พบบ่อยแค่ไหน?
แม้ยังไม่มีมาตรฐานชัดเจนในการวินิจฉัย แต่มีรายงานว่าอุบัติการณ์พบได้ประมาณ 1.7–10.7% โดยมักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
สัญญาณที่ควรสังเกต
- ทารกดูดนมได้ยากหรือดูดนานผิดปกติ
- น้ำหนักขึ้นน้อยกว่ามาตรฐาน
- มารดาอาจมีอาการเจ็บหัวนมหรือเต้านม โดยอาการนี้อาจเกิดได้แม้ทารกจะไม่มีภาวะลิ้นติด
ตรวจได้อย่างไร?
กุมารแพทย์จะตรวจดูในช่องปากของลูก หากเห็นว่าเนื้อเยื่อใต้ลิ้นยึดปลายลิ้นมากกว่าปกติ ทำให้ลิ้นมีลักษณะเว้าคล้ายรูปหัวใจ และขยับได้จำกัด ก็จะวินิจฉัยว่าลิ้นติด
ต้องผ่าตัดทุกคนไหม?
- ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย โดยเฉพาะในทารกที่ยังสามารถดูดนมได้ แม้จะมีภาวะลิ้นติด
- เริ่มจากการปรับท่าอุ้มและท่าให้นมอย่างเหมาะสม โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นมแม่จะให้คำแนะนำและติดตามผลอย่างใกล้ชิด
- ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ทีมแพทย์จะพิจารณาวิธีการดูแลและรักษาให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล โดยจะพยายามแก้ไขด้วยวิธีอื่นก่อน เพื่อให้ลูกสามารถดูดนมได้ดีโดยไม่ต้องผ่าตัด และจะพิจารณาการผ่าตัดเฉพาะในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
- การผ่าตัดขริบพังผืดใต้ลิ้นเป็นหัตถการเล็ก ใช้เวลาไม่นาน ปลอดภัย และมักไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปแนะนำให้ทำเมื่อทารกอายุประมาณ 2–3 สัปดาห์ขึ้นไป
มีผลต่อการพูดหรือการนอนของลูกหรือไม่?
จากข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ว่าภาวะลิ้นติดเพียงอย่างเดียวจะทำให้เด็กพูดไม่ชัดหรือมีปัญหาการออกเสียง และยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับด้วยเช่นกัน
สรุป
หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกอาจมีภาวะลิ้นติด ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อประเมินและรับคำแนะนำที่เหมาะสม เพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมเพียงพอและเติบโตสมวัย
ดูแลลูกน้อยตั้งแต่ก้าวแรกของชีวิต ด้วยทีมกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เรียบเรียงโดย ศ.พญ. อรดี จันทวสุ
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2568