bih.button.backtotop.text

คำแนะนำหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

ไตบริจาคสำหรับการปลูกถ่ายมี 2 แบบคือ ไตบริจาคจากญาติที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และไตบริจาคจากผู้ป่วยสมองตาย ซึ่งกรณีที่รอรับไตจากผู้บริจาคสมองตาย ผู้ป่วยจะต้องเข้าคิวรอรับการปลูกถ่ายไต

3-คำแนะนำดๆ-หลงผาตดปลกถายไต-1500.jpg
 

ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดปลูกถ่ายไต

การผ่าตัดปลูกถ่ายไตถือว่าเป็นการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่หายขาด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนี้
  1. ภาวะปฏิเสธไตหรือการสลัดไต สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานยากดภูมิคุ้มกันหลังปลูกถ่ายไตไม่ สม่ำเสมอซึ่งจะทำให้ไตทำงานได้ลดลง อาจนำไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายได้ทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมาล้าง ไตหรือรอผ่าตัดปลูกถ่ายไตอีกครั้ง
  2. การติดเชื้อ ผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายไตจะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ เนื่องจากต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน
  3. อาการไม่พึงประสงค์จากยา ผู้ป่วยบางรายอาจมีผลข้างเคียงของยากดภูมิคุ้มกันอื่นๆ เช่น หน้าบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้น เกิดสิว ขนขึ้นตามใบหน้า ต้อกระจก เบาหวาน กระเพาะอาหารอักเสบ ความดันโลหิตสูง และกระดูกพรุน
  4. ความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันติดต่อกันระยะยาวจะมีความเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งเพิ่มขึ้นกว่าคนปกติได้
 

ดังนั้นควรทำความเข้าใจและปฏิบัติตนอย่ำงเข้มงวดทุกขั้นตอนเมื่อกลับบ้าน ดังต่อไปนี้


การบันทึกในแบบบันทึกประจำวัน ทำการติดตามและบันทึกเป็นเวลา 1 เดือน
  1. เมื่อรู้สึกว่ามีไข้ ให้วัดอุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติไม่ควรสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  2. ตรวจวัดความดันโลหิตก่อนอาหารเช้าและก่อนอาหารเย็น
  3. ตรวจดูลักษณะสีกลิ่น ปริมาณของปัสสาวะเป็นประจำ
 

อาการที่ควรติดต่อแจ้งให้อายุรแพทย์โรคไตทราบทันที

  1. มีไข้หรือมีอาการคล้ายเป็นหวัด
  2. เหนื่อย อ่อนเพลียกว่าปกติ
  3. บวมตามตัว เช่น ที่หนังตา ที่มือ ที่เท้า เป็นต้น
  4. ปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของภาวะปฏิเสธอวัยวะ
  5. ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ
  6. ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 1 ลิตรต่อวัน โดยที่ยังดื่มน้ำเป็นปกติ
  7. ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มถึงส้มหรือมีเลือดปน
 

การดูแลแผลผ่าตัด

  1. ตรวจดูบริเวณแผลผ่าตัดทุกวัน เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ เช่น มีอาการบวม แดง ร้อน ตึง มีของเหลวซึม
  2. อย่าดึงแผ่นปิดที่ยึดแผลผ่าตัดออก แผ่นปิดยึดแผลจะหลุดออกเองตามเวลาและไม่ต้องปิดยึดใหม่เมื่อหลุดออก
 

ข้อสำคัญที่ควรปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ยา

  1. รับประทานยาตรงเวลา
  2. อย่าปรับปริมาณยาหรือหยุดยาเอง แม้จะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  3. หากลืมรับประทานยาภายใน 6 ชั่วโมง (กรณีรับประทานยาทุก 12 ชั่วโมง) ให้รับประทานยาเมื่อนึกได้ทันที แล้ว รับประทานยามื้อถัดไปตามปกติห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่าโดยเด็ดขาด
  4. ถ้ารับประทานยาเกินขนาดหรือลืมรับประทานยาโดยมิได้ตั้งใจ รีบบอกแพทย์ทันที
  5. จำไว้วายาเป็นของคุณคนเดียวเท่านั้น อย่าให้ผู้อื่นรับประทาน
  6. อย่ารับประทานยาที่หมดอายุแล้ว
  7. แจ้งแพทย์ทราบทันที ถ้ามีอาการข้างเคียงใหม่ๆ จากยา หรือมีอาการผิดปกติเมื่อรับประทานยา
  8. อย่าซื้อยาจากร้านขายยารับประทานเอง โดยแพทย์ไม่ได้สั่ง
  9. เก็บยาไว้ในที่เย็น แห้ง ห่างจากแสงแดด และห่างจากมือเด็ก
  10. อย่าเก็บยาในตู้เย็น นอกจากเภสัชกรหรือแพทย์สั่ง
  11. ตรวจสอบว่ายามีจำนวนพอที่จะรับประทานในช่วงวันหยุด หรือเมื่อต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เป็นระยะเวลานานๆ
  12. เมื่อแพทย์สั่งเพิ่มปริมาณยา ควรตรวจสอบว่ามียาเพียงพอสำหรับปริมาณที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เนื่องจากสถานที่บางแห่งไม่มียากดภูมิคุ้มกันจำหน่าย
 

กิจกรรมและการออกกำลังกาย

  1. ไม่ควรยกลาก ดึงสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก
  2. ปรับเพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ ทีละน้อยในระยะ 3 เดือนหลังผ่าตัดจนกระทั่งเข้าสู่กิจกรรมปกติก่อนการผ่าตัด ปลูกถ่ายไต
  3. สามารถขับรถและคาดเข็มขัดนิรภัยได้ เมื่อไม่มีอาการปวดแผลผ่าตัด
  4. ควรเริ่มออกกำลังกายภายหลังผ่าตัดไปแล้ว 6 สัปดาห์ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายเบาๆ ก่อน
  5. หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะหรือกีฬาที่อยู่ร่วมกับกลุ่มคนจำนวนมาก
  6. หลีกเลี่ยงการกดทับบริเวณแผลผ่าตัด
  7. หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น หวัด การอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก และการอยู่กับบุคคลที่มีอาการ ไอ เป็ นหวัด หรือมีภาวะติดเชื้อ ถ้าจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ


เรียบเรียงโดย ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs