bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย

ปัจจุบันวิทยาการการแพทย์ด้านการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศทั้งหญิงและชายได้มีความก้าวหน้าไปมาก
สำหรับการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายนั้น สามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน
คือ การผ่าตัดด้วยวิธีเมตตอยด์ (metoidioplasty) กับการผ่าตัดด้วยวิธีฟาโล (phalloplasty)
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้รับบริบาลแต่ละบุคคล
 

การผ่าตัดด้วยวิธีเมตตอยด์คืออะไร
การผ่าตัดแบบเมตตอยด์เป็นการสร้างองคชาตขนาดเล็ก (microphallus) ด้วยการใช้คลิตอริสเดิมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจากการใช้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ดังนั้นผู้ที่จะผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้ต้องรับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมาอย่างน้อย 1 ปี และควรมีขนาดคลิตอริสอย่างน้อย 3 เซนติเมตรจึงจะได้ผลการผ่าตัดที่ดี วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดเพื่อให้สามารถยืนปัสสาวะได้ แต่ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่ได้เพราะมีความยาวโดยเฉลี่ย 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายขนาดใหญ่ด้วยวิธีฟาโลในภายหลังได้
 
การผ่าตัดเริ่มด้วยการปลดแยกกลีบหุ้มคลิตอริส (clitoral hood) และเส้นเอ็นภายในออก (suspensory ligament) เพื่อเพิ่มความยาวของอวัยวะเพศ และยกระดับตำแหน่งของอวัยวะดังกล่าวมาทางด้านหน้า โดยที่ยังเก็บเนื้อเยื่อที่แข็งตัวได้และส่วนที่รับรู้ความรู้สึกทางเพศไว้ หลังจากจากนั้นแพทย์จะทำการต่อท่อปัสสาวะมาเปิดที่ส่วนปลายอวัยวะเพศ ถ้าทำการผ่าตัดเมตตอยด์ควบคู่กับการปิดช่องคลอด แพทย์ผู้ผ่าตัดจะนำผนังช่องคลอดที่ถูกตัดออกมาสร้างเป็นผนังท่อปัสสาวะ แต่ถ้าหากผู้ป่วยเคยผ่าตัดปิดช่องคลอดมาแล้วอาจจะต้องปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นมาแทน เช่น จากกระพุ้งแก้ม
 
  • ท่อปัสสาวะตีบ และท่อปัสสาวะรั่ว
  • ในแง่ของการปัสสาวะยืน พบว่าได้ผลดีประมาณ 90-95% ของผู้เข้ารับการผ่าตัด
  • ติดเชื้อ แผลแยกหรือหายไม่สนิท มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
การผ่าตัดแบบฟาโลเป็นการสร้างอวัยวะเพศชายที่มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดของอวัยวะเพศชายในขณะแข็งตัว โดยการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น แขน ขา หน้าท้อง หรือขาหนีบ การผ่าตัดฟาโลจะทำให้สามารถยืนปัสสาวะได้และสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยอาจเป็นการผ่าตัดครั้งแรกหรือหลังจากที่ทำเมตตอยด์มาแล้ว
 
ในปัจจุบันนิยมใช้เนื้อเยื่อจากแขน (radial forearm) และเนื้อต้นขาด้านนอก (anterolateral thigh) มาใช้สร้างเป็นอวัยวะเพศชายใหม่ การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อมักจะต้องทำการตัดต่อเส้นเลือดและเส้นประสาทส่วนรับความรู้สึก โดยแพทย์จะทำการต่อเส้นประสาทจากคลิตอริสไปยังเส้นประสาทของเนื้อเยื่อองคชาตใหม่เพื่อให้มีความรู้สึกขณะมีเพศสัมพันธ์ สำหรับความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศสามารถสร้างได้โดยการผ่าตัดใส่อุปกรณ์ช่วยการแข็งตัว (penile prostheses) แบบกึ่งแข็งหรือแบบปั๊มลม หรืออาจผ่าตัดปลูกถ่ายกระดูกเพื่อที่จะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมในร่างกาย
 
  • ท่อปัสสาวะตีบ ท่อปัสสาวะรั่ว ปัสสาวะไม่สุด มีขนขึ้นภายในท่อปัสสาวะหรือปัสสาวะไหลย้อนกลับจากกระเพาะปัสสาวะขึ้นสู่ไตหรือท่อไต
  • การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อล้มเหลว (flap failure)
  • องคชาตที่สร้างขึ้นไม่มีความรู้สึกหรือไม่สามารถใช้ร่วมเพศได้
  • รอยแผลเป็นบริเวณตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่นำมาใช้ (donor site morbidity)
  • ติดเชื้อ แผลแยกหรือหายไม่สนิท มีเลือดออกจากแผลผ่าตัด
  • อาจทำให้มีแผลเป็นในบริเวณที่ใช้เนื้อเยื้อมาสร้างอวัยวะเพศชาย เช่น แขนหรือต้นขา
  • อาจต้องทำการผ่าตัดมากกว่า 1 ครั้งเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี
การผ่าตัดทั้ง 2 วิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ผู้เข้ารับการบริบาลควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละวิธีการอย่างชัดเจน และแจ้งแพทย์ถึงความต้องการในผลลัพธ์ของการผ่าตัด เพื่อแพทย์จะได้เลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบุคคล โดยดูจากความต้องการ รวมถึงสุขภาพ โครงสร้างและลักษณะทางกายภาพของผู้รับการบริบาลร่วมด้วย

คลินิก Pride โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้การบริบาลปรับลักษณะทางกายภาพหรือปรับเพศสภาพตามความต้องการเฉพาะบุคคล ด้วยการดูแลและรักษาที่ปลอดภัยอย่างมีมาตรฐานสูง ทีมงานของเราประกอบด้วยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญด้านการผ่าตัดปรับสรีระ รวมถึงแพทย์ผู้ชำนาญการในสาขาที่เกี่ยวข้องและสหสาขาวิชาชีพอีกหลากหลายสาขา


รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คลินิก Pride 
โทร 063-221-0957 หรือ 02-066-8888 และ 1378
 

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

คลินิก Pride

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต NaN of 10, จากจำนวนคนโหวต 0 คน

Related Health Blogs