ต้อกระจก เป็นโรคที่เกิดจากเลนส์แก้วตาเสื่อมสภาพจนมีความขุ่นมัวเกิดขึ้น ทำให้บดบังแสงที่จะผ่านเข้าไปในตา แสงจึงส่งผ่านไปยังประสาทตาไม่เต็มที่ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัวได้
สาเหตุของต้อกระจก
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดต้อกระจกคือ อายุที่เพิ่มขึ้น พบว่าต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ช้าก็เร็ว แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ
ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจกก่อนวัย
- การได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเข้าตาเป็นเวลานานๆ
- โรคเกี่ยวกับตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ
- โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
- การเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาหรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยๆ
- ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น เด็กแรกเกิดที่มารดาเป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
- การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
อาการของต้อกระจก
- ตามัว/มองเห็นไม่ชัดเจนโดยไม่มีอาการเจ็บปวด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่มีแสงสว่างจ้า แต่กลับมองเห็นเกือบปกติในที่มืดสลัว
- มองเห็นภาพซ้อน เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว
- มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะเวลาขณะขับรถในตอนกลางคืน
- เปลี่ยนแว่นตาบ่อย มองเห็นในระยะใกล้ดีขึ้นหรือไม่ต้องใส่แว่นตาในระยะมองใกล้
- เห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตา
การรักษาต้อกระจก
การรักษาต้อกระจกทำได้โดยการผ่าตัดนำเลนส์แก้วตาที่ขุ่นออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ โดยวิธีการผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่
การดูแลสุขภาพดวงตา
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน
- สวมแว่นกันแดดที่กรองแสงอัลตราไวโอเลต ไม่จ้องมองดวงอาทิตย์โดยตรง
- หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา อย่าให้ดวงตาโดนกระแทก
- ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพตาทุกปี
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ต้อกระจกกับการรักษาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond laser)
โรคต้อหินกับการรักษา
ป้องกันโรคต้อกระจก ด้วยผลไม้
รู้ทันโรค ตอน ต้อกระจก โรคตายอดฮิต
นวัตกรรมเพื่อการรักษาสายตาและต้อกระจก