bih.button.backtotop.text

ลึกไม่ลับกับปัญหาสุขภาพเพศหญิง

10 มกราคม 2550

เมื่อใกล้ถึงวันนั้นของเดือนผู้หญิงเกือบทุกคนจะทราบได้จากอาการผิดปกติ เช่น ท้องบวม และเจ็บเต้านม แต่ถึงอย่างนั้นหลายคนก็ยังไม่กล้าที่จะพูดถึงปัญหานี้และปัญหาสุขภาพเพศหญิงอื่นๆกับใคร แม้แต่กับแพทย์การทำความเข้าใจกับอาการต่างๆ จึงเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยให้ผู้หญิงคลายความกังวลลึกๆในใจลงได้

 

รู้จักกับสูติ - นรีแพทย์

หลายคนอาจคิดถึงสูติ-นรีแพทย์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลคุณผู้หญิงในยามตั้งครรภ์ อันที่จริงการแพทย์สาขานี้ยังครอบคลุมเรื่องสุขภาพ การเจริญพันธุ์ของผู้หญิงอย่างกว้างขวาง อาทิ
  • การเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์
  • การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
  • ภาวะมีบุตรยาก รอบเดือน และสุขภาพการเจริญพันธุ์
  • ตรวจคัดกรอง รักษา และป้องกันมะเร็งปากมดลูก และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์
  • ตรวจรักษาความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์
  • อาการเจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • อาการต่าง ๆ บริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น ปวดเรื้อรัง และ ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
 

รอบเดือนและภาวะหมดประจำเดือน

การมีรอบเดือนที่ปกติของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันเสมอไป พญ .เสาวนีย์ การปลื้มจิตต์ สูติ -นรีแพทย์อธิบายว่า ส่วนมาก รอบเดือนจะกินเวลา ประมาณ 1 ถึง 7 วัน โดยมีระยะห่างระหว่างรอบประมาณ 20 วัน แต่สำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งระดับฮอร์โมนของไข่เปลี่ยนแปลงไป รอบเดือนก็อาจมาไม่สม่ำเสมอได้บ่อยขึ้น

และสิ่งที่ควบคู่มากับรอบเดือนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงเกือบทุกรายคงหนีไม่พ้น อาการก่อนมีรอบเดือน (PMS) ที่เป็นผลมาจากการมีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในระดับสูง ส่งผลให้ผู้หญิงมีอาการเจ็บปวดทั้งก่อนและขณะมีรอบเดือน รู้สึกอ่อนเพลีย อารมณ์ขุ่นมัว และนอนไม่หลับ ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ แต่หากอาการทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็จำเป็นต้อง ปรึกษาแพทย์

ภาวะหมดประจำเดือนมักเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 40 ถึง 45 ปี ซึ่งส่วนมากแล้วจะมีอาการเจ็บปวด ไม่สบายต่าง ๆ ร่วมกันหลายชนิด เช่น ร้อนวูบวาบ ช่องคลอดแห้ง ความต้องการทางเพศลดลง กรณีร้ายแรง อาจรวมถึงการสูญเสียมวลกระดูกอย่างถาวร ซึ่งแพทย์จะพิจารณา ให้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อลดผลกระทบ แต่จากงานวิจัยชิ้นใหม่ ๆ เชื่อว่า การให้ฮอร์โมนทดแทนมีความเกี่ยวพันกับอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านม

การให้ฮอร์โมนทดแทนไม่ควรนานเกิน 1 ถึง 3 ปี” พญ. เสาวนีย์กล่าว “ นอกนั้นก็จะเป็นการรักษาตามอาการ เช่น รับประทานแคลเซียม เสริมในผู้ที่มีอาการกระดูกพรุน ใช้ สารหล่อลื่นในผู้ที่มีอาการช่องคลอดแห้ง รวมทั้งให้รับประทานอาหารจำพวกถั่วเหลืองซึ่งอุดมไปด้วยฮอร์โมน เอสโตรเจนจากธรรมชาติ”

ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายจะประสบกับภาวะหมดประจำเดือนที่ทรมานกว่าผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทางที่ดี คุณควรออกกำลัง เป็นประจำเพื่อลดความรุนแรงของอาการต่าง ๆ ลง และควรหมั่น จดบันทึกเพื่อติดตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับรอบเดือนซึ่งอาจเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของปัญหาสุขภาพบางประการ

“ รอบเดือน เป็นดัชนีชี้วัดสุขภาพโดยรวมของผู้หญิงเรา และคงไม่มี ใครที่จะทราบถึงสภาวะความเป็นไปได้ดีเท่ากับเจ้าตัวเอง” พญ. เสาวนีย์กล่าว

ถ้าคุณสังเกตว่ารอบเดือนของคุณผิดปกติไป อย่าเก็บไว้กับตัวเอง รีบปรึกษาแพทย์เพื่อขจัดความกังวลออกไปจะดีที่สุด
 

ปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง

ผู้หญิงหลาย ๆ คนคิดว่า อาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่อง เล็กเกินกว่าจะไปพบแพทย์ แต่ ความจริงแล้ว ความปวดต่าง ๆ นั้นรักษาได้และคุณไม่จำเป็นต้องทนอยู่คนเดียว

จากการศึกษาพบว่า ในช่วง อายุ 18 ถึง 50 ปี ผู้หญิงประมาณ ร้อยละ 15 มีอาการปวดบริเวณ อุ้งเชิงกราน แต่การวินิจฉัยสาเหตุ ที่แน่นอนนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะ อาการปวดคงจะมีต่อไปแม้จะตรวจไม่พบความผิดปกติใด ๆ เลยก็ตาม

ในกรณีที่ปวดรุนแรงจนไม่อาจดำเนินชีวิตได้อย่างปกติเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือนถือว่าเป็นอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง ซึ่งงานวิจัย หลายชิ้นระบุว่าอาหารหวานและเค็มจัดอาจก่อให้เกิดการอักเสบซึ่งส่งผลให้ปวดอุ้งเชิงกราน บางรายอาจมาจากการแพ้อาหารบางชนิด เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพดและยีสต์ การปรับเปลี่ยนอาหารและการ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดโอกาสในการปวดอุ้งเชิงกรานได้

“ การออกกำลังกายต้องทำต่อเนื่องประมาณ 20 ถึง 30 นาที เพื่อ ให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นราวร้อยละ 20 แค่ทำควา มสะอาดบ้าน หรือไปเดิน ซื้อของยังไม่ถือว่าเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่เพียง ช่วยคลายเครียดอย่างได้ผลเท่านั้น แต่ยังช่วยเยียวยาอาการปวด ประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ” พญ. เสาวนีย์กล่าว
 

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่

ผู้หญิงหลายรายต้องเผชิญกับภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อ ระดับฮอร์โมนสูงขึ้น เนื้อเยื่อที่ควรจะก่อตัวที่มดลูกกลับไปก่อตัวที่อื่น เช่น บริเวณนอกมดลูก ในลำไส้ ที่รังไข่ หรือท่อนำไข่ สาเหตุของการเกิด ยังไม่แน่ชัดแต่จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้หญิงถึงวัยหมดประจำเดือนและ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง อาการของเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ก็มัก จะลดลงด้วย

เมื่อมีเนื้อเยื่อผิดปกติก่อตัวขึ้น ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวด มีรอบเดือน ปริมาณมาก เจ็บปวดและมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออก ขณะปัสสาวะและอุจจาระ ในบางรายอาจก่อให้เกิดภาวะมีบุตรยาก

ในการวินิจฉัย แพทย์มีทางเลือกหลายวิธี “ การวินิจฉัยด้วยอัลตร้า-ซาวด์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เอกซเรย์ภาพตัดขวาง การตรวจมะเร็งปากมดลูก และอุ้งเชิงกรานมีประโยชน์มาก นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ นับเซลล์เม็ดเลือดแดง วัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจการทำงานของไต รวมถึงมีการซักประวัติครอบครัว เนื่องจากบางกรณี ภาวะเหล่านี้มีการ ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่นกัน” พญ. เสาวนีย์ อธิบาย

แม้จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่แพทย์จะสั่งยาห้ามเลือดและแก้ปวดให้แก่ ผู้ป่วยเพื่อบรรเทาอาการ ยาเม็ดคุมกำเนิดก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ได้ ผลดีในการลดอาการปวดและลดการก่อตัวของเนื้อเยื่อ สำหรับผู้ที่กำลัง วางแผนมีบุตร แพทย์มักแนะนำให้ ผ่าตัด ซึ่งปัจจุบันการผ่าตัดด้วยการ ส่องกล้องก็เป็นวิธีที่ได้ผลดีในการตัดเนื้องอก หรือเนื้อเยื่อส่วนเกินออก

ในรายที่ภาวะเยื่อบุมดลูกเจริญผิดปกติจนก่อให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง แพทย์อาจต้องตัด มดลูกและ รังไข่ออกซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างระมัด-ระวัง เนื่องจากการผ่าตัดเอามดลูก ออกนั้น ไม่เพียงทำให้ไม่สามารถมีบุตร ได้เท่านั้นแต่ยังทำให้หมดประจำเดือนก่อนเวลาอันควรอีกด้วย

 

การติดเชื้อที่อวัยวะเพศ

การติดเชื้อที่อวัยวะเพศนั้นเกิดขึ้นได้ง่าย แต่ก็รักษาได้ ง่ายเช่นกันเมื่อสังเกตพบอาการผิดปกติ เช่น ตกขาวมีกลิ่นเหม็น คันที่อวัยวะเพศ เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือแสบเวลาขับปัสสาวะ แสดงว่าคุณอาจ ติดเชื้อเข้าแล้ว และต้องรีบปรึกษาแพทย์

การติดเชื้อที่พบมากที่สุดได้แก่ เชื้อราในช่องคลอด (Candida or Yeast Infection) และช่องคลอดอักเสบจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็น ผลมาจากการติดเชื้อหรือการเสียสมดุลของแบคทีเรียที่อวัยวะเพศส่วนสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การรักษาสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม สวมกางเกง คับเกินไป สบู่หรือผงซักฟอก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งโดยทั่วไป แล้วสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา

แม้การติดเชื้อจากสาเหตุต่าง ๆ กันจะมีอาการแสดงเหมือนกัน แต่การรักษาย่อมแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ที่มีอาการน่าสงสัยว่าจะติดเชื้อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจแต่เนิ่น ๆ เพราะแม้การติดเชื้อที่ อวัยวะเพศจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่การติดเชื้อบางชนิดมีอันตรา ยต่อหญิงมีครรภ์และทารกในครรภ์ การพบแพทย์ทันทีที่มีอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็น อย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงมีครรภ์

 

ปัญหาการมีบุตรยาก

สำหรับผู้หญิงบางคน การมีบุตรไม่ใช่เรื่องง่ายแม้จะอยู่ในช่วงต้นของ วัยเจริญพันธุ์และไม่มีปัญหาทางสุขภาพใด ๆ มีการประมาณการกัน ว่าคู่แต่งงาน 1 ใน 10 คู่ต้องประสบกับปัญหามีบุตรยากซึ่งหมายถึง การไม่อาจตั้งครรภ์ได้หลังจากพยายามมาเป็นเวลา 1 ปี ส่วนสาเหตุนั้น มีหลายประการ ซึ่งรวมทั้งความสมบูรณ์แข็งแรงของฝ่ายชายด้วย

สูติ-นรีแพทย์จะวินิจฉัยภาวะมีบุตรยากของคู่สมรสร่วมกับการซักประวัติครอบครัวเพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยาก บางครั้ง ปัญหาเกี่ยวกับ การเจริญพันธุ์อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม

หากคุณประสบกับภาวะมีบุตรยาก วิธีที่ดีที่สุดคือไปพบแพทย์ พร้อมคู่สมรสเพื่อประเมินสถานการณ์และรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม

 

ใส่ใจในสุขภาพ

พญ. เสาวนีย์ให้ข้อสังเกตว่าการที่รอบเดือนขาดไปสักครั้งหรือสองครั้งในหนึ่งปีหรือมีปริมาณกว่าปกตินั้นไม่ใช่ปัญหา “ แต่การที่รอบเดือนขาดไปถึงสองรอบติดต่อกันอาจเป็นปัญหาได้ โดยส่วนใหญ่เป็น ความผิดปกติของการตกไข่ ซึ่งผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ในอนาคตควร ใส่ใจมากเป็นพิเศษ”

นี่คืออีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรไปพบแพทย์และรับการตรวจเป็นประจำทุกปี เพื่อว่าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะตรวจพบได้โดยเร็ว และการรักษาก็จะทำได้ง่ายขึ้น

 

สุขภาพดี...ทุกวัยการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยคุณผู้หญิงลดความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพได้

  • มะเร็งเต้านม ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป คุณควร ตรวจมะเร็งเต้านมทุก ๆ 1 ถึง 2 ปีเพื่อติดตาม ดูอุบัติการณ์ของมะเร็งที่อาจเกิดขึ้น
  • มะเร็งปากมดลูก การตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรทำทุก ๆ 1 ถึง 3 ปี สำหรับคุณที่ผ่านการมี เพศสัมพันธ์แล้วและผู้ที่อายุเกินกว่า 21 ปี
  • โรคอ้วน คำนวณค่าดัชนีมวลกาย ( BMI) ของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินระดับของไขมันในร่างกาย
  • คอเลสเตอรอล ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจ วัดคอเลสเตอรอลเป็นประจำทุกปี หรือถ้าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคหัวใจ ก็สามารถ ขอรับการตรวจจากแพทย์ได้ทันที
  • ความดันโลหิต ควรวัดความดันโลหิตอย่างน้อย ทุก ๆ 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นหากคุณมีอายุ มากขึ้น ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำสำหรับ การตรวจที่เหมาะสมสำหรับคุณ
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรเริ่มตรวจเมื่ออายุ 50 ปี แต่จะตรวจบ่อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าแพทย์จะ แนะนำให้คุณตรวจอะไร
  • โรคเบาหวาน ถ้าคุณมีปัญหาเรื่องความดันโลหิต หรือคอเลสเตอรอลสูง ควรตรวจเบาหวานควบคู่ ไปด้วย 
  • กระดูกพรุน เมื่ออายุ 65 ปีควรรับการตรวจวัด ความหนาแน่นของกระดูก ส่วนผู้ที่อายุยังน้อย และมีน้ำหนักไม่ถึง 75 กิโลกรัม ก็ อาจแจ้งแก่แพทย์และรับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกได้เช่นกัน

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs