bih.button.backtotop.text

แผลจากโรคเบาหวาน แผลติดเชื้อ

        แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ เกิดอาการชา หรือไร้ความรู้สึกบริเวณปลายมือและเท้า เนื่องจากหลอดเลือดและเส้นประสาททำงานผิดปกติ และหากเกิดเป็นแผลขึ้น จะทำให้หายช้าหรือกลายเป็นแผลเรื้อรังและเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้  เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีไขมันและน้ำตาลที่ไม่ถูกย่อยสลาย ไปจับตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบและแข็งจนเกิดการอุดตัน ส่วนใหญ่จะพบแผลที่บริเวณเท้า ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนปลายที่ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง อาจนำไปสู่การตัดอวัยวะจากการติดเชื้อได้ในที่สุด เป็นเหตุที่อาจทำให้สูญเสียอวัยวะและอาจลุกลามไปจนถึงเสียชีวิตได้

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะมีความเสี่ยงสูงต่อการหายของบาดแผลโดยมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย
1.ปลายประสาทเสื่อม สามารถแบ่งย่อยเป็น
  • ประสาทรับความรู้สึกเสื่อม ผู้ป่วยเบาหวานจะสูญเสียการรับความรู้สึกเจ็บปวดหรือความรู้สึกร้อนเย็น ดังนั้นเมื่อเป็นแผลขึ้นแล้วผู้ป่วยมักไม่ทราบ เนื่องจากขาดความรู้สึกเจ็บปวด แผลจึงเกิดการอักเสบลุกลามมากขึ้น
  • ประสาทควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้อเล็กๆที่เท้าลีบลง กล้ามเนื้อที่เท้าไม่อยู่ในสภาพสมดุล ทำให้เกิดเท้าผิดรูป (Charcot Foot) ทำให้จุดรับน้ำหนักผิดไป มีโอกาสเกิดผิวหนังแข็งๆหรือตาปลา ทำให้เป็นแผลได้ง่าย
  • ประสาทอัตโนมัติเสื่อม ทำให้ระบบประสาทควบคุมเกี่ยวกับการขับหลั่งเหงื่อ การหดและขยายตัวของหลอดเลือดเสียไป ผิวหนังจะมีลักษณะแห้ง เหงื่ออกน้อย และผิวหนังแห้งแตกง่าย เชื้อโรคอาจเข้าไปตามรอยแตกแล้วเกิดเป็นแผลลุกลามมากขึ้น และยังทำให้เท้าบวม รองเท้าจึงคับขึ้นและกดเท้าจนเป็นแผลได้

2. ความผิดปกติของหลอดเลือด
            เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็งจนบางครั้งก็อุดตัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดฝอย ทำให้เกิดแผลที่เท้าขึ้นเองได้เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งจะพบมากที่ปลายนิ้วเท้าทั้งห้าหรือส้นเท้า หรือเกิดแผลจากสาเหตุอื่นก็ทำให้แผลหายยากเช่นกัน เช่น อุบัติเหตุ ของมีคม เป็นต้น


3. มีการติดเชื้อแทรกซ้อน
            แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมักจะมีการติดเชื้อร่วมด้วยอยู่เสมอ โดยเฉพาะการมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้การอักเสบลุกลามมากขึ้น โอกาสที่จะรักษาให้หายยิ่งยากมากขึ้น มีโอกาสทำให้ต้องถูกตัดขาหรือเสียชีวิตได้
           ความเสี่ยงในการถูกตัดขาหรือเท้าของผู้เป็นเบาหวานเสี่ยงสูงกว่าผู้ที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 25 เท่า โดยร้อยละ 70 ของผู้ที่เป็นเบาหวานหากมีประวัติเคยเป็นแผลมาก่อน มีโอกาสเกิดแผลซ้ำได้ภายใน 5 ปี
 
ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของแผล มีการติดเชื้อหรือไม่ มีภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่แผลหรือไม่

          1. การทำแผล ร่วมกับการตัดเนื้อตาย
          2. การใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาว่าผู้ป่วยควรได้รับยาปฏิชีวนะหรือไม่ ควรใช้ยาชนิดใดและให้ยาโดยการรับประทาน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือด โดยแพทย์จะพิจารณาตามลักษณะและความรุนแรงของแผล
          3.การผ่าตัดหลอดเลือด ในกรณีที่แผลนั้นได้รับการตรวจและวินิจฉัยแล้วว่ามีสาเหตุมาจากการขาดเลือดเนื่องจากมีเส้นเลือดตีบแข็ง หากผ่าตัดรักษาเพื่อให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงบริเวณแผลได้ดีขึ้นก็จะทำให้แผลหายเร็วขึ้น ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ประเมินพยาธิสภาพของโรคและความพร้อมของผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่          
          4. การผ่าตัดเท้าหรือขาที่มีภาวะติดเชื้อรุนแรงหรือเน่าตายปริมานทั้งหมดทิ้ง จะทำต่อเมื่อไม่สามารถรักษาแผลด้วยวิธีที่กล่าวมาแล้วให้ได้ผล ระดับที่ผ่าตัดจะอยู่ใต้เข่าหรือเหนือเข่าขึ้นอยู่กับแผล หลังการผ่าตัดแล้วสามารถประกอบขาเทียมได้ ทำให้ผู้ป่วยเดินและเคลื่อนไหวได้ดังเดิม

เนื่องจากแผลเบาหวานเป็นแผลที่หายยากใช้เวลาในการหาย จึงมีการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ที่ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • การรักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)
    ซึ่งปัจจุบันเข้ามามีบทบาทและเป็นที่ยอมรับในการร่วมรักษาแผลเบาหวานเรื้อรังอีกด้วย
    • ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและเส้นเลือดฝอย
    • ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะในร่างกายที่มีออกซิเจนและเลือดไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงช่วยให้บาดแผลหายเร็วยิ่งขึ้น
    • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาวในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย
    • ช่วยป้องกันและต่อสู้กับการติดเชื้อบางชนิด
    • ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อ
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Photo Therapy: Healite II LED)
    Healite II LED Phototherapy (yellow) เป็นนวัตกรรมแสงบําบัด เพื่อช่วยในการสมานแผล โดยใช้พลังงานแสงที่มีความยาวคลื่นเฉพาะ ช่วยสมานแผล ลดอาการบวม อักเสบของเนื้อเยื่อ กระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต ช่วยเร่งกระบวนการการหายของแผล ช่วยเพิ่มคอลลาเจนเพื่อใช้ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อกลับคืนสู่สภาพเดิม  
  • การรักษาแผลโดยใช้คลื่นกระแทก (Electro hydraulic Shock wave)
    เป็นเครื่องที่ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ของแผลและเพิ่มหลอดเลือดฝอยขนาดเล็กในบริเวณที่ทำการรักษา ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
  • การรักษาแผลโดยวิธีสุญญากาศ  (Negative Pressure Wound Therapy)
    เป็นการรักษาแผลด้วยระบบปิดที่ความดันต่ำกว่าบรรยากาศ โดยมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีลักษณะเป็นสายเล็ก ๆ สอดอยู่ในแผล มีปลายอีกด้านต่อเข้ากับเครื่องสุญญากาศเพื่อช่วยระบายเลือดหรือสารคัดหลั่งออกจากแผล จะช่วยกระตุ้นกระบวนการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น 
  • เครื่องเอกซเรย์ภาพสามมิติแบบเต็มตัว (3D Bi-plane imaging) ร่วมกับCarbon dioxide injector
    เป็นเทคโนโลยีการสร้างภาพที่ใช้ในห้องผ่าตัด เพื่อให้แพทย์สามารถมองเห็นหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำได้อย่างชัดเจนทุกทิศทางระหว่างการผ่าตัดที่ใช้วิธีการรุกล้ำน้อยที่สุด และไม่เป็นพิษต่อไตเมื่อใช้CO2 Contrast ทดแทนสารทึบรังสีแบบเดิม
  • เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนทางผิวหนัง (Transcutaneous oxygen monitoring equipment: TCOM)
    เป็นการวัดค่าแรงดันออกซิเจนผ่านทางผิวหนัง โดยวัดออกซิเจน (O2) จากที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดเลือดฝอยมาสู่ชั้นผิวหนัง วัดโดยการติดหัววัด Electrode ในบริเวณที่ต้องการทำการวัดค่าการวัดที่ได้จะบอกถึงข้อมูลความสามารถของร่างกายในการนำส่งออกซิเจนเข้าสู่ชั้นเนื้อเยื่อ
  • อุปกรณ์ทำแผลขั้นสูง (Advance Wound Dressing)
    นอกจากเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการช่วยให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น ยังมีวัสดุใส่ในแผลที่ช่วยทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้น เช่น Alginate dressing, Hydrocolloid dressing, Foam dressing, Hemoglobin Spray เป็นต้น โดยมีแพทย์และพยาบาลเฉพาะทาง เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของแผล

จะเห็นได้ว่าการรักษาแผลที่เท้านั้นนอกจากทำให้เกิดผลเสียทางด้านจิตใจแล้วยังเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากตามมา ดังนั้นการป้องกัน และการรักษาให้ถูกต้องที่ต้นเหตุของการเกิดโรค คือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด และควบคุมความดันโลหิตให้ดี จึงเป็นวิธีที่การที่สำคัญที่สุดที่สามารถลดโอกาสการเกิดแผลเรื้อรังจากเบาหวานได้ดีที่สุด   
 
 
 

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์รักษาแผลแบบองค์รวม

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs