bih.button.backtotop.text

โรคไอพีดี (IPD)

โรคไอพีดี (IPD) ย่อมาจากคำว่า “Invasive Pneumococcal Disease” เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบบรุนแรงและสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นได้ การติดเชื้อแบบไอพีดีพบได้น้อยมากแต่มีความรุนแรงกว่าการติดเชื้อนิวโมคอคคัสแบบธรรมดาซึ่งทำให้เกิดโรคหวัด โรคหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ และปอดอักเสบเท่านั้น ส่วนการติดเชื้อแบบไอพีดีนั้นเมื่อเชื้อนิวโมคอคคัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุทางเดินหายใจ เชื้อจะเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เชื้ออาจแพร่กระจายไปเยื่อหุ้มสมองทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือไปที่อวัยวะอื่น เช่น กระดูกและข้อทำให้มีกระดูกและข้ออักเสบ โรคนี้เป็นที่รู้จักในวงการแพทย์มานานแล้ว มักพบในทารกและเด็กเล็ก (2 เดือน-9 ปี) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตหรือเกิดความพิการตามมาได้

เด็กกลุ่มใดบ้างที่เสี่ยงต่อโรคไอพีดี
เด็กทั่วไปโดยเฉพาะที่อายุน้อยกว่า 2 ปีมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไอพีดีมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กที่มีความเสี่ยงสูงมากเป็นพิเศษ ได้แก่ เด็กที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานไม่ดี เด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี เด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เด็กที่เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น เด็กที่มีน้ำไขสันหลังรั่วที่เกิดจากความพิการแต่กำเนิดหรือมีกะโหลกศีรษะแตก และเด็กที่เคยมีประวัติติดเชื้อในหูหรือเคยได้รับการผ่าตัดใส่วัสดุเทียมของหูชั้นใน นอกจากนี้เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก เด็กที่อาศัยอยู่กับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ (secondary smoker) และเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีความเสี่ยงต่อโรคไอพีดีสูงกว่าปกติด้วย
 
ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไอพีดีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดแรกเป็นวัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ ใช้ฉีดเฉพาะกับเด็กที่อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้และผู้สูงอายุเท่านั้น ชนิดที่สองเป็นคอนจูเกตวัคซีน ซึ่งสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี สามารถป้องกันโรคไอพีดีจากเชื้อสายพันธุ์ในวัคซีนได้ร้อยละ 97.3 โดยสามารถเริ่มให้ได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ถึง 9 ปี
 

Related Treatments

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์กุมารเวช

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 3 คน

Related Health Blogs