bih.button.backtotop.text

โรคชามือจากโพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท

เป็นภาวะอาการชามือที่พบบ่อยที่สุดในมือ เป็นภาวะที่แรงดันในโพรงฝ่ามือช่อง carpal tunnel สูงและกดทับเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อนิ้วโป้งและประสาทการรับรู้ของผิวหนังบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้นิ้วกลางและนิ้วนางครึ่งนิ้ว
 

สาเหตุ 

การใช้งานทำงานซ้ำๆ หรือการกำมือแน่นๆนานๆ การใช้งานที่ต้องงอข้อมือในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน
พบบ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิส ใช้คอมพิวเตอร์หรือสมาร์โฟนนานๆ  ทำงานบ้าน งานสวน ยกของหนัก คนอ้วน ผู้หญิงพบบ่อยกว่าผู้ชาย เบาหวาน เป็นต้น

 

อาการ

มักมาด้วยอาการ ชามือ โดยชามากบริเวณ นิ้วชี้ กลาง บางราย อาจชาทั้งมือ เป็นมากขึ้นอย่างช้าๆ ระยะแรก อาจชาเมื่อใช้มือทำงานนานๆ ต่อมาเมื่อเข้าระยะที่ 2 จะชามือตลอดเวลา และชามากขึ้นตอนกลางคืน และตอนตื่นนอน เมื่อเป็นมากขึ้นจะชาและปวดจนนอนไม่ได้ นิ้วโป้งเริ่มอ่อนแรง และ เห็นกล้ามเนื้อโคนนิ้วโป้งเริ่มฝ่อลีบเล็กลง

 

การวินิจฉัย

เมื่อพบแพทย์ซักประวัติและทำการตรวจร่างกาย และวินิจฉัยแยกโรคจาก ภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท ร่างแหเส้นประสาทแขนอักเสบ เส้นประสาทแขนกดทับที่ศอก ซึ่งควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง และได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปเมื่อสงสัยภาวะโรคนี้ ก็จะทำการส่งตรวจคลื่นไฟฟ้าเส้นประสาท เป็นการยืนยันวินิจฉัย เมื่อมีอาการ เข้าสู่ระยะที่เป็นมากขึ้น

 

การรักษา

  1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด ได้แก่ การทานยา การแนะนำให้พักการใช้งานมือ กำมือจับชิ้นงานหลวมการบริหารโดยการยืดเอ็นมือและข้อมือ การใส่สนับข้อมือ มักทำในผู้ป่วยระยะเริ่มแรก
  2. การทำกายภาพบำบัด อาจช่วยทำให้ดีขึ้นในบางราย
  3. การผ่าตัด มักทำผ่าตัดในรายที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือในรายที่อาการมากขึ้น จนชาตลอดเวลา ชามือจนปวดกลางคืน หรือเป็นมากกว่า 3 เดือน และอาการกล้ามเนื้อโคนนิ้วโป้งฝ่อลีบลง รวมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้ามีการยืนยันการวินิจฉัย  การผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล เปิดแผลเล็ก ประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อตัดพังผืดให้โพรงผ่ามือเปิดกว้างออก เพื่อ ขยายช่องเส้นประสาท  ก็จะทำให้เส้นประสาทกลับมาทำงานได้ปกติ และอาการดีขึ้น

เรียบเรียงโดย นพ. สุรชัย รัตนเสรีเกียรติ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ, การผ่าตัดมือ 


 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs