Crohn’s Disease (CD) และ Ulcerative Colitis (UC) “ทั้งสองโรคนี้พบได้บ่อยในชาวตะวันตกและชาวตะวันออกกลาง ส่วนชาวเอเชียก็พบได้บ้างแต่ยังน้อยอยู่มาก อีกทั้งยังไม่ค่อยมีการวินิจฉัยมากนัก อาจจะเนื่องด้วยความรู้ที่ยังมีอยู่อย่างจำกัดและความเป็นไปได้ที่ว่าโรคอาจมีอาการแสดงแตกต่างออกไปในชาวเอเชีย นพ. สินกล่าว ”
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs