bih.button.backtotop.text

ภาวะสมองเสื่อมตามวัย ความท้าทายของ เวชศาสตร์การฟื้นฟู และป้องกัน

เราพบว่ารูปแบบการเสื่อมถอยของสมองของคนในวัย 26 ถึง 40 ปีนั้นไม่แตกต่างกันนัก สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ ความเสื่อมถอยของสมองในวัยกลางคนอายุระหว่าง 40 ถึง 70 ปี กลับมีอัตราแปรผันสูงกว่าวัยอื่น ๆ คือ บ้างก็มียีนค่อนไปทางคนอายุน้อย บ้างก็ค่อนไปทางอายุมาก ขณะที่แน่นอนว่าเมื่อถึงวัย 73 ปีไปแล้ว สมองจะถูกทำลายมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงของสมอง

เราพบว่ารูปแบบการเสื่อมถอยของสมองของคนในวัย 26 ถึง 40 ปีนั้นไม่แตกต่างกันนัก สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ ความเสื่อมถอยของสมองในวัยกลางคนอายุระหว่าง 40 ถึง 70 ปี กลับมีอัตราแปรผันสูงกว่าวัยอื่น ๆ คือ บ้างก็มียีนค่อนไปทางคนอายุน้อย บ้างก็ค่อนไปทางอายุมาก ขณะที่แน่นอนว่าเมื่อถึงวัย 73 ปีไปแล้ว สมองจะถูกทำลายมากขึ้น

สาเหตุของเรื่องนี้อยู่ที่พันธุกรรมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของยีนแห่งความชรานั่นเอง ลองมาดูกรณีโรคอัลไซเมอร์ ไวทัลไลฟ์จะทำการศึกษายีนเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หากพบว่ามีความเสี่ยง เราก็อาจลดความเสี่ยงหรือชะลอการเกิดโรคได้โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต และการรับประทานอาหารโดยเสริมวิตามินที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิ วิตามินอี ซึ่งช่วยป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการทำลายตัวเองของเซลล์ และมลภาวะ

ลายพิมพ์รหัสพันธุกรรมแสดงให้เห็นว่า วิตามินต้านอนุมูลอิสระ การจำกัดปริมาณแคลอรี่ และการรับประทานยาบางชนิดช่วยเสริมสร้างสุขภาพของสมองของคนวัยกลางคน และผู้สูงอายุได้ การเก็บตัวอย่าง และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการศึกษายีนของสมองได้รับพัฒนาควบคู่กันไป จนถึงจุดที่สามารถตรวจสอบการทำงานของยีนนับพันได้ภายในเวลาไม่นาน

เทคโนโลยีทำให้เรามองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในแง่ลบของยีนทั้งสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และการจดจำ กลุ่มที่สอง ได้แก่ กลุ่มยีนซึ่งควบคุมพลังงาน และส่งผ่านโปรตีนไปยังเซลล์ ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างปกติ และช่วยลดความเสื่อมของเซลล์สมองลง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับยีนเหล่านี้จะเริ่มปรากฏให้เห็นในวัย 40 เป็นต้นไป 
 

ความชราเริ่มต้นเมื่อแรกเกิด

ร่างกายและความชรามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา นับจากวันแรกที่ปฏิสนธิ ขณะที่ตัวอ่อนเริ่มพัฒนาสมอง เซลล์ประสาทก็ถูกพัฒนาขึ้นด้วยในอัตราประมาณ 5 หมื่นเซลล์ต่อวินาที เพียงแค่ช่วงเวลาก่อนคลอด เซลล์เหล่านั้นก็ได้ตายลงไปกว่าร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าการสูญเสียเซลล์ประสาทในวัยชราเสียอีก อย่างไรก็ตาม มีสเตมเซลล์เป็นพันล้านเซลล์ในโพรงสมองส่วนที่สามซึ่งรอการกระตุ้นให้มาแทนที่เซลล์ประสาทที่ตายแล้ว กิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การอ่านหนังสือ การสื่อสารกับคนอื่น ๆ การเล่นเกมอักษรไขว้ และเกมนินเทนโด้ สามารถกระตุ้นเซลล์เหล่านี้ให้พัฒนามาแทนที่เซลล์ที่สูญเสียไปได้

ในหลาย ๆ กรณี การเกษียณอายุจากการทำงานเป็นตัวเร่งกระบวนการให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น เนื่องจากสมองไม่ได้รับการกระตุ้นด้วยกิจกรรมที่ใช้สมอง ดังนี้แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้แก่ การกระตุ้นสมองอยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในวัยทำงาน หรือวัยเกษียณ
 

ความสำคัญของอาหาร

สิ่งสำคัญรองลงมา ได้แก่ อาหาร สมองต้องการโปรตีนเพื่อพัฒนาเซลล์ประสาท และกิ่งก้านตั้งแต่วัยทารกไปจนตลอดชีวิต สมองชั้นนอกสุดประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทนับล้าน โดยมีกิ่งก้าน (Dendrite) หรือ “แขนงประสาท” แตกย่อยออกมาทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทอื่น ๆ และจากอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ส่วนประกอบอีกส่วนของเซลล์ประสาท ได้แก่ เยื่อไมอีลิน ซึ่งมีลักษณะเป็นไขสีขาวเคลือบอยู่บนเส้นใยประสาท (Axon) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบประสาท ปริมาณของเยื่อไมอีลินมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยประสาท

คุณคงเคยได้ยินโรค ALS หรือ Amyotrophic Lateral Sclerosis ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อโรค Lou Gehrig และ Multiple Sclerosis หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเยื่อไมอีลินอันเนื่องมาจากการปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการอักเสบที่ถูกกระตุ้นโดยภูมิคุ้มกัน การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้นักวิจัยต่างกังวลกันว่า เด็ก ๆ มีการเสื่อมสลายของเยื่อไมอีลินกันมากขึ้น ทั้งนี้น่าจะมาจากกระแสความนิยมในการบริโภคอาหารไขมันต่ำนั่นเอง
 

โคลีน และสารต้านอนุมูลอิสระ

โคลีน เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน พบมากใน ถั่วเหลือง ไข่แดง และถั่วลิสง ส่วนวิตามินบี เป็นสารที่ช่วยบำรุงประสาทโดยวิตามินบี 6 เสริมการดูดซึมกรดอะมิโนซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของโปรตีน ทั้งยังจำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทด้วยเช่นเดียวกัน

สำหรับสารอาหารอีกตัวหนึ่งที่ช่วยบำรุงสมอง ได้แก่ สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี วิตามินอี ซึ่งพบมากในบลูเบอร์รี่ และสตรอเบอร์รี่ แต่น่าเสียดายที่อาหารบำรุงสมองเหล่านี้มักจะมีสารพิษหรือสิ่งปลอมปนอยู่ด้วย ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ที่ไวทัลไลฟ์ เรามีเทคโนโลยีชั้นนำในการวัด และสามารถจัดโปรแกรมวิตามินเสริมที่เหมาะสมสำหรับคุณเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเพียงพอ
 

ออกกำลังกาย และกำลังสมอง

ปัจจัยสำคัญประการที่สามของโปรแกรมต่อต้านความเสื่อมของสมอง ได้แก่ การออกกำลังเป็นประจำทุกวัน เมื่อคุณออกกำลังกาย สมองก็พลอยได้รับอานิสงส์ไปด้วย ไวทัลไลฟ์มีโปรแกรมออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสมรรถภาพของร่างกาย และสมองควบคู่กันไป โดยการออกกำลังกายเป็นการพัฒนามวลและการทำงานของกล้ามเนื้อ พร้อมทั้งช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคสำคัญ ๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความอ้วน และโรคซึมเศร้า

ขณะเดียวกันก็ควรออกกำลังสมองด้วยการเพิ่มความหลากหลายให้แก่กิจวัตรประจำวัน เช่น เพิ่มความเฉียบคมแก่ประสาทสัมผัสด้วยการไปทำงานโดยใช้เส้นทางใหม่ หลับตาใส่เสื้อผ้า และพยายามอ่านปากแทนที่จะฟังด้วยหู
ใส่ใจ ให้สมองได้รับอาหารอย่างพอเพียง
ประการสุดท้าย ควรดูแลใส่ใจสมองด้วยการให้ความรัก และมีปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะสารสื่อประสาทมีหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลในสมองและกระตุ้นการหลั่งสารที่จำเป็น อาทิ เซโรโทนิน โดพามีน จะลดระดับลงเมื่ออายุมากขึ้น ความรักและกำลังใจจะช่วยให้เราผ่านพ้นความท้าทายในชีวิตที่เกิดขึ้นแต่ละวันได้

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม และกระตุ้นการเกิดใหม่ของเส้นใยประสาท แขนงประสาท และกิ่งก้านประสาททำได้โดยการรักษาสุขภาพ ใส่ใจทั้งเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย สร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง และมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น เพราะกระบวนการแห่งความชราของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน โปรแกรมการรักษาของไวทัลไลฟ์จึงได้รับการออกแบบโดยเฉพาะเพื่อความต้องการที่แตกต่างกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs