bih.button.backtotop.text

ทำไมคุณจำเป็นต้องรู้หมู่เลือดของตัวเอง

24 พฤศจิกายน 2559

เลือดมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน นั่นคือ เม็ดเลือดแดง (red blood cells) เม็ดเลือดขาว (white blood cells) น้ำเลือด (plasma) และเกล็ดเลือด (platelets) นอกจากหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่างแล้ว เลือดยังมีหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน สารอาหารและโปรตีนเข้าสู่ร่างกาย เลือดแบ่งออกได้หลายหมู่ โดยมีคุณลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกัน

 

หมู่เลือดคืออะไร

เราทุกคนมีเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย แต่เราไม่ได้มีหมู่เลือดที่เหมือนกันทุกคน หมู่เลือดเป็นตัวกำหนดว่าเราสามารถรับเลือดได้จากใครและสามารถบริจาคเลือดให้ใครได้บ้าง หมู่เลือดสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดแปดหมู่ดังนี้ A+, A-, B+, B-, AB+, AB-, O+ และ O-

แอนติเจนเป็นสารก่อภูมิต้านทาน แอนติเจน A และ B ที่อยู่บนผิวหรือไม่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดงเป็นตัวกำหนดหมู่เลือดในร่างกายของคน นอกจากนี้ร่างกายยังมีหมู่เลือดประกอบด้วยแอนติเจนที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า อาร์เอชแฟกเตอร์ (Rh factor) ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่อยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง เป็นตัวบ่งบอกว่าหมู่เลือดนั้นเป็นบวกหรือเป็นลบ (Rh positive หรือ Rh negative)

 

เข้าใจเรื่องการให้เลือด

มีแนวทางการให้เลือดอย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน โดยที่หมู่เลือดของผู้ให้และผู้รับต้องเป็นหมู่เลือดที่เข้ากันได้เท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงผลร้ายที่อาจเกิดขึ้น เราสามารถแบ่งว่าหมู่เลือดใดสามารถให้และรับเลือดกันได้ ดังนี้

  • หมู่เลือด A+ สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด A+ และ AB+ เท่านั้นและสามารถรับเลือดได้จากหมู่เลือด A+, A-, O+ และ O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด A- สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด A+, A-, AB+ และ AB- เท่านั้นและสามารถรับเลือดจากหมู่เลือด A- และ O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด B+ สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด B+ และ AB+เท่านั้นและสามารถรับเลือดจากหมู่เลือด B+, B-, O+ และ O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด B- สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด B+, B-, AB+, และ AB- เท่านั้นและสามารถรับเลือดจากหมู่เลือด B- and O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด AB+ สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด AB+เท่านั้นและสามารถรับเลือดจากทุกหมู่เลือด
  • หมู่เลือด AB- สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด AB+ และ AB- เท่านั้นและสามารถรับเลือดได้จากหมู่เลือด A-, B-, AB- และ O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด O+ สามารถบริจาคเลือดให้หมู่เลือด A+, B+, AB+ และ O+ เท่านั้นและสามารถรับเลือดได้จากหมู่เลือด O+ และ O- เท่านั้น
  • หมู่เลือด O- สามารถบริจาคเลือดให้ทุกหมู่เลือดหรือเรียกกันว่ากลุ่มเลือดของผู้บริจาคได้ทั้งหมดและสามารถรับเลือดได้จากหมู่เลือด O- เท่านั้น

การรับเลือดผิดหมู่ทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ถ้ามีคนได้รับเลือดจากหมู่เลือดที่ไม่เข้ากับหมู่เลือดของตัวเอง ระบบภูมิคุ้มกันของผู้รับเลือดจะทำงานและโจมตีเลือดที่เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น ส่งผลให้ไตวาย การไหลเวียนของเลือดล้มเหลว เกิดอาการช็อกและอาจเสียชีวิต ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องปิดฉลากระบุหมู่เลือดอย่างถูกต้อง

คนส่วนใหญ่มักไม่ตระหนักว่าการบริจาคเลือดมีหลายประเภท การบริจาค “เลือดทั่วไป” (whole blood) เป็นวิธีการบริจาคที่รู้จักกันมากที่สุดและเป็นวิธีการที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย อย่างไรก็ตามยังมีวิธีการบริจาคเลือดแบบอื่นคือ การบริจาคเม็ดเลือดแดง (double red cells) การบริจาคเกล็ดเลือด (platelets) การบริจาคน้ำเลือด (plasma) ซึ่งการบริจาคเลือดแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การบริจาคเกล็ดเลือด (platelet apheresis) เป็นกระบวนการเลือกแยกเฉพาะเกล็ดเลือดระหว่างการบริจาคโดยใช้เครื่องแยกเกล็ดเลือด เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการรักษาโรคมะเร็งและการปลูกถ่ายอวัยวะ

 

บทสรุป

คนที่จำเป็นต้องรู้หมู่เลือดของตัวเอง คือสตรีตั้งครรภ์เพื่อจะได้รู้ว่าทารกในครรภ์มีอาร์เอชชนิดใด เพราะการที่มารดาและทารกในครรภ์มีอาร์เอชแฟกเตอร์ที่ไม่เข้ากันจะมีโอกาสเกิดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ได้ และเหตุผลที่น่าจะเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการรู้หมู่เลือดของตัวเอง คือเวลาที่คุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์และต้องได้รับเลือดอย่างฉุกเฉิน ถึงแม้คุณสามารถตรวจหมู่เลือดได้ก่อนการรับเลือดแต่ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องรู้หมู่เลือดของตัวเองเผื่อมีความสับสนหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ ในกรณีเกิดเรื่องฉุกเฉินระดับประเทศและคุณต้องการบริจาคเลือดให้คนที่ต้องการเลือด หน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินมักประกาศว่าเลือดหมู่ไหนที่กำลังขาดแคลน ซึ่งอาจตรงกันกับหมู่เลือดของคุณ คุณควรตระหนักว่าข้อมูลเล็กน้อยนี้มีประโยชน์ในหลายๆทางไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือคนอื่นหรือการป้องกันตัวเองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

 

เรียบเรียงโดย นพ. หฤษฎ์ สุวรรณรัศมี ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs