bih.button.backtotop.text

การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

การปลูกถ่ายตับ เป็นวิธีการรักษาโรคตับระยะสุดท้าย เช่น ตับแข็งระยะสุดท้าย ภาวะตับวายเฉียบพลัน หรือมะเร็งตับที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดหรือวิธีอื่นได้ การปลูกถ่ายตับช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น โดยผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายตับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี ร้อยละ 97 รอดชีวิต 5 ปี ร้อยละ 82 และรอดชีวิต 10 ปี ร้อยละ  67

รู้จักศูนย์ปลูกถ่ายตับ บำรุงราษฎร์
ศูนย์ปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  มีประสบการณ์ในการปลูกถ่ายตับกว่า 22 ปี พร้อมด้วยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ ทีมศัลยแพทย์ Harvest  อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ พยาธิแพทย์ และทีมพยาบาล ร่วมดูแลทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายตับ
 
การปลูกถ่ายตับ เป็นวิธีการรักษาโรคตับระยะสุดท้าย ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต และทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น โดยภาวะที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการปลูกถ่ายตับ ได้แก่

 
icon_liver_1-copy-2.png โรคตับแข็งระยะท้ายที่มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น น้ำในช่องท้อง หรือเลือดออกจากเส้นเลือดขอด
icon_liver_2-copy-2.png ภาวะตับวายเฉียบพลัน
icon_liver_3.png มะเร็งตับที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ดังนี้
  • มะเร็งมีก้อนเดียวและขนาดใหญ่ไม่เกิน 5 เซนติเมตร
  • มะเร็งมีไม่เกิน 3 ก้อนโดยที่แต่ละก้อนมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 3 เซนติเมตร
ไม่มีการกระจายของมะเร็งไปที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ของตับหรือกระจายออกนอกตับ
icon_liver_4-copy-2.png ภาวะแทรกซ้อนจากโรคตับ เช่น อ่อนเพลียมากจนไม่สามารถทำงานได้ คันมากที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น


 
การปลูกถ่ายตับนั้นศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาตับเดิมออกทั้งหมดและนำตับใหม่ใส่ลงไปแทนที่ โดยตับใหม่นี้มีแหล่งที่มาได้ 2 รูปแบบ
 
icon_liver_5-copy-2.png การปลูกถ่ายตับจากผู้บริจาคสมองตาย (Deceased Donor Liver Transplant) คือ การปลูกถ่ายตับที่ได้รับจากผู้บริจาคที่ลงทะเบียนกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ซึ่งผู้บริจาคตับดังกล่าวได้รับการวินิจฉัยจากคณะแพทย์ว่าผู้บริจาคมี “ภาวะสมองตาย”
icon_liver_6-copy-2.png การปลูกถ่ายตับจากผู้บริจาคมีชีวิต (Living Donor Liver Transplant) คือ การปลูกถ่ายตับโดยการผ่าแบ่งตับบางส่วนจากผู้บริจาคที่มีชีวิตเพื่อนำไปปลูกถ่ายให้กับผู้รับบริจาค โดยตับของผู้บริจาคจะงอกกลับมาเกือบปกติในระยะเวลา 2 เดือน
ผู้บริจาค ได้แก่
  1. ผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น บิดา มารดา บุตร พี่น้อง
  2. ผู้ที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น คู่สมรส เป็นต้น
การประเมินผู้ป่วยเพื่อเข้าโครงการปลูกถ่ายตับนั้นมีการตรวจหลายขั้นตอน เช่น การตรวจเลือด ตรวจภาพรังสีของตับ (CT scan หรือ MRI) การตรวจการทำงานของหัวใจและปอด การประเมินสภาพจิตใจของผู้ป่วย โดยต้องตรวจร่วมกับแพทย์สหสาขา พยาบาลประสานงาน เป็นต้น ทั้งนี้การส่งผู้ป่วยเพื่อประเมินความเหมาะสมก่อนการปลูกถ่ายตับมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่รอรับตับได้ ในกรณีรอรับบริจาคจากผู้ป่วยสมองตาย ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลาเพื่อรอรับบริจาคอวัยวะ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาได้
 
  • ปรึกษาแพทย์โรคตับ เพื่อดูความพร้อมและความเหมาะสมในการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • กรณีได้รับบริจาคจากผู้บริจาคสมองตาย
    • ตรวจร่างกาย กรุ๊ปเลือด และเนื้อเยื่อ HLA Typing ต่างๆ ตามที่แพทย์พิจารณา
    • ลงทะเบียนเพื่อรอรับการบริจาคตับ จากสภากาชาดไทย
    • เมื่อได้รับการบริจาค ผู้ป่วยเข้ากระบวนการปลูกถ่ายตับ
    • หลังการปลูกถ่ายผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาล
    • ทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองขณะพักฟื้นที่บ้าน
    • ตรวจติดตามอาการ พร้อมเจาะเลือดตามนัด
  • กรณีได้รับบริจาคจากผู้บริจาคที่มีชีวิต
    • ตรวจร่างกาย กรุ๊ปเลือด และเนื้อเยื่อ HLA Typing ต่างๆ ตามที่แพทย์พิจารณา
    • ประชุมคณะอนุกรรมการ เพื่อลงความเห็นชอบ
    • ผู้ป่วยเข้ากระบวนการปลูกถ่ายตับ
    • หลังการปลูกถ่ายผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาล
    • ทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองขณะพักฟื้นที่บ้าน
    • ตรวจติดตามอาการ พร้อมเจาะเลือดตามนัด
รับทราบถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเพื่อเป็นผู้บริจาคตับ เช่น หมู่เลือดและขนาดของตับ รวมถึงความเสี่ยงและผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
icon_liver_8-copy-2.png ผู้บริจาคจะได้รับการตรวจประเมินและดูแลจากแพทย์โรคตับอีกท่านหนึ่งเพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิ์ให้แก่ผู้บริจาค
icon_liver_10-copy-2.png ตรวจสอบหลักฐานเพื่อยืนยันความสัมพันธ์กับผู้รับบริจาคตามข้อกำหนดของศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง ทะเบียนสมรส สูติบัตร เป็นต้น

กรณีชาวต่างชาติ เอกสารยืนยันการเป็นเครือญาติหรือสามี ภรรยา ต้องได้รับการออกเอกสารโดยสำนักงานกฎหมายในประเทศที่พักอาศัยอยู่ และได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ และได้รับการรับรองความถูกต้องของเอกสารจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
icon_liver_10-copy-2-(1).png แพทย์ซักประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาไวรัสหรือโรคติดเชื้ออื่นๆ เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ การตรวจวัดปริมาตรของตับ และการตรวจอื่นๆ ที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
icon_liver_11-copy-2-(1).png การตรวจประเมินสภาพจิตใจและจิตสังคมโดยจิตแพทย์ เพื่อดูความพร้อมและความสมัครใจของการบริจาคตับ
icon_liver_12-copy-2.png ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการปลูกถ่ายอวัยวะของโรงพยาบาลว่าสามารถบริจาคบางส่วนของตับให้กับผู้รับบริจาคได้
ศูนย์ปลูกถ่ายตับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  มีประสบการณ์ในการปลูกถ่ายตับกว่า 22 ปี พร้อมด้วยทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ ทีมศัลยแพทย์ Harvest  อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร วิสัญญีแพทย์ รังสีแพทย์ พยาธิแพทย์ และทีมพยาบาล ร่วมดูแลทั้งก่อนและหลังการปลูกถ่ายตับ

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีอัตราการรอดชีวิตใน 1 ปี ร้อยละ 97 รอดชีวิต 5 ปี ร้อยละ 82 และรอดชีวิต 10 ปี ร้อยละ  67
 

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 10.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs