bih.button.backtotop.text

อาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน

อาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุน หรือที่นิยมเรียกกันว่าอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (vertigo) เป็นอาการเวียนศีรษะประเภทหนึ่งที่มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือสิ่งของที่มองเห็นหมุนไป หรือรู้สึกว่าตัวเองหมุนไปทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วตนเองอยู่กับที่และไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียสมดุลการทรงตัวและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนคือ ความผิดปกติของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมีหลายโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการนี้ได้ อาทิ

อาการหลัก ได้แก่ อาการเวียนศีรษะแบบหมุน เอียง หรือโคลงเคลง มีความรู้สึกเหมือนเมารถเมาเรือ เป็นๆ หายๆ ไม่ได้เป็นตลอดเวลา และอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หูอื้อ มีเสียงในหู สูญเสียการได้ยิน มองเห็นภาพไม่ชัดในขณะที่มีการเคลื่อนไหว เป็นต้น
  • การซักประวัติอย่างละเอียด
    • อาการเวียนศีรษะ เช่น ลักษณะของอาการเวียนศีรษะ อาการร่วม (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน) ระยะเวลาและช่วงเวลาที่มีอาการ รวมถึงอาการร่วมทางหู (เช่น อาการหูอื้อหรือมีเสียงรบกวนในหู)
    • ประวัติสุขภาพ เช่น โรคประจำตัว ประวัติโรคทางหู ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ ประวัติการผ่าตัดต่างๆ ประวัติการใช้ยาประจำ
  • การตรวจร่างกาย เช่น
    • การตรวจหูอย่างละเอียด
    • การตรวจระบบประสาทและการทรงตัว
    • การตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน (videoelectronystagmography: VNG)
    • การตรวจดูการกลอกของลูกตาและการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่างๆ
  • การตรวจพิเศษเพิ่มเติม (เมื่อสงสัยว่ามีความผิดปกติของการทำงานในหูชั้นใน) เช่น
    • การตรวจการได้ยิน (audiogram)
    • การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (electronystagmography)
    • การตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน (evoke response audiometry)
  • การตรวจพิเศษทางรังสี (ในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติสมอง) เช่น ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
เนื่องจากอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนเกิดได้จากหลายสาเหตุ การรักษาจะขึ้นกับสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  • หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างเกิดอาการ เช่น การหมุนหันศีรษะเร็วๆ การเปลี่ยนแปลงท่าทางอิริยาบถอย่างรวดเร็ว การก้มเงยคอหรือหันอย่างเต็มที่
  • ลดปริมาณหรืองดการสูบบุหรี่/ดื่มกาแฟ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ และการพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่ควรอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การขับรถในขณะยังมีอาการ การปีนป่ายที่สูง

การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์รักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หู คอ จมูก

ดูเพิ่มเติม

ศูนย์การได้ยินและการทรงตัว

ดูเพิ่มเติม

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.66 of 10, จากจำนวนคนโหวต 122 คน

Related Health Blogs