bih.button.backtotop.text

โรคตับกับอาหารเสริม

สำหรับครั้งนี้ นักวิจัยได้นำเซลล์ของมนุษย์ไปไว้ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในระดับของการดื่มสังสรรค์ทั่วไป โดยเซลล์ได้ถูกดัดแปลงให้เผาผลาญแอลกอฮอล์จนกลายเป็น acetaldehyde

สำหรับครั้งนี้ นักวิจัยได้นำเซลล์ของมนุษย์ไปไว้ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในระดับของการดื่มสังสรรค์ทั่วไป โดยเซลล์ได้ถูกดัดแปลงให้เผาผลาญแอลกอฮอล์จนกลายเป็น acetaldehyde โดยเอนไซม์ที่พบในตับและเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งสารดังกล่าวนี้เองที่ทำให้ DNA เด็กอ้วนเสี่ยงเป็นมะเร็งตับเมื่อโต

ผลการวิจัยจากประเทศเดนมาร์กซึ่งเป็นการติดตามผู้ใหญ่จำนวนมากกว่า 320,000 คนได้ข้อสรุปว่า การปล่อยให้เด็ก ๆ มีน้ำหนักเกินนั้น เท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งตับให้กับพวกเขาเมื่อเติบโตขึ้น

งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าทุกหนึ่งจุดที่ดัชนีมวลกายเพิ่มขึ้น ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งของเซลล์ตับซึ่งเป็นมะเร็งตับที่พบได้มาก ก็จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12

เป็นที่ทราบกันดีว่าภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงของปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่างรวมถึงกลุ่มอาการเมตาบอลิก เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่สอง และภาวะไขมันพอกตับ งานวิจัยดังกล่าวจึงเน้นย้ำว่า ผู้ใหญ่ควรปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเสียแต่เนิ่น ๆ โดยการออกกำลังกายเป็นประจำและรับประทานให้ได้สารอาหารครบถ้วน


โรคตับกับอาหารเสริม


                ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยให้คุณดูดีอาจมีอันตรายที่คาดไม่ถึง เพราะจากผลการศึกษาเบื้องต้นพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหรือลดน้ำหนักอาจส่งผลร้ายต่อตับได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรระวังเป็นพิเศษ

                จากการศึกษาฐานข้อมูลผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาซึ่งมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนว่าป่วยด้วยโรคตับหลังจากรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ นักวิจัยได้ให้ผู้ป่วยเหล่านี้ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติการรับประทานและเข้ารับการตรวจสุขภาพตับในรูปแบบต่าง ๆ

                ผลการวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดกับความผิดปกติของตับ โดยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดที่ส่งผลร้ายต่อตับมากที่สุดคือชนิดที่ใช้เพื่อการเพาะกาย เนื่องจากพบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคมีอาการป่วยเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคตับทั่วไปซึ่งรวมถึงดีซ่านและบางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

                นักวิจัยยังพบอีกว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยในการลดน้ำหนักเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้บริโภคร้อยละ 40 มีอาการผิดปกติของตับ และมีถึงร้อยละสิบที่ต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนตับ

                การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะยังมีผลิตภัณฑ์เหล่านี้อีกจำนวนมากที่ไม่ผ่านการควบคุมคุณภาพ
 
 

แอลกอฮอล์อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

 
               ผลการศึกษาครั้งล่าสุดซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Alcoholism: Clinical & Experimental Research ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์กับความเสียหายที่เกิดกับ DNA ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมของผู้หญิง มะเร็งตับ และมะเร็งของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร


                ทั้งนี้ ได้เคยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแล้วในช่วงทศวรรษที่ 1980 โดยได้ข้อสรุปว่าแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเอทานอลนั้นมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม ลำไส้ และตับ แต่ไม่ได้ชี้ชัดว่าแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งถูกทำลาย เกิดความผิดปกติในเซลล์และนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในที่สุด
 
 
                โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายคนเราสามารถเปลี่ยน acetaldehyde ให้เป็น acetate ซึ่งเป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่แทบไม่เป็นอันตรายได้อย่างรวดเร็ว แต่จากการศึกษาพบว่าชาวเอเชียตะวันออกถึงร้อยละ 30 โดยประมาณ มีลักษณะพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ผลก็คือคนกลุ่มนี้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารจากการดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น ๆ
 
               การศึกษาครั้งนี้อาจนำไปสู่งานวิจัยใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เราเข้าใจระบบการเผาผลาญแอลกอฮอล์ของร่างกายได้มากขึ้น แต่ในระหว่างนี้ การดื่มแต่พอประมาณดูจะเป็นวิธีการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด

 
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

Related Health Blogs