bih.button.backtotop.text

6 วัคซีนที่จำเป็น ฉีดเสริมภูมิคุ้มกัน

1. วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

ทุกปีมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ทั่วโลก โดยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2562 มีรายงานผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่มากกว่า 36,976 ราย ซึ่งก่อให้เกิดการเจ็บป่วย การนอนโรงพยาบาล หรืออาจถึงเสียชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ผู้ป่วยสูงอายุ เด็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง
 
กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • ทุกคนที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
  • vaccine at home ให้ในผู้ป่วยที่อายุ 3 ปีขึ้นไป
1 เข็ม ปีละครั้ง
 


2. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

เชื้อ HPV เป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่จะหายได้เอง แต่มีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ที่กลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรังและก่อให้เกิดมะเร็งหลากหลายชนิด โดยมะเร็งที่สำคัญคือ มะเร็งปากมดลูกซึ่งเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับสองในผู้หญิง โดยการติดเชื้อ HPV  เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกถึง 99.7 เปอร์เซ็นต์ จึงควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
 
กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • ผู้หญิง อายุ 9-26 ปี
  • ผู้ชาย อายุ 9-21 ปี (ผู้ชายที่อายุมากว่า 21 ปี สามารถรับวัคซีนได้หลังปรึกษาแพทย์)
  • อายุ 9-14 ปีฉีด 1 เข็ม
    2 ครั้ง (เดือนที่ 0, 6-12)
  • อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
    ฉีด 1 เข็ม 3 ครั้ง (เดือนที่ 0, 2, 6)
  • ประวัติแพ้วัคซีนมะเร็งปากมดลูก
  • สตรีมีครรภ์
  


3. วัคซีนป้องกันงูสวัด  

โรคงูสวัดส่วนมากจะหายได้เองหลังมีอาการ แต่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะอาการปวดเรื้อรังตามบริเวณเส้นประสาทที่เป็นแสดงอาการของโรค โดยอาการปวดสามารถเป็นได้นาน 90 วันหรือมากกว่านั้นภายหลังจากที่ผื่นหายไปแล้ว ภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้มากขึ้นในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังบางโรคที่ทำให้ประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันลดลง แนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทุกคนรับวัคซีนป้องกันงูสวัด 
 
กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงคนที่เคยเป็นงูสวัดมาก่อน หรือมีโรคประจำตัวเรื้อรัง
1 เข็ม ฉีดครั้งเดียว
  • ผู้ที่มีประวัติแพ้ Gelatin, แพ้ยาปฏิชีวนะ Neomycin แบบรุนแรง
  • หลังฉีดวัคซีนควรคุมกำเนิด 
    3 เดือน
  • แนะนำให้ฉีดห่างจาก Pneumo 23® เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เนื่องจากอาจจมีผลลดประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิของ Zostavax ลงเล็กน้อย
  


4. วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ

การติดเชื้อปอดอักเสบ นิวโมคอคคัส พบได้บ่อยในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ในคนปกติ อาการของการเชื้อมักไม่รุนแรง แต่ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงและเสียชีวิตได้ แนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปทุกคนฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ  

กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • อายุ 65 ปีขึ้นไป (หรือผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีโรคประจำตัว กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด)
  • 2 เข็ม ห่างกัน 1 ปี
  • ถ้าเริ่มด้วย Prevnar ควรห่าง Pnuemo อย่างน้อย 8 สัปดาห์
  • ถ้าเริ่มด้วย Pneumo ควรห่างจาก Prevnar อย่างน้อย 1 ปี
แนะนำให้ฉีดห่างจาก Influenza vaccine เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เนื่องจากอาจมีผลลดประสิทธิภาพการกระตุ้นภูมิของ Prevnar® ลงเล็กน้อย
 


5. วัคซีนป้องกัน คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน

แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ให้กับเด็กทุกคนที่มารับวัคซีนในระบบสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลกมาเป็นระยะเวลานาน แต่ก็ยังมีรายงานการพบผู้ป่วยติดเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะค่อย ๆ ลดระดับลงหลังจากได้วัคซีนครั้งสุดท้าย โดยเมื่อผ่านไปนานเกิน 10 ปี ระดับภูมิคุ้มกันจะต่ำจนอยู่ในระดับเสี่ยงที่สามารถติดเชื้อได้ แนะนำให้ทุกคนได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันทุก ๆ 10 ปี  
 
กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • อายุ 11 ปีขึ้นไป ใช้สำหรับกระตุ้นภูมิ ทุก 10 ปี
ฉีด 1 เข็ม ทุก 10 ปี
  • ประวัติแพ้วัคซีน
    คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน หรือเคยมีผลข้างเคียงรุนแรงหลังจากฉีดวัคซีนตัวนี้
 


6. วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส 

โรคอีสุกอีใสเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยมีอาการเป็นตุ่มตามผิวหนัง ติดต่อผ่านการสัมผัส หรือการไอจาม ในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ แนะนำให้ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนตอนเด็ก (วัคซีนเริ่มมีใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523) และยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมากก่อน รับการฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใส
 
กลุ่มที่แนะนำ วิธีการให้ ข้อห้าม
  • ผู้ที่ไม่เคยรับวัคซีนมาก่อน และไม่เคยเป็นอีสุกอีใส
ฉีด 2 เข็ม โดย ห่างกัน
4-8 สัปดาห์ (ห่างอย่างน้อย 6 สัปดาห์ดีที่สุด)
  • ห้ามใช้ในผู้แพ้ยาปฏิชีวนะ Neomycin แบบรุนแรง
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

• คลินิกวัคซีน (Vaccine Center)

07.00-17.00  (BKK Time)
Tel: 02 011 3193 

เบอร์ Contact center 02 066 8888 และ 1378


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs