bih.button.backtotop.text

กลับสู่ชีวิตปกติได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดหมอนรองกระดูกผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

ทุกวันนี้การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องเอ็นโดสโคปกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ไวมากหลังการผ่าตัด วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังว่ามันเป็นอย่างไร และมันต่างจากการผ่าตัดในอดีตอย่างไรนะครับ

 

กล้องเอ็นโดสโคปคืออะไร 

กล้องเอ็นโคสโคปมีลักษณะเหมือนท่อยาวๆ ที่มีเลนส์ซึ่งเปรียบเสมือนตาของศัลยแพทย์อยู่ส่วนปลาย ในท่อนี้เองก็จะมีช่องเล็กๆ สำหรับให้หมอสอดเครื่องมือเข้าไปคีบหรือตัดหมอนรองกระดูกส่วนเกินอยู่ด้วย

กล้องเอ็นโดสโคปมีลักษณะคล้ายท่อยาวๆ สอดเข้าไปในตัวของผู้ป่วย
 
Img2362-(1).jpg

กล้องเอ็นโดสโคปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ​ 8 มิลลิเมตร และจะมีเลนส์ซึ่งเปรียบเสมือนตาของศัลยแพทย์อยู่ปลาย ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนจากภายในตัวผู้ป่วย

 

size_endoscope.jpg



แผลเล็กแต่มองเห็นได้ชัดเจนกว่าแผลใหญ่ ความแตกต่างจากการผ่าตัดในอดีต 

การผ่าตัดด้วยตาเปล่า หรือการใช้กล้องที่ส่องอยู่นอกตัวคนไข้ การเปิดแผลใหญ่ๆ จะทำให้ไฟส่องไปถึงแผลได้ดีกว่า ดังนั้นคำกล่าวในสมัยก่อนที่บอกว่ายิ่งแผลใหญ่ยิ่งเห็นชัดจึงเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง
กล้องเอ็นโดสโคปเป็นเทคโนโลยีสำหรับการผ่าตัดยุคใหม่ และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการศัลยกรรม ทั้งช่องท้อง, นรีเวช หรือแม้แต่การผ่าตัดสมองก็ตามที

กล้องเอ็นโดสโคปจะมีเลนส์อยู่ที่ปลายกล้อง และแพทย์สามารถสอดกล้องเข้าไปในถึงข้างในแผลจึงเปรียบเสมือนว่าตาของศัลยแพทย์เข้าไปอยู่ในตัวคนไข้ รวมถึงไฟที่ให้แสงสว่างก็เข้าไปอยู่ข้างในด้วย ดังนั้นภาพที่เห็นจึงชัดเจนและมีมุมอับสายตาน้อยกว่ากล้องที่ส่องจากนอกตัวผู้ป่วย

 

 

กล้องเอ็นโดสโคป ต่างจากกล้องจุลทรรศน์อย่างไร

กล้องเอ็นโดสโคปเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่ากล้องจุลทรรศน์ กล้องเอ็นโดสโคปจะเป็นกล้องที่สอดเข้าไปในตัวคนไข้ จึงทำให้ภาพที่เห็นชัดเจนกว่าและมีมุมอับสายตาน้อยกว่า ส่วนกล้องจุลทรรศน์จะเป็นกล้องขยายที่อยู่นอกตัวคนไข้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วนก็จำเป็นจะต้องเปิดแผลให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้แสงส่องลงไปถึงแผลได้ดี ในขณะที่กล้องเอ็นโดสโคปนั้นสอดอยู่ภายในตัวคนไข้จึงทำให้ภาพที่ชัดเจนจึงไม่จำเป็นต้องเปิดแผลเพิ่มแม้ในคนที่รูปร่างใหญ่
 

 

ความเสี่ยงของการผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องเอ็นโดสโคป

ความเสี่ยงโดยทั่วไปไม่ต่างไปจากการผ่าตัดด้วยวิธีดั้งเดิม แต่ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย และโอกาสติดเชื้อต่ำมาก
 

 

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดเป็นอย่างไร

ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถเดินได้ทันทีหลังจากฤทธิ์ยาสลบหมด และสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 24 ชั่วโมง
 

 

การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

การผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคปเป็นเพียงการนำเอาหมอนรองกระดูกส่วนที่ฉีกขาดแล้ว และกดทับเส้นประสาทออกไปเท่านั้น ดังนั้นหากเราดูแลหมอนรองกระดูกส่วนที่เหลือไม่ดีก็อาจมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำใหม่ได้ตามธรรมชาติ การออกกำลังเพื่อเสริมกล้ามเนื้อแกนกลาง ร่วมกับการออกกำลังแบบคาดิโอเพื่อลดไขมันส่วนเกิน รวมทั้งเรียนรู้ท่าทางที่ถูกต้องในการใช้ชีวิตจะลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้อย่างมาก
 

 

คลิปสัมภาษณ์ และวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

วิดีโอสัมภาษณ์ คุณจิราภรณ์ ภูผิวเดือน 
ประสบการณ์ตรง... รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผ่านกล้อง Endoscope
 
วิดีโอสัมภาษณ์ นพ.วิธวินท์ เกี่ยวกับการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้อง Endoscope



 
เกี่ยวกับผู้เขียน

DrWithawin.jpg

หมอเข้ม หรือ น.พ. วิธวินท์ เกสรศักดิ์ เรียนจบเฉพาะทางทางด้านประสาทศัลยศาสตร์ ที่ร.พ. รามาธิบดี และได้ไปเรียนต่อยอดด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยการส่องกล้องเอ็นโดสโคปที่ประเทศเยอรมนี และประเทศอังกฤษ ปัจจุบันนอกจากหมอเข้มจะทำงานเป็นศัลยแพทย์ด้านกระดูกสันหลังประจำที่ร.พ. บำรุงราษฎร์ แล้วยังเป็นแพทย์ผู้ฝึกสอนการผ่าตัดด้วยเทคนิคเอ็นโดสโคปในประเทศเยอรมนี และเป็นผู้บรรยายอิสระให้กับ AOspine ซึ่งเป็นองค์กรการศึกษาแบบไม่แสวงผลกำไรในระดับนานาชาติอีกด้วย

บทความน่ารู้เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง: การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท, percutaneous TLIF, สัญญาณอันตรายของโรคกระดูกสันหลัง, หมอนรองกระดูกทับไขสันหลัง ภัยร้ายซ่อนเร้น, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทรักษาได้ด้วยแผลผ่าตัดเพียง 8มม. 
 
ประสบการณ์การรักษาจากผู้ป่วย: ผ่าตัดหมอนรองกระดูกด้วยกล้องเอ็นโดสโคป, การผ่าตัดกระดูกสันหลังโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs