bih.button.backtotop.text

กรรมพันธุ์ก่อมะเร็ง…คุณมีความเสี่ยงหรือไม่

การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่ไปสู่รุ่นลูกหลาน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา หรือความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็งบางชนิด


การตรวจพันธุกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง ใช้กับมะเร็งชนิดใดบ้าง

มะเร็งที่แพทย์เลือกตรวจ มักจะเป็นมะเร็งที่มีอัตราการเป็นมะเร็งที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์สูง คือมีโอกาสสูงที่จะเป็นกรรมพันธุ์ มะเร็งเหล่านี้ในหญิงและชายทั่วไป ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งโพรงมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งไทรอยด์ โดยหลักๆ จะเน้นประมาณ 4-5 มะเร็งนี้ แต่ยังมีมะเร็งชนิดย่อยๆ หลายมะเร็ง เพียงแต่ว่าไม่ใช่สำหรับทุกมะเร็ง
 

ใครบ้างที่ควรตรวจพันธุกรรมเพื่อป้องกันมะเร็ง

อันที่ 1 คือ หากเป็นผู้ป่วยที่ทราบแล้วว่าตนเองเป็นมะเร็ง การตรวจนั้นเพื่อยืนยันว่ามะเร็งนั้นเกิดขึ้นจากพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ กรณีเช่นนี้ ผู้ที่เหมาะสมจึงเป็นผู้ป่วยที่เป็นโรคแล้ว
 
การตรวจแบบที่ 2 เป็นการตรวจเพื่อหาความเสี่ยงในคนที่ยังสุขภาพแข็งแรงดี การตรวจในลักษณะนี้ คนที่มาตรวจ ตนเองยังไม่ได้เป็นมะเร็งและอาจจะไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้ แต่เป็นการตรวจว่าตนเองมีความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ที่อาจจะเกิดมะเร็ง 4-5 ชนิดที่กล่าวไปข้างต้นหรือไม่
 
กลุ่มสุดท้าย คือ กลุ่มที่ต้องการดูแลสุขภาพอย่างเข้มข้น ตนเองไม่มีประวัติอะไรเลย และครอบครัวก็ปกติแข็งแรงดี แต่ต้องการรู้ว่าตนเองอาจจะเผอิญมีกรรมพันธุ์ก่อมะเร็งซ่อนอยู่ในตัวหรือไม่
 

ผลตรวจจะเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต ใช่หรือไม่

เราตรวจกรรมพันธุ์และพบว่ากรรมพันธุ์ มีกรรมพันธุ์ก่อมะเร็งแน่ๆ อันนี้คือมีความเสี่ยงสูงมาก เช่น ถ้าอยู่จนถึงอายุ 70 – 80 ปี จะมีโอกาสร้อยละ 70 – 80 ที่จะเป็นมะเร็ง หากตรวจไม่พบกรรมพันธุ์ก่อมะเร็งเลย ไม่ใช่แปลว่าจะไม่เป็นมะเร็ง สิ่งแวดล้อมอาจก่อมะเร็งเมื่ออายุมากขึ้นหรือในอนาคต เพียงแต่ในเวลานี้ ไม่มีความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์และโอกาสการเป็นมะเร็งไม่ได้สูงกว่าประชากรทั่วไป
 

เมื่อผลออกมาแล้ว จะมีวิธีป้องกันการเกิดมะเร็งที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมอย่างไร

การป้องกันมะเร็ง ถ้าทราบว่ามีกรรมพันธุ์แล้ว ประกอบด้วย เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเป็นวิธีที่หนึ่ง
 
วิธีที่สอง คือ อาจจะทานยาบางชนิดเพื่อป้องกันหรือลดโอกาสการเป็นมะเร็ง หรือปรับชีวิตประจำวัน
 
วิธีที่สาม คือ ผ่าตัดอวัยวะที่เสี่ยงออก หากว่าอวัยวะนั้นเป็นอวัยวะที่อาจจะไม่สำคัญ หรือไม่สำคัญต่อเราแล้วในชีวิต หรือไม่ต้องใช้อวัยวะนั้นแล้ว เช่น มดลูกและรังไข่หลังสุภาพสตรีหมดประจำเดือนแล้ว อวัยวะเหล่านี้ไม่ได้ทำงานแล้ว การทิ้งไว้ก็จะเสี่ยง การผ่าตัดก็อาจช่วยได้
 

หากตรวจพบยีนมะเร็ง มีแนวทางป้องกันอย่างไร

การทราบว่ามะเร็งนั้นเกิดจากกรรมพันธุ์ อาจนำไปสู่การเลือกใช้ยาบางชนิดหากเป็นมะเร็ง เพราะมะเร็งที่เป็นกรรมพันธุ์อาจจะตอบสนองต่อยาแตกต่างจากมะเร็งชนิดที่ไม่ได้เป็นกรรมพันธุ์
 
เคมีบำบัดบางชนิดอาจจะไม่เลือกใช้เหมือนกับกรณีที่ไม่เป็นกรรมพันธุ์ ทางเลือกอาจจะมีมากขึ้น เพราะเรารู้ว่าต้นเหตุนั้นเกิดจากกรรมพันธุ์ กรรมพันธุ์นั้นผิดปกติยาควรจะเลือกแบบนั้นนะ
 
อันนี้เป็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 10 ปีนี้ ที่เรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้าหรือการรักษาแบบแม่นยำ คือ Precision Medicine

 

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs