bih.button.backtotop.text

ขยันเดินลดเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง

งานวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ค้นพบหลักฐานยืนยันว่าการรับประทานแอปเปิ้ลวันละผลช่วยให้สุขภาพดีได้จริง ๆ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดในสหราชอาณาจักรค้นพบว่าการรับประทานแอปเปิ้ลหนึ่งผลเป็นประจำทุกวันมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการรับประทานยากลุ่ม Statin ที่ช่วยป้องกันการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ อังกฤษ (British Medical Journal)

ยากลุ่ม Statin โดยทั่วไปจะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูงและ/หรือมีประวัติโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองซึ่งงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยากลุ่มดังกล่าวก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่ามีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคร้ายแรงอื่น ๆ เกี่ยวกับ หลอดเลือด ไม่ว่าจะมีโรคประจำตัวหรือไม่ก็ตาม

ผลลัพธ์ของการรับประทานแอปเปิ้ลวันละหนึ่งลูกซึ่งให้ผลเช่นเดียวกับการรับประทานยากลุ่ม Statin นี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและวิถีชีวิตแม้เพียงเล็กน้อยก็เป็นประโยชน์มากพอต่อสุขภาพจนสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงลงได้หลายโรค
 

ยีนเครียดเพิ่มความเสี่ยง หัวใจวายและเสียชีวิต



อัตราความเสี่ยงและเสียชีวิตด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยโรคหัวใจที่มียีนไวต่อความเครียด เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่มียีนดังกล่าวความแตกต่างนี้ถูกค้นพบโดยการศึกษาวิจัยทางการแพทย์โดยนักวิทยาศาสตร์จาก Duke University Medical Center ในสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยดังกล่าวซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในวารสารออนไลน์ PLosOneช่วยอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยบางรายจึง มีแนวโน้มที่จะประสบกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่รุนแรงถึงชีวิต ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าขณะเกิดความเครียดนั้น ผู้ที่มียีน 5HTR2C จะมีระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มียีนดังกล่าว

ฮอร์โมนคอร์ติซอลผลิตขึ้นจากต่อมหมวกไตทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์และทาง ร่ายกายในสภาวะตึงเครียด ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง อาทิ ทำให้ระดับนำตาลในเลือดสูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะการเจริญพันธุ์บกพร่อง ปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร และรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 

ขยันเดินช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง



เพียงไม่กี่ก้าว คุณก็ลดความเสี่ยงจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองลงได้การศึกษาชิ้นใหม่ในผู้มีภาวะก่อนเบาหวานพบประโยชน์มหาศาลจากการขยันเดินซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี จากการศึกษาในผู้ใหญ่จำนวนกว่า 9,000 คนใน 40 ประเทศ โดยทั้งหมดเป็นผู้มีภาวะก่อนเบาหวานและมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจอื่น ๆ ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet เมื่อไม่นานมานี้

อาสาสมัครทั้งหมดเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 12 เดือนโดยทุกคนต้องออกกำลังกาย ลดนำหนัก ปรับเปลี่ยนอาหารเพื่อลดปริมาณการบริโภคไขมัน นักวิจัยทำการบันทึกจำนวนก้าวที่อาสาสาสมัครเดินในแต่ละวันในช่วงเริ่มโครงการและอีกครั้งหลังโครงการผ่านไป 12 เดือน

การศึกษาพบว่าความเสี่ยงโรคหัวใจของอาสาสมัครแปรผันไปตามจำนวนก้าวที่เดินตั้งแรกเริ่มโครงการและตามจำนวนการเดินที่เปลี่ยนแปลงในช่วง 12 เดือน การเดินที่เพิ่มขึ้น 2,000 ก้าวในแต่ละวันตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ถึงร้อยละ 10 และในแต่ละครั้งที่เดินเพิ่มขึ้น 2,000 ก้าวต่อวันในระยะ 12 เดือนของการร่วมโครงการ ช่วยลดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 8

นับว่าการเดินมีประโยชน์อย่างชัดเจน ไม่ว่าอาสาสมัครจะมีนำหนักตัวเท่าไรหรือมีกิจกรรมทางร่างกายมากน้อยเพียงใดในช่วงเริ่มต้นโครงการ
 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs