หลายคนทราบดีว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์และขาดการออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ยังคงมีอีกหลายแง่มุมที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบ และนี่คือบางส่วนของคำถามที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ
เคยได้ยินว่า ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
แม้จะยังไม่มีผลการวิจัยชี้ชัดว่า ความเครียดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจโดยตรง แต่ก็ทราบกันว่า ความเครียดส่งผลต่อปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ นั่นคือไปเพิ่มระดับความดันเลือดและคอเลสเตอรอลอันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ
เมื่อเกิดความเครียด ต่อมไฮโปทาลามัส ซึ่งอยู่ใกล้กับสมองจะผลิตฮอร์โมนออกมา 2 ชนิด ได้แก่
ฮอร์โมนอะดรีนาลีน และ
คอร์ติซอล ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว เลือดสูบฉีดมากกว่าปกติ และยังทำให้ตับผลิตคอเลสเตอรอลเพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งคอเลสเตอรอลที่มากเกินไปคือตัวการสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดอุดตันและนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
เช่นเดียวกับคอร์ติซอลซึ่งมีผลทำให้ร่างกายผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นและเมื่อไม่ได้ถูกนำไปใช้ ก็จะสะสมเป็นไตรกลีเซอไรด์หรือกรดไขมันแบบอื่นบริเวณหน้าท้อง ผลก็คือ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและ
โรคเบาหวาน
นอกจากนี้ เมื่อร่างกายเกิดความเครียดยังทำให้ความดันเลือดสูงแม้จะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ก็ทำความเสียหายแก่หลอดเลือดหัวใจและไตเช่นเดียวกันกับผู้ที่เป็น
โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็คือ ลดความเครียดนั่นเอง
ปกติทานอาหารประเภทไขมันต่ำอยู่แล้ว แต่เพื่อนแนะนำให้ทานอาหารที่มีไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย ไม่ทราบว่าไขมันที่มี ประโยชน์ต่อร่างกายคืออะไร และควรทานให้มากขึ้นหรือไม่?
อาหารส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบเป็นไขมันไม่ประเภทใดก็ประเภทหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันแปรรูป ซึ่งไขมันเหล่านี้มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายรวมอยู่ด้วย ดังนั้นคุณไม่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอย่างสิ้นเชิง แต่ควรเลือกรับประทานไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่พอดี
ไขมันที่มีประโยชน์ ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ช่วยลด
คอเลสเตอรอลที่มีความหนาแน่นน้อย (LDL) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตัน
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวพบได้ในน้ำมันมะกอก ถั่ว และอะโวคาโด ส่วนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนพบได้ในน้ำมันพืชอย่างน้ำมันดอกทานตะวัน ในข้าวโพด ถั่วเหลือง และน้ำมันโอเมก้า-3 จากปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริ่ง
อาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นสัญญาณของโรคหัวใจเสมอไปหรือไม่
เมื่อเกิดอาการเจ็บหน้าอก คนส่วนใหญ่มักนึกถึงโรคหัวใจเป็นอย่างแรก แต่แท้จริงแล้ว อาการเจ็บหน้าอกเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งอาจเกิดจาก
โรคหัวใจ อย่าง
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและ
หัวใจวาย ขณะเดียวกัน ก็อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งของอาการปวดแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่เนื่องมาจากกรดในกระเพาะอาหาร หรือเกิดจากโรควิตกกังวลโรคหอบ และอื่น ๆ
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากอาการเจ็บหน้าอกเพิ่มความรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมต่อไปได้ตามปกติ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: