bih.button.backtotop.text

การปลูกถ่ายผิวหนัง

การปลูกถ่ายผิวหนัง เป็นการนำผิวหนังของร่างกายจุดหนึ่ง (จากส่วนที่บริจาค) มาปลูกถ่ายลงในอีกจุดหนึ่งที่มีการสูญเสียผิวหนัง ผิวหนังที่ถูกย้ายนี้เรียกว่าผิวหนังที่ได้รับปลูกถ่าย

การปลูกถ่ายผิวหนัง โดยทั่วไปมี 2 ชนิด ได้แก่

1.    การปลูกถ่ายแบบแยกชั้นความหนา คือ การนำผิวหนังชั้นนอกสุดและผิวหนังแท้ซึ่งเป็นชั้นบนของผิวหนังจากจุดที่มีการบริจาค ผิวหนังที่นำมาจากจุดนั้นมักครอบคลุมบริเวณกว้าง บอบบาง และมีลักษณะเรียบ เป็นมันวาว การปลูกถ่ายแบบแยกชั้นความหนาจะไม่เติบโตไปพร้อมกับผิวหนังโดยรอบ ดังนั้นผู้ป่วยเด็กจะต้องปลูกถ่ายผิวหนังเพิ่มเติมเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

2.    การปลูกถ่ายผิวหนังแบบเต็มความหนา โดยมีการนำกล้ามเนื้อ เส้นเลือดและผิวหนังชั้นบนสุดไปทำการปลูกถ่าย การปลูกถ่ายประเภทนี้มักกินพื้นที่บริเวณน้อยในบริเวณของร่างกายที่สามารถมองเห็นได้ง่าย เช่น ใบหน้า ผิวหนังที่ได้รับการปลูกถ่ายจะกลมกลืนกับผิวรอบๆ และเจริญเติบโตตามอายุของผู้ป่วย

กรณีที่การบาดเจ็บของผิวหนังมีบริเวณกว้าง แผลเปิดมีขนาดใหญ่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้การหายของแผลเกิดเป็นแผลเป็นนูนและดึงรั้งในที่สุด นอกจากนี้การรักษาบาดแผลที่ใช้เวลานาน ยังเพิ่มโอกาสทำให้เกิดแผลติดเชื้อ ซึ่งทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา การปลูกถ่ายผิวหนังช่วยให้แผลปิดเร็วขึ้น ลดการติดเชื้อ และป้องกันการเกิดแผลเป็นดึงรั้ง

แพทย์จะพิจารณาการปลูกถ่ายผิวหนังในกรณีดังต่อไปนี้

·        แผลไฟไหม้

·        การติดเชื้อที่ทำให้เกิดการสูญเสียผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง

·        การผ่าตัดมะเร็งผิวหนัง

·        การผ่าตัดชนิดอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายผิวหนังเพื่อการฟื้นฟูสภาพผิว

·        แผลเรื้อรังที่เกิดจากหลอดเลือดดำเสื่อม แผลกดทับ หรือแผลเรื้อรังจากโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้เอง

·        แผลขนาดใหญ่ และ/หรือได้รับบาดเจ็บรุนแรง

·        เหตุผลด้านความสวยงาม หรือศัลยกรรมเสริมสร้างที่มีการบาดเจ็บหรือสูญเสียผิวหนัง

·        เมื่อแพทย์ไม่สามารถปิดแผลได้อย่างปกติ โดยเฉพาะระหว่างการผ่าตัด

·        อาการเลือดออก

·        อาการเจ็บปวดเรื้อรัง

·        การติดเชื้อ

·        สูญเสียผิวหนังที่ได้รับการปลูกถ่ายเนื่องจากแผลไม่สมานตัวหรือสมานตัวช้าเกินไป

·        สูญเสียความไวในการรับความรู้สึก มีความไวในการรับความรู้สึกลดลงหรือเพิ่มขึ้น

·        การเกิดแผลเป็น

·        สีผิวไม่สม่ำเสมอ

·        ผิวหนังไม่เสมอกัน

·        ผลข้างเคียงของยาระงับความรู้สึก

·   ก่อนการเดินทางมารักษา ถ้าผู้ป่วยรับประทานยาละลายลิ่มเลือด/ยาต้านการแข็งตัวของเลือดควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยา

·        ผู้ป่วยชาวต่างชาติควรอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยหลังทำหัตถการหรือระยะเวลาการรักษา

·        หากท่านมีแผนการเดินทางหลังทำหัตถการ โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนทำการจองการเดินทาง ผู้ป่วยสามารถเดินทางโดยสารโดยเครื่องบินได้ ไม่มีข้อจำกัดใดๆ

·        ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและดูแลแผลผ่าตัดในวันนัด รวมถึงได้รับเอกสารสรุปประวัติการรักษา เอกสาร Fit to Fly (ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ก่อนขึ้นเครื่อง)

โอกาสสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

 

หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

หากการปลูกถ่ายผิวเป็นทางเลือกทางเดียวในการรักษาและผู้ป่วยเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา พื้นที่บริเวณที่ผิวสูญเสียผิวหนังหรือผิวหนังได้รับความสูญหายจะถูกเปิดโล่งหรือยังคงบาดเจ็บ ทำให้เกิดความเจ็บปวดและติดเชื้อ บางครั้งอาจมีความรุนแรงถึงชีวิต

ผู้ป่วยบางรายอาจใช้ผิวสังเคราะห์ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื้อรังได้บ่อยกว่าแผลไฟไหม้ เนื้อเยื่อสังเคราะห์นี้สามารถทำหน้าที่ทดแทนผิวที่ได้รับความเสียหายขณะที่เซลล์ผิวใหม่กำลังสร้างขึ้น ทางเลือกในการรักษาอื่นอาจใช้การรักษาโดยวิธีการใช้แรงดันลบซึ่งสามารถช่วยในการรักษาแผลสด แผลเรื้อรัง และแผลไฟไหม้ระดับที่ 1 และ 2 แผ่นปิดแผลกันน้ำสูญญากาศที่ได้รับการออกแบบมาพิเศษเพื่อกำจัดของเหลวออกจากแผล กระตุ้นให้เลือดหมุนเวียนสู่แผล เมื่อการไหลเวียนเลือดกลับมาเป็นปกติและกระบวนการฟื้นตัวของร่างกายเริ่มทำงาน การปิดแผ่นโฟมปิดแผลด้วยผ้าพันแผลจะช่วยให้ผิวมีการรักษาตัวโดยไม่ต้องมีการใช้ผิวจากส่วนอื่นของร่างกาย ในบางกรณี ผิวที่ได้รับความเสียหายสามารถฟื้นฟูสภาพได้เอง

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ศัลยกรรม

ดูเพิ่มเติม

Related Packages

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs