bih.button.backtotop.text

การเจาะน้ำคร่ำตรวจวินิจฉัยพันธุกรรม

การเจาะน้ำคร่ำตรวจวินิจฉัยพันธุกรรม เป็นการตรวจคัดกรองในระหว่างการตั้งครรภ์โดยนำน้ำคร่ำออกมาเพื่อตรวจวิเคราะห์หาโครโมโซมของทารกในครรภ์ โดยส่วนใหญ่การเจาะน้ำคร่ำตรวจจะทำในช่วงอายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ ในน้ำคร่ำจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดลอกออกมาตามธรรมชาติจากผิวหนัง ปอด และทางเดินปัสสาวะ เซลล์และโปรตีนในน้ำคร่ำจะนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) พาทัวซินโดรม (Patau syndrome) เทอเนอร์ซินโดรม (Turner syndrome) และสามารถตรวจวัดระดับอัลฟาฟีโตโปรตีน (alpha-fetoprotein: AFP) ในน้ำคร่ำได้
กระบวนการเจาะน้ำคร่ำจะใช้เวลาประมาณ 45 นาที ซึ่งเวลาส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ (ultrasound) อย่างละเอียดก่อน และใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ช่วยในระหว่างการเจาะน้ำคร่ำด้วย

การเจาะน้ำคร่ำตรวจจะแนะนำในกลุ่มบุคคล ดังต่อไปนี้
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเมื่อนับถึงวันคลอด
  • คู่สมรสที่มีบุตรหรือมีสมาชิกในครอบครัวมีโครโมโซมผิดปกติ
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่การตรวจคัดกรองแสดงผลผิดปกติ เช่น NIPT (non-invasive prenatal test) ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองโครโมโซมของทารกในครรภ์ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ หรือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่นๆ โดยการตรวจเลือดของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปถึงตลอดการตั้งครรภ์
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความผิดปกติของการจัดโครงสร้างของโครโมโซม (chromosomal rearrangements) เช่น ข้อมูลบนเส้นดีเอ็นเอมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างโครโมโซมที่คล้ายกัน (translocations) หรือบางส่วนหรือท่อนของโครโมโซมกลับหัวกลับท้ายในโครโมโซมตัวนั้นๆ (inversions)
  • คู่สมรสที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีบุตรเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดที่การตรวจน้ำคร่ำสามารถบอกได้
  • คู่สมรสที่การตั้งครรภ์ครั้งก่อนมีบุตรที่มีภาวะท่อประสาทปิดไม่สนิท (เช่น โรคไขสันหลังไม่ปิด หรือไม่มีเนื้อสมอง)
 
หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปเมื่อนับถึงวันคลอดไม่ประสงค์ที่จะเจาะน้ำคร่ำสามารถปรึกษาสูติแพทย์ในการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองความผิดปกติทางโครโมโซมได้ แต่สามารถคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมได้บางคู่เท่านั้น เช่น โครโมโซมคู่ที่ 21 (กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม) และเมื่อมีการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองความผิดปกติทางโครโมโซมแล้วหากผลการตรวจระบุว่าผิดปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกรายต้องทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยความผิดปกติ แต่ถ้ายังมีความประสงค์ไม่ต้องการเจาะน้ำคร่ำเพิ่มต้องปรึกษาสูติแพทย์ที่ดูแลครรภ์ในการวางแผนการดูแลรักษาต่อ

Related conditions

Doctors Related

Related Centers

ศูนย์สูติ-นรีเวช

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 4.00 of 10, จากจำนวนคนโหวต 1 คน

Related Health Blogs