bih.button.backtotop.text

Esperance Prevention


ESPBanner.jpg


โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งองค์รวม
โปรแกรมตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกายแบบเริ่มต้น

โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งองค์รวม

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งองค์รวม 


รายการที่ตรวจ

  1. CD Profile (CD3/CD4/CD8) 
  2. % CD 16/56
  3.  25-OH Vitamin D3/D2
  4. Natural Killer Cell Cytotoxic Activity
  5. Toxic Metals Profile 2 (Al, As, Cd, Co, Pb, Hg) – Blood
  6. Toxic Metals Profile 5 (Al, As, Cd, Cr, Pb, Hg) - Random Urine
  7. M2-PK
  8. C-Reactive Protein* (CRP)
  9. Ferritin
  10. LDH isoenzyme
  11. Interleukin-6 (IL-6)

ราคา

44,000 THB

 
การตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งสำคัญอย่างไร   
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งมีปัจจัยหลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเดิมทีคิดว่ามีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์ของรหัสพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันพบว่ามีเพียง 5-10 เปอร์เซ็นของผู้ป่วยมะเร็งเท่านั้นที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่พฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย หรือการรับประทานอาหารที่ไม่ดี และสภาพแวดล้อมที่เราดำรงชีวิต  เช่น การสัมผัสกับโลหะหนัก และมลพิษ ต่างหากที่ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต

การตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน จะตรวจพบมะเร็งเมื่อเซลล์มะเร็งก่อตัวเป็นก้อนขนาดเล็กๆแล้ว เช่น การส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจแมมโมแกรมเพื่อคัดกรองมะเร็งเต้านม หรือทำ Low dose CT scan สำหรับคัดกรองมะเร็งปอด แต่ยังขาดการประเมินปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่กล่าวมาข้างต้น และการลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งอย่างจริงจัง

มะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อน และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หากตรวจพบเมื่อโรคดำเนินไปถึงระยะสุดท้าย ดังนั้นการตรวจคัดกรอง ป้องกัน และรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถให้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีกว่าได้
 
ที่เอสเพอรานซ์เราประเมินอะไร?
 
1. การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เซลล์มะเร็งจัดเป็นเซลล์แปลกปลอม เช่นเดียวกับ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้ามามีบทบาทในการตรวจหา และกำจัด เพื่อไม่ให้แพร่กระจายและสร้างความเสียหายแก่ร่างกาย หากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จะเพิ่มโอกาสให้สิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะเซลล์มะเร็งรอดพ้นจากการตรวจเจอ และการทำลายได้ การประเมินประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน จึงมีส่วนช่วยให้ทราบ เพื่อส่งเสริม แก้ไข และลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็งในอนาคต
 
2. สัญญาณการอักเสบ
การอักเสบเรื้อรังที่สะสมในร่างกายสามารถกระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง หรือการพัฒนาการของโรคมะเร็งได้ การวิเคราะห์สัญญาณการอักเสบบางชนิด เช่น C-reactive protein (CRP) ช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และตระหนักในการควบคุมก่อนจะมีการพัฒนาการของโรคได้
 
3. โลหะหนัก
ปัจจุบันโอกาสสัมผัสโลหะหนักเป็นเรื่องที่ง่ายดาย เนื่องจากโลหะหนักสามารถปนเปื้อนมากับอาหาร เครื่องอุปโภคและสภาพแวดล้อมที่เราดำเนินชิวิต โลหะหนักสามารถกระตุ้นให้เกิด reactive oxygen species (ROS) นำไปสู่การเกิดกระบวนการอักเสบเรื้องรัง และพัฒนาต่อจนเกิดเซลล์มะเร็งในอนาคต การตรวจหาโลหะหนักในร่างกายจึงจำเป็นต่อการลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง 
 
4. ประเมินการสร้างพลังงานระดับเซลล์
ในปี ค.ศ. 1924  Otto Warburg แพทย์ชาวเยอรมัน ค้นพบว่าเซลล์มะเร็งมีกระบวนการสร้างพลังงานผ่านกระบวนการ  ไกลโคไลซิส (glycolysis pathway) ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน ปรากฏการณ์นี้ว่า “Warburg effect” ซึ่งในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของมะเร็ง (hallmark of cancer) การประเมินการสร้างพลังงานระดับเซลล์ผ่านระดับเอนไซม์ pyruvate kinase M2 (M2PK) ทำให้สามารถประเมินได้เบื้องต้นว่าขณะนี้เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้
 
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
 
  1. ไม่จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร
  2. กรุณาแจ้งแพทย์หากคุณมีโรคประจำตัว ยา อาหารเสริม หรือสมุนไพรที่ใช้อยู่เป็นประจำ
  3. ติดต่อที่เอสเพอรานซ์คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมมะเร็ง ชั้น11 ตึก C โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
    โทร 02-011-5888
    อีเมล [email protected]
    Line: Esperance_clinic
ผู้รับบริการจะได้รับรายงานสรุปผลการตรวจประเมินความเสี่ยงหลังจากวันที่ทำการตรวจประมาณ 14 วันทำการ หากประเมินแล้วมีความเสี่ยงเกิดขึ้น ทีมแพทย์ของเอสเพอรานซ์จะร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบ รวมถึงแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งในแง่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย อาหารเสริม หรือการวินิจฉัยเพิ่มเติมหากต้องการ ร่วมกับผู้รับบริการ ทั้งนี้จะมีการติดตามการรักษาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาได้ถูกควบคุมเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต

โปรแกรมตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกายแบบเริ่มต้น

ทำไมถึงต้องตรวจประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
 ทำไมเราถึงหายจากโรคหวัดเองได้? นั่นเพราะร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ ที่มีระบบภูมิคุ้มกัน หรือเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ซึ่งแต่ละชนิดถูกกำหนดให้ทำหน้าที่ตรวจจับ จำแนก และทำลายสิ่งแปลกปลอมให้หมดไป ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือแม้แต่เซลล์ที่ผิดปกติอย่างเซลล์มะเร็ง การมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจึงมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดโรค บรรเทาความรุนแรง และลดระยะเวลาในการป่วยจากโรค อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งระยะเริ่มต้น และลดการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งได้อีกด้วย
การตรวจประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ตรวจอะไรบ้าง
 
  1. การตรวจเชิงปริมาณ: ตรวจวิเคราะห์จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันที่สำคัญในการทำลายสิ่งแปลกปลอมและเซลล์ผิดปกติในร่างกาย
  2. การตรวจเชิงคุณภาพ: ตรวจวิเคราะห์ประสิทธิภาพ หรือความสามารถในการทำลายสิ่งแปลกปลอมหรือเซลล์ผิดปกติต่าง ๆ
 
การตรวจประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เหมาะกับใคร
  1. บุคคลทั่วไปที่สนใจการตรวจประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  2.  ผู้ที่สนใจลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งระยะเริ่มต้น
  3. ผู้ที่สนใจลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัส หรือกำลังติดเชื้อไวรัสอยู่ เช่น herpes virus, EBV, HBV, HCV และต้องการส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง
 
หลังจากการตรวจ
ผู้รับบริการจะได้รับผลการตรวจหลังจากวันที่ทำการตรวจเลือดประมาณ 3 วันทำการ หากประเมินแล้วระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานที่ไม่เพียงพอ แพทย์จะวางแผนการรักษาแบบองค์รวมในการเสริมภูมิคุ้มกันร่วมกับผู้รับบริการ รวมถึงให้คำแนะเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย แนะนำอาหารเสริม หรือมีการวินิจฉัยเพิ่มเติมอื่น ๆ ตามที่แพทย์และผู้รับบริการเห็นสมควร  ทั้งนี้จะมีการประเมินการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันผู้รับบริการเป็นระยะเพื่อติดตามผลการรักษา
 
Live support
We are sorry, but support is not available at the moment.