ครรภ์แฝดมีความเสี่ยงสูงกว่าครรภ์ปกติ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ และภาวะแทรกซ้อนของทารก เช่น น้ำหนักตัวน้อยหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากสูติแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิดตลอดการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์แฝด เสี่ยงครรภ์เป็นพิษสูงกว่าปกติ
ครรภ์แฝดจะมีโอกาสเรื่องครรภ์เป็นพิษได้สูง ครรภ์เป็นพิษก็คือ ความดันสูงระหว่างตั้งครรภ์ ตอนคลอดอาจจะต้องคลอดเร็วกว่าปกติ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แฝด
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด ไม่ว่าจะเป็นแฝด 2 แฝด 3 ก็แล้วแต่ ถือว่าเป็น ครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะฉะนั้นความเสี่ยงสูงจะมีอะไรบ้าง
1. เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ที่แน่ๆ คลอดก่อนกำหนด ค่ะ ส่วนใหญ่เลย พอคลอดก่อนกำหนด ลูกก็จะตัวเล็ก ต้องได้รับการดูแลที่ใกล้ชิด แล้วก็ ปากมดลูกก็จะสั้น ปากมดลูกหลวมง่าย ทำให้น้องอาจคลอดออกมาก่อนโดยที่เรายังไม่มีความพร้อม
ดังนั้น ควรจะฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลที่หมอมีความเชี่ยวชาญเรื่องครรภ์แฝด ก็คือ หมอ MFM (Maternal Fetal Medicine) เพื่อคอยตรวจว่าปากมดลูกคุณสั้นไหม ต้องใช้ยา ใช้ห่วงพยุงหรือไม่ และวางแผนเรื่องเวลา (timing) คลอดที่เหมาะสมให้
2. เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์แฝดจะมีโอกาสเรื่อง ครรภ์เป็นพิษได้สูง ซึ่งครรภ์เป็นพิษก็คือ ความดันสูงระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงที่คุณแม่จะมี เส้นเลือดในสมองแตก รกเสื่อมง่าย ลูกโตช้าในครรภ์ และตอนคลอดอาจจะต้องคลอดเร็วกว่าปกติ เพราะไม่สามารถประคองไปจนถึง 8-9 เดือนได้ เนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อคุณแม่ เหตุผลนี้เอง ที่คุณแม่ควร ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลที่มีคุณหมอ MFM ดูแลอย่างใกล้ชิด
3. เสี่ยงตกเลือดหลังคลอด
อีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญคือ ตกเลือด เนื่องจาก มดลูกครรภ์แฝดยืดเยอะ กล้ามเนื้อยืดเยอะๆ การหดตัวกลับไม่ดี ดังนั้นต้องคลอดในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ทั้ง คุณหมอ MFM ที่ทำคลอด คุณหมอเด็ก ที่คอยดูแลเด็กตัวเล็กๆ และ เครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อม ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ควรมี เลือดสำรอง, คลังเลือด และทีมเจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก
โดย
รศ.พญ. สมศรี พิทักษ์กิจรณกร
สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
แก้ไขล่าสุด: 02 กรกฎาคม 2568