You're been inactive for a while. For security reason, we'll automatically sign you out from our website. Please Click "Login" to extend your session
ตรวจสอบข้อมูลผู้ป่วย ผลการตรวจ กำหนดการนัด และอื่นๆ
ยังไม่มีบัญชี? Create Account
ติดตามข่าวสารล่าสุด และ นัดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้ทันที
มีบัญชีอยู่แล้ว? Log In
การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก (Urodynamic Analysis)
การควบคุมการขับปัสสาวะผิดปกติเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง โดยมีอาการคือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ ปัสสาวะเล็ดราดแม้ไม่มีการปวด ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่หมด ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลทั้งต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย แพทย์สามารถรักษาระบบควบคุมการขับปัสสาวะเสื่อมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยหนึ่งในวิธีการตรวจวินิจฉัยเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคได้แก่ การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก (urodynamic analysis)
การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก หรือการตรวจยูโรพลศาสตร์ เป็นการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดว่ามีการบีบตัวอย่างเหมาะสมหรือไม่ โดยการวัดแรงดันในกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีน้ำไหลเข้าและขับออกจากกระเพาะปัสสาวะ ความสามารถในการกักเก็บปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะ รวมถึงตรวจว่ามีภาวะปัสสาวะเล็ดขณะเบ่งหรือไม่
การวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกจึงเป็นการตรวจการทำงานโดยรวมตั้งแต่กระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อปัสสาวะ เพื่อหากลไกและสาเหตุความผิดปกติของระบบควบคุมการขับปัสสาวะนั่นเอง
การตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิก สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
1. Cystometry (CMG) เป็นการตรวจโดยดูความสัมพันธ์ของแรงดันในกระเพาะปัสสาวะกับปริมาตรของน้ำที่เติมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะซึ่งจะทำผ่านสายสวน นอกจากนี้ยังดูการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดได้อีกด้วย
2. การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography หรือ EMG)เป็นการตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณอุ้งเชิงกรานในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าปัญหาอาจเกิดจากความเสียหายของกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท โดยจะติดเซนเซอร์ขนาดเล็กไว้ใกล้กับทวารหนักเพื่อตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อหูรูดขณะใส่น้ำเข้าและถ่ายออกจากกระเพาะปัสสาวะ
3. การวัดแรงดันในท่อปัสสาวะ (urethral pressure profile) เพื่อดูการทำงานของท่อปัสสาวะโดยใช้สายสวนพร้อมเซ็นเซอร์บันทึกแรงดันภายในท่อปัสสาวะ
4. Uroflowmetry เป็นการวัดปริมาณ เวลาที่ใช้ และอัตราความแรงของปัสสาวะที่ถ่ายออกมาเพื่อตรวจสอบการทำงานของกระเพาะปัสสาวะขณะกำลังปัสสาวะ โดยผู้ป่วยจะต้องปัสสาวะผ่านเครื่องมือที่ติดไว้ในโถปัสสาวะซึ่งมาพร้อมกับเครื่องบันทึกข้อมูลและประมวลผลเพื่อส่งให้แพทย์วินิจฉัยต่อไป
5. Pressure Flow Study หรือ Voiding Pressure Study เป็นการดูความสัมพันธ์ของแรงดันในกระเพาะปัสสาวะขณะกำลังปัสสาวะและอัตราการไหลของน้ำปัสสาวะ เพื่อดูว่ามีปัญหาท่อปัสสาวะอุดตันหรือกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงหรือไม่ วิธีการคือสอดสายสวนขนาดเล็กเข้าไปในท่อปัสสาวะแล้วให้ผู้ป่วยปัสสาวะผ่านสายสวน
ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยกับอาการของผู้ป่วย ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้มากกว่าหนึ่งวิธี
แพทย์จะพิจารณาตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกให้กับผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้
การตรวจวิเคราะห์แบบยูโรไดนามิกเป็นโปรแกรมการรักษาที่มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนน้อยแต่อาจเกิดได้บ้าง เช่น มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแพทย์อาจสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะก่อนและหลังการตรวจเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้
ดังนั้น หากหลังการตรวจ ผู้ป่วยรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะมีกลิ่น ขุ่น หรือมีเลือดปน ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะมีปริมาณน้อย มีอาการปวดบริเวณข้างลำตัวและหลัง หรือมีไข้ ควรกลับมาพบแพทย์ทันที
Related conditions
Doctors Related
Related Centers
โทรเพื่อทำการนัดหมาย
ติดต่อสอบถาม
นัดหมายแพทย์