You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
ค้นหาแพทย์
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์
นิ่ว มีลักษณะเป็นก้อนแข็งคล้ายก้อนกรวดเกิดจากการตกตะกอนหรือตกผลึกของหินปูนหรือเกลือแร่ในร่างกายซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด อาทิ แคลเซียม ออกซาเลต, แคลเซียม ฟอสเฟต, กรดยูริค และซีสเตอีน นิ่วเกิดขึ้นที่อวัยวะใดก็จะมีชื่อเรียกตามตามอวัยวะนั้น เช่น นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในต่อมน้ำลาย และนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งประกอบไปด้วยนิ่วในไต นิ่วในท่อไต นิ่วในท่อปัสสาวะ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือ bladder stone เกิดได้ 2 รูปแบบคือ เป็นนิ่วจากไตหรือท่อไตที่หลุดลงมาสะสมเพิ่มขนาดในกระเพาะปัสสาวะ และเป็นนิ่วที่เกิดในกระเพาะปัสสาวะเองซึ่งในกรณีนี้มักเกิดจากการขับถ่ายปัสสาวะออกไม่หมดด้วยสาเหตุบางประการ เช่น มีภาวะต่อมลูกหมากโตกีดขวางทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะตีบตัน รวมถึงการที่กระเพาะปัสสาวะทำงานผิดปกติจนบีบตัวได้ไม่ดี ทำให้มีน้ำปัสสาวะคั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ นานวันเข้าก็จะเกิดการตกตะกอนแล้วค่อยๆ โตขึ้นเป็นก้อนนิ่ว
นอกจากนี้ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ได้แก่ มีการอักเสบติดเชื้อซ้ำๆ ในระบบทางเดินปัสสาวะ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไปทำให้ปัสสาวะมีสารตกตะกอนหรือเกลือแร่เข้มข้นมาก เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ยอดผัก เครื่องในสัตว์ รวมถึงการดื่มน้ำน้อยเกินไปด้วย
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะเป็นโรคที่มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ชายมีขนาดยาวและคดเคี้ยวกว่า ตะกอนนิ่วจึงมีโอกาสตกค้างได้มากกว่า
อาการที่มักพบในผู้ป่วยโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ได้แก่
แพทย์สามารถตรวจและวินิจฉัยโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ร่วมกับการตรวจปัสสาวะ การเอกซเรย์ภาพช่องท้องในส่วนของไตและกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอาจมีการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ
แนวทางในการรักษาโรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. การเอานิ่วออก ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก แพทย์อาจเริ่มจากการแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้ร่างกายขับนิ่วออกมาเองตามธรรมชาติ แต่โดยทั่วไปแล้วการเอานิ่วออกสามารถทำได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้ คือ
a. การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Cystolitholapaxy) โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อขบนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้หลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ b. การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่วจนก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และหลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ c. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้
a. การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ (Cystolitholapaxy) โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อขบนิ่วให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วให้หลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ
b. การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy : ESWL) เป็นการใช้คลื่นเสียงทำให้เกิดแรงกระแทกที่ก้อนนิ่วจนก้อนนิ่วแตกเป็นชิ้นเล็กๆ และหลุดไหลออกมากับน้ำปัสสาวะ
c. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ หรือเป็นนิ่วเขากวางที่มีกิ่งก้านหลายกิ่งจนไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีอื่นได้
2. รักษาที่สาเหตุของโรค เนื่องจากการเอานิ่วออกเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของการเกิดโรคอาจทำให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นนิ่วซ้ำได้อีก ซึ่งการรักษาที่สาเหตุนี้ยกตัวอย่างเช่น
การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
นิ่วนำพาปัญหาอะไรมาสู่ชีวิตของเราบ้าง? วันนี้คุณหมอผู้ชำนาญการของเราจะมาตอบทุกคำถามที่เกิดขึ้น ในระบบทางเดินปัสสาวะ ว่าเป็นภัยร้ายกับร่างกายมากน้อยแค่ไหน ตลอดจนวิธีการรับมืออย่างถูกต้อง
Podcastนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อต้องประสบพบเจอกับโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ จะมีแนวทางการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง ให้ห่างไกลจากโรคนี้ รวมถึงแนวทางการป้องกัน ไปหาคำตอบกัน
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะศูนย์ทางเดินปัสสาวะ
ปวดบั้นเอว ปวดท้องน้อย ปัสสาวะติดขัด อาจส่งสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะได้หรือไม่ มาหาคำตอบกัน
การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะศูนย์ทางเดินปัสสาวะ