bih.button.backtotop.text

การเจาะระบายของเหลวออกจากเยื่อหุ้มหัวใจ

การเจาะระบายของเหลวออกจากเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardiocentesis) อาจมีการเรียกชื่อต่างกันไป เช่น pericardial tap, percutaneous pericardiocentesis การเจาะระบายของเหลวออกจากเยื่อหุ้มหัวใจเป็นหัตถการที่ทำโดยการแทงเข็มเข้าไปตรงช่องเยื่อหุ้มหัวใจเพื่อดูดเอาของเหลวที่อยู่รอบๆ เยื่อหุ้มหัวใจออก หลังจากนั้นแพทย์อาจส่งของเหลวที่ได้ไปตรวจเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อหรืออาจมีการอักเสบเกิดขึ้น กรณีที่ของเหลวที่ได้เป็นเลือดอาจบ่งบอกถึงโรคมะเร็ง (cancer) มีการบาดเจ็บ (injury) ภาวะหัวใจวาย (heart failure) โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ไตวาย (renal failure) ติดเชื้อ (infection) หลอดเลือดแดงโป่งพอง (aneurysm) เป็นต้น

สาเหตุที่มีของเหลวคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ
  1. มะเร็ง
  2. หัวใจทะลุ
  3. ได้รับการบาดเจ็บที่หัวใจ
  4. หัวใจล้มเหลว
  5. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  6. ไตวาย
  7. การติดเชื้อ
  8. มีการแตกของหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm)
  1. ผู้ที่มีภาวะหัวใจบีบรัด (cardiac tamponade)
  2. ผู้ที่แพทย์ต้องการของเหลวที่อยู่รอบหัวใจมาตรวจว่าเป็นภาวะการอักเสบติดเชื้อ มะเร็ง หรือเกิดจากภาวะภูมิต้านตนเอง
แม้หัตถการนี้จะเป็นหัตถการที่ปลอดภัย โดยเฉพาะเมื่อทำภายใต้การแทงเข็มโดยเครื่องอัลตราซาวนด์ แต่ยังอาจมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เช่น
ความสำเร็จขึ้นกับปัจจัยหลายประการ หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์
 
หากไม่ทำหัตถการนี้จะเกิดอะไรขึ้น
ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ทำการรักษา
หากการเจาะระบายของเหลวออกจากเยื่อหุ้มหัวใจไม่สำเร็จ อาจจำเป็นต้องมีการรักษาบางอย่างเพิ่มเพื่อระบายของเหลวออกทางช่องท้อง หรือเปิดเยื่อหุ้มหัวใจเพื่อลดแรงกดของหัวใจ เป็นต้น

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs